พระพุทธไสยาสน์ (วัดป่าโมก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธไสยาสน์
ชื่อเต็มพระพุทธไสยาสน์
ประเภทศิลปะอยุธยา
สถานที่ประดิษฐานพระวิหาร วัดป่าโมกวรวิหาร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดป่าโมกวรวิหาร ซึ่งมีชื่อเดิมว่าวัดตลาด อยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง วัดป่าโมกวรวิหารเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง

ประวัติ[แก้]

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีความเก่าแก่คู่กันมากับวัด มีขนาดใหญ่โตและงดงามมาก สร้างก่อนรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาประชุมพลก่อนจะเสด็จไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาทรงสักการะพระพุทธไสยาสน์ก่อน เมื่อ พ.ศ. 2135

เดิมองค์พระพุทธไสยาสน์และพระวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน 4 เส้น 4 วา เนื่องจาก ที่ตั้งนั้นเป็นคุ้งน้ำ น้ำจึงเซาะตลิ่งพังลงไปจนใกล้ถึงองค์พระ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระราชสงครามเป็นนายกองดำเนินการชะลอพระพุทธไสยาสน์ ให้ลึกเข้ามาจากฝั่ง 4 เส้น 4 วา แล้วสร้าง พระวิหารสำหรับพระพุทธไสยาสน์ เรื่องราวการชะลอพระพุทธไสยาสน์นี้มีปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ติดไว้ที่ฝา ผนังพระอุโบสถของวัดป่าโมก มีใจความดังนี้

เมื่อ พ.ศ. 2271 สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จพระราชดำเนินมายืนบกชะลอพระพุทธไสยาสน์ ณ อำเภอป่าโมก ให้พ้นอันตรายจากน้ำเซาะตลิ่งพัง โดยชะลอให้ห่างฝั่งแม่น้ำ 4 เส้น 4 วา แล้วให้สร้างพระวิหาร สำหรับองค์พระพุทธไสยาสน์ที่วัดตลาด เนื่องจากพระวิหารเดิมฝาผนังและหลังคาชำรุดทรุดโทรม

นอกจากนั้นยังมีโคลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เรื่อง การชะลอพระพุทธไสยาสน์ เมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวร ฯ นิพนธ์ ถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นจำนวนโคลง 128 บท มีสำนวนตามบทที่ 2 ดังนี้

ตะวันลงตรงทิศทุกัง.....แทงสาย
เซราะฝั่งพงรหุรหาย...............รอดน้ำ
ขุดเขื่อนเลื่อนทลมทลาย.........ริมราก
ผนังแยกแตกแตนซ้ำ.............รูปร้าวปฏิมา

ในโคลงดังกล่าวยังได้บรรยายว่า พระราชสงครามเป็นผู้ที่มีความสามารถ เคยทำงานสำคัญมาหลายครั้ง การชะลอครั้งนี้ได้จัดการขุดดิน ทำร่อง ทำราง ด้วยความยากลำบากจนเป็นผลสำเร็จ

การบูรณะ[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2271 พระเจ้าท้ายสระ เสด็จพระราชดำเนินมายืนบกชะลอพระพุทธไสยาสน์ ณ อำเภอป่าโมก ให้พ้นอันตรายจากน้ำเซาะตลิ่งพัง โดยชะลอให้ห่างฝั่งแม่น้ำ 4 เส้น 4 วา แล้วให้สร้างพระวิหาร สำหรับองค์พระพุทธไสยาสน์ที่วัดตลาด เนื่องจากพระวิหารเดิมฝาผนังและหลังคาชำรุดทรุดโทรม และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ และในปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์นี้ทรุดโทรมแล้ว กรมศิลปากรจึงได้บูรณปฏิสังขรณ์แบบเดิม

อ้างอิง[แก้]