วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระประโทณเจดีย์)
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
ที่ตั้งตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระศรีธีรวงศ์ (สมัย สจฺจวโร)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2527 ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไปตามถนนเพชรเกษมทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จุดเด่นของวัดคือ พระประโทณเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดี มีรูปแบบเดิมเป็นทรงโอคว่ำ มีการขุดพบวัตถุโบราณจำนวนมากที่วัดแห่งนี้ เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น พระดินเผา รวมทั้งโลหะสำริดรูปพญาครุฑเหยียบนาค ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นเครื่องหมายราชการของพระองค์ นับเป็นอีกหนึ่ง[1]

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสันนิษฐานว่าสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ. 2324 วัดตั้งอยู่เหนือองค์พระประโทณเจดีย์ประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่เดิมเมื่อ 200 ปีเศษ เนื่องจากพบจารึกตัวหนังสือและตัวเลขด้วยปูนบอกว่าซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2456 บริเวณกุฏิ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2327[2] จากตำนานพญากง พญาพาน พญาพานสร้างพระประโทนเจดีย์เพื่อไถ่บาปที่ได้ฆ่ายายหอมผู้เลี้ยงดูมา ทั้งพระปฐมเจดีย์และพระประโทนถูกทอดทิ้งไว้ในป่าหลายร้อยปี จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ได้ธุดงค์ไปพบเข้า จึงกราบทูลรัชกาลที่ 3 แต่พระองค์ไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์อะไรหากจะปฏิสังขรณ์ขึ้นมา จนพระองค์ครองราชย์จึงได้บูรณะ[3]

ปัจจุบันมีสถานที่ราชการตั้งอยู่ในพื้นที่วัด คือ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 (เดิมคือสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม) โรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ และสำนักงานตำบลเทศบาลธรรมศาลา

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระประโทณเจดีย์". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  2. "วัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม". กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
  3. โรม บุนนาค (15 ธันวาคม 2560). "เรื่องที่ยังไม่มีใครรู้ ใครสร้างพระปฐมเจดีย์! กับตำนาน พญากง พญาพาน ยายหอม ยายพรม!!". ผู้จัดการออนไลน์.