พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมวชิรญาณ​

(โรเบิร์ต สุเมโธ)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ชื่ออื่นอาจารย์สุเมโธ
ส่วนบุคคล
เกิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 (89 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.โท​, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร 
บรรพชาพ.ศ.2509
อุปสมบทพ.ศ. 2510
พรรษา56
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดอมราวดี

พระพรหมวชิรญาณ นามเดิม โรเบิร์ต คาร์ แจ็คแมน สุเมโธ หรือ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นพระราชาคณะ​เจ้าคณะ​รอง​ชั้น​หิรัญ​บัฎฝ่ายวิปัสสนา​ธุระ​ เป็นพระเถระสายพระป่าในประเทศไทย ศิษย์ชาวตะวันตกรูปแรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ใน ประเทศไทย วัดอมราวดี ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ตราบจนเกษียณตนเองจากตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นผู้นำรูปสำคัญในการเผยแพร่คำสอนเรื่องอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนามาสู่สังคมชาวตะวันตก

ประวัติ[แก้]

พระพรหมวชิรญาณ เป็นชาวอเมริกัน มีนามเดิมว่า โรเบิร์ต คาร์ แจ็คแมน (Robert Karr Jackman) เกิดที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ท่านออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เพื่อมาบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดหนองคาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มีโอกาสไปอยู่กับพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในการสอนกรรมฐาน ณ วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อชาในวัดหนองป่าพงนี้เป็นที่รู้กันว่าเข้มงวดและเคร่งครัด โดยเน้นที่ความเรียบง่ายและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย พระอาจารย์สุเมโธได้ฝึกปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อชาเป็นเวลาถึง 10 ปี จึงได้รับเชิญจากมูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษ (The English Sangha Trust) ให้เดินทางไปอยู่ที่ลอนดอน ร่วมกับคณะศิษย์ของหลวงพ่อชา อีก 3 รูป

มูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษมีจุดมุ่งหมายจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฝึกพระภิกษุในประเทศตะวันตก โดยมีสำนักสงฆ์บ้านแฮมสเตด (The Hampstead Buddhist Vihara) ณ เมืองลอนดอนเป็นจุดเริ่มต้น สำนักสงฆ์แห่งนี้มีความเหมาะสมพอสมควร แต่คณะสงฆ์ก็เห็นข้อดีของการมีสิ่งแวดล้อมที่สงบกว่า เช่น บรรยากาศในชนบท จึงพยายามตั้งวัดป่าขึ้นในประเทศอังกฤษ และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) โดยดัดแปลงบ้านที่ทรุดโทรมหลังหนึ่งในเวสต์ซัสเซกซ์ (West Sussex) ในเวลาต่อมาสถานที่นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า Chithurst Buddhist Monastery หรือวัดป่าจิตตวิเวก (Cittaviveka) นั่นเอง

เมื่อมีวัดที่เหมาะสมขึ้นแล้ว คณะสงฆ์จึงเริ่มเติบโต มีจำนวนพระภิกษุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเริ่มมีการฝึกสีลธรา (Siladhara) มีทั้งผู้ที่ต้องการจะมาฝึกมาปฏิบัติในวัด และผู้ที่ต้องการจะถวายปัจจัยสนับสนุนวัด ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ต้องก่อตั้งวัดสาขาเพิ่มอีกหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งศูนย์กลางการสอน ปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ขึ้น ณ วัดอมราวดี (Amaravati Buddhist Monastery) ในปี ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2527) วัดแห่งนี้ต่อมาเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์สุเมโธพำนักอยู่เป็นส่วนใหญ่

สมณศักดิ์[แก้]

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระสุเมธาจารย์[1]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชสุเมธาจารย์ พิศาลภาวนากิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพญาณวิเทศ วิเศษโพธิธรรมคุณ วิบูลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [3]
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ฝ่ายวิปัสสนา​ธุระ​ ที่ พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ วิจิตรธรรมปฏิภาณ วิปัสสนาญาณวงศวิสิฐ ราชมานิตวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]