มาเรียม อับดุล อาซิซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเรียม อับดุล อาซิซ

มาเรียม ใน พ.ศ. 2565
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
สัญชาติบรูไน
อาชีพอดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน[1]
คู่สมรสสุลต่านฮัสซานัล บลกียะฮ์ (พ.ศ. 2525–2546)
บุตรเจ้าชายอับดุล อาซิม
เจ้าหญิงอาเซมะฮ์
เจ้าหญิงฟัดซิลละฮ์
เจ้าชายอับดุล มาตีน

มาเรียม อับดุล อาซิซ (มลายู: Mariam Abdul Aziz) หรือพระอิสริยยศเดิมว่า พระมเหสีเป็งงีรัน อิสตรี ฮัจญะห์ มาเรียม[2] (มลายู: Pengiran Isteri Hajah Mariam) อดีตพนักงานต้อนรับสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ และอดีตพระมเหสีในสุลต่านฮัสซานัล บลกียะฮ์ หลังจากการหย่าทำให้เธอต้องถูกถอดจากอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด

ประวัติ[แก้]

เธอเป็นชาวบรูไนที่มีเชื้อสายบรูไนครึ่งหนึ่ง มีเชื้อสายญี่ปุ่น และอังกฤษอย่างละหนึ่งในสี่จากทางบิดา[3][4] (บางแห่งว่ามิใช่อังกฤษหากแต่เป็นสกอต)[5] มีชื่อแรกเกิดว่า มาเรียม เบลล์ (Mariam Bell)[3][4] บิดาชื่อฮัจญีอาวัง อับดุล อาซิซ (Haji Awang Abdul Aziz) หรือ เจมส์ เบลล์ (James Bell) ส่วนมารดาชื่อเจ้าหญิงราชีดา (Pengiran Rashida) ภรรยาคนที่สอง

ก่อนการอภิเษกสมรสเธอเคยทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมาก่อน จนได้พบกับองค์สุลต่าน ซึ่งได้ตกหลุมรักเธอเนื่องจากหลงใหลในรูปลักษณ์อันแปลกใหม่ของเธอ[3] เธอและสุลต่านได้อภิเษกสมรสกันในช่วงปี พ.ศ. 2525 ทั้งสองมีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าชายอับดุล อาซิม (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563)
  2. เจ้าหญิงอาเซมะฮ์ (ประสูติ 26 กันยายน พ.ศ. 2527)
  3. เจ้าหญิงฟัดซิลละฮ์ (ประสูติ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2528)
  4. เจ้าชายอับดุล มาตีน (ประสูติ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2534)

แต่ในปี พ.ศ. 2546 สุลต่านได้หย่ากับเธอ[5] ทั้งยังถอดพระอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออกทั้งหมด[1][4] หลังจากการหย่าแม้เธอจะมีทรัพย์สินติดตัวอยู่จำนวนมาก แต่เธอกลับไร้ความสุข และเธอพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตอิสระอีกครั้ง จัสติส อันเดอร์ฮิลล์ ผู้พิพากษาคนก่อนได้กล่าวถึงนางว่า "ภาพที่ปรากฏออกมา...จากผู้หญิงคนหนึ่งที่ใจกว้างและวางใจ กลับถูกแทนที่ด้วยความเหงา และกระหายมิตรภาพ"[1]

ปัจจุบันเธอใช้ชีวิตอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[1] มีบุตรบุญธรรมชื่อ อาฟีฟะฮ์ อับดุลละฮ์[6][7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Sultan of Brunei's ex-wife and the £2m con" (ภาษาอังกฤษ). The Telegraph. 24 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าแด่พระมเหสีแห่งบรูไนดารุสซาลาม พระมเหสีเป็งงีรัน อิสตรี ฮัจญะห์ มาเรียม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (13ข): 1. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "The world's largest divorce settlement" (ภาษาอังกฤษ). Scotsman. 4 กุมภาพันธ์ 2003. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 "LESSON TO MALAYSIAN WOMEN #1 : LEARN FROM AZRINAZ MAZHAR HAKIM" (ภาษาอังกฤษ). 16 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.
  5. 5.0 5.1 "Sultan of Brunei has divorced his third wife - but remains married to the first" (ภาษาอังกฤษ). Dailymail. 16 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.
  6. "อดีตพระชายาสุลต่านบรูไนถูกบอดีการ์ดฉกเครื่องเพชรกว่า 580 ล้าน". ผู้จัดการออนไลน์. 7 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "Bodyguard of Sultan of Brunei's ex-wife liable for £12m diamond fake" (ภาษาอังกฤษ). The Telegraph. 6 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)