สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์

(สงัด ปญฺญาวุโธ)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 (95 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 7 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวงจังหวัดตรัง
อุปสมบทพ.ศ. 2491
พรรษา75
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้,ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวง) จังหวัดตรัง

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ทักษิณมหาคณิศวราธิบดี ฝ่ายมหานิกาย นับเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พำนักจำพรรษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ สมเด็จพระราชาคณะภูธร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้, ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวง) จังหวัดตรัง

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ และเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีนามเดิมว่า "สงัด ลิ่มไทย" เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่บ้านหนองไทร ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยโยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเปลี่ยน และนางทองอ่อน นามสกุลลิ่มไทย ในปี พ.ศ. 2491 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุพัทธสีมาวัดจอมไตร อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีพระครูสังวรโกวิท เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูพิบูลธรรมสาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระผุด มหาวีโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า "ปญฺญาวุโธ" ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ในปี พ.ศ. 2504 ท่านถือเป็นพระเถระอีกรูปหนึ่ง ที่สร้างคุณูปการต่อวงการสงฆ์แห่งแดนใต้และประเทศไทยอย่างเอนกอนันต์ เป็นที่โจษจันเลื่องลือไปไกล ทุ่มแรงกายแรงใจให้งานแบบถวายชีวิต ตั้งอยู่ในศีล ดำรงตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของประเทศไทย

รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)ป.ธ.7

สมณศักดิ์[แก้]

การดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้[แก้]

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ท่านได้รับสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่พระพรหมจริยาจารย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าคณะใหญ่รูปแรกที่พำนักอยู่ในภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจากมหาเถรสมาคมมองเห็นว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ของคณะสงฆ์นั้น หากให้พระสงฆ์ในพื้นที่ทำหน้าที่ดูแลกันเอง ย่อมจะมีผลดีต่อพระสงฆ์ในพื้นที่ดังกล่าวได้มากกว่า เนื่องจากมีความคล่องตัว รวมไปถึงมีสายงานการบังคับบัญชาที่มีความกระชับรวดเร็วกว่าที่จะให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาดูแล ดังนั้นจึงมีมติเสนอเลื่อนสมณศักดิ์ พระธรรมรัตนากร (สงัด ปญฺญาวุโธ) เจ้าคณะภาค 18 เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดกะพังสุรินทร์ ขึ้นเป็นพระพรหมจริยาจารย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ เพื่อดูแลคณะสงฆ์ในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด

โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้อัญเชิญพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ เพื่อนำมาสมโภชหิรัญบัฏแก่พระพรหมจริยาจารย์ โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้แทนประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางมาเป็นประธาน โดยมีเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และพระสังฆาธิการในเขตปกครองหนใต้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในโอกาสนี้ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ได้กล่าวถึงหลักการปกครองคณะสงฆ์ว่า เราควรยกย่องผู้ที่สมควรยกย่อง และตักเตือนผู้ที่สมควรตักเตือน ดังนั้นหากพระสังฆาธิการรูปใดที่ประพฤติดีต้องยกย่อง และต้องให้ได้รับเกียรติมีสมณศักดิ์ พร้อมกันนั้นท่านยังได้อบรมพระในปกครองอยู่เสมอว่า ในการทำงานจะต้องไม่กลัวผิดพลาด แต่จะต้องตั้งใจทำงานนั้นให้ดีที่สุด และจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อเกิดการผิดพลาด โดยพร้อมที่จะแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ในส่วนของการได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระพรหมจริยาจารย์ กล่าวว่า “ไม่รู้สึกดีใจ แต่รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเพศบรรพชิต ไม่เคยไขว่คว้ายศ ตำแหน่ง และสมณศักดิ์ ถึงแม้จะอยู่ระดับไหนก็ตาม ก็ตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนามาโดยตลอด โดยเฉพาะงานด้านการศึกษาและการเผยแผ่ ซึ่งถือเป็นเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา เพราะการที่จะมีพระภิกษุ สามเณรที่ดี ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นพื้นฐาน และที่สำคัญรู้สึกภาคภูมิใจแทนคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในภาคใต้ ที่ได้รับความไว้วางใจจากพระผู้ใหญ่ที่ให้ตนมารับหน้าที่สำคัญนี้ ” กว่า 60 พรรษาแห่งการอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ตนและต่อชาวโลก ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม พระพรหมจริยาจารย์ นับเป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ที่สร้างคุณูปการต่อวงการสงฆ์แห่งแดนใต้อย่างอเนกอนันต์ เป็นที่โจษขานเลื่องลือไปไกล ทุ่มแรงกายแรงใจให้งานแบบถวายชีวิต ตั้งอยู่ในศีล ดำรงตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เปรียบประดุจสะพานบุญ เชื่อมต่อศรัทธาแห่งชาวบ้านในชุมชนกับวัด มิให้ห่างเหินไปไกลกัน

เกียรติคุณ[แก้]

เขตการปกครองคณะสงฆ์[แก้]

การปกครองคณะสงฆ์มหานิกายหนใต้รวม 3 ภาค 14 จังหวัด ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอนที่ 151 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2514, หน้า 6
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 102, ตอนที่ 17 ง ฉบับพิเศษ, 8 กุมภาพันธ์ 2528, หน้า 2
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 202 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2536, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 125, ตอนที่ 5 ข, 11 มีนาคม 2551, หน้า 1-3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 139, ตอนที่ 48 ข, 15 พฤศจิกายน 2565, หน้า 1
ก่อนหน้า สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) ถัดไป
พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)
เจ้าคณะใหญ่หนใต้
'ยังอยู่ในตำแหน่ง'
- เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์
'ยังอยู่ในตำแหน่ง'