พระนางอินฮย็อน
สมเด็จพระราชินีอินฮย็อน | |
---|---|
[[1]] | |
พระอิสริยยศ | พระราชินี (1681-1688,1694-1701) |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์โชซอน |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1667 เมืองยอจู จังหวัดคยองกี อาณาจักรโชซอน |
สวรรคต | 16 กันยายน ค.ศ. 1701 (34 ปี) พระราชวังชังด็อก ฮันยาง อาณาจักรโชซอน |
พระราชบิดา | มิน ยู จอง |
พระราชมารดา | ท่านผู้หญิงซอง |
พระราชสวามี | พระเจ้าซุกจง (ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720) |
สมเด็จพระราชินีอินฮย็อน (Hangul: 인현왕후, Hanja: 仁顯王后) (1667–1701) เป็นพระภรรยาเจ้าในตำแหน่งพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าซุกจงแห่งโชซอนและเป็นหนึ่งในราชินีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของราชวงศ์โชซอน ชีวิตของเธอได้รับการแสดงในละครประวัติศาสตร์เกาหลีหลายเรื่องราว
ประวัติ[แก้]
พระนางเสด็จพระราชสมภพในสกุลมินแห่งยอฮึงซึ่งเป็นสกุลอันสูงศักดิ์ โดยเป็นธิดาคนรองของ มินยูจุง (Hangul: 민유중, Hanja: 閔維重)กับภรรยาคนที่ 2 ซึ่งเป็นสตรีจากสกุลซ็องแห่งอึนจิน
ในปีค.ศ. 1681 พระนางทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระเจ้าซุกจง โดยเป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ของพระองค์ ขณะที่พระนางมีพระชนมายุเพียง 14 ปี ต่อมาในปีค.ศ. 1688 เมื่อพระสนมโซอึย สกุลชังมีพระประสูติกาลพระราชโอรสทำให้เกิดความวุ่นวายภายในพระราชสำนักจนนำไปสู่เหตุการณ์ การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคีซา (기사환국, 己巳換局) ในช่วงเวลานั้นพระเจ้าซุกจงต้องการให้พระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนมโซอึย สกุลชังได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาท (วังเซจา 王世子) พระองค์จึงโปรดเลื่อนขั้นพระสนมโซอึย สกุลชัง ขึ้นเป็นพระสนมเอก พระราชทานราชทินนามว่า พระสนมเอกฮีบิน การแต่งตั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายใต้ซึ่งสนับสนุนสนมพระสนมเอกฮีบิน แต่ถูกคัดค้านจากฝ่ายตะวันตกซึ่งสนับสนุนพระมเหสี สกุลมินซึ่งนำโดยซงชียอล การคัดค้านทำให้พระเจ้าซุกจงโกรธเป็นอย่างมาก ฝ่ายใต้จึงยุยงให้พระเจ้าซุกจงทรงประหารชีวิตซงชียอล เนรเทศขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปจากราชสำนัก รวมทั้งปลดพระมเหสี สกุลมิน และแต่งตั้งพระสนมเอกฮีบินขึ้นเป็นพระมเหสี (วังบี 王妃) แทน
ต่อมาในปีค.ศ. 1694 พระเจ้าซุกจงเกิดความรู้สึกสำนึกผิดกับการกระทำเจ้าอารมณ์ของพระองค์ จึงมีพระราชโองการคืนพระอิสริยยศพระมเหสีให้อดีตพระมเหสี สกุลมิน และเชิญเสด็จกลับมาประทับอยู่ในพระราชวังตามพระอิสริยยศอันสูงศักดิ์ดังเดิม
รวมทั้งโปรดให้ลดพระอิสริยยศพระมเหสี สกุลชัง กลับไปเป็นพระสนมเอกฮีบินดังเดิม เรียกว่า(갑술환국, 甲戌換局) จนกระทั่งในปีค.ศ. 1701 พระมเหสี สกุลมิน ทรงพระประชวรเสด็จสวรรคตอย่างน่าเคลือบแคลงสงสัย ณ พระตำหนักกย็องชอนจอน (景春殿) ในพระราชวังชางกย็องกุง(昌慶宮) กรุงฮันยาง สิริพระชนมพรรษา 35 พรรษา (บางแหล่งบอกว่าพระนางถูกวางยาพิษ)พระเจ้าซุกจงในขณะที่ไว้ทุกข์ให้กับพระมเหสี ทรงพระสุบินทอดพระเนตรเห็นพระนางในชุดโซบกเปียกโชกไปด้วยเลือด พระเจ้าซุกจงทรงถามพระมเหสีถึงสาเหตุที่พระนางสวรรคต แต่พระนางไม่ได้ตรัสอะไร แต่ทรงชี้ไปทางตำหนักพระสนมเอกฮีบิน พระเจ้าซุกจงตื่นพระบรรทมขึ้นมาแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปที่ตำหนักของพระสนมเอกฮีบิน ในขณะที่ทรงพระดำเนินเข้ามาใกล้ตำหนักพระสนมเอกนั้น พระองค์ก็ได้สดับเสียงดนตรี เสียงสวดมนต์และเสียงหัวเราะ ทรงแอบทอดพระเนตรดูจึงได้ทอดพระเนตรเห็นพระสนมเอกฮีบินกับหญิงคนทรง กำลังทำพิธีสวดสาปแช่งให้พระมเหสี สกุลมินสวรรคต อีกทั้งใช้ลูกศรกระหน่ำแทงไปที่หุ่นที่ใช้เป็นตัวแทนพระองค์พระมเหสี พระเจ้าซุกจงจึงทรงมีพระราชโองการให้ปลดพระสนมเอกฮีบินลงเป็นสามัญชน พร้อมกับพระราชทานยาพิษ เรื่องราวของพระมเหสี สกุลมินนั้นได้รับการบันทึกโดยนางพระกำนัลของพระนางเองในบันทึกที่ชื่อว่า อินฮย็อน วังฮู จอน (Hangul: 인현왕후전, Hanja: 仁顯王后傳, Queen Inhyeon's Story) พระบรมศพของพระมเหสี สกุลมิน ได้รับการบรรจุฝังที่สุสานหลวงมย็องรึง ภายหลังเมื่อพระเจ้าซุกจงเสด็จสวรรคตในอีกหลายปีต่อมานั้น พระบรมศพของพระองค์ก็ได้รับการบรรจุฝังเคียงข้างพระมเหสี สกุลมิน ณ สุสานหลวงมย็องรึงนี้เอง
พระมเหสี สกุลมินได้รับพระราชทานพระนามอย่างเป็นทางการภายหลังสวรรคตว่า พระมเหสีอินฮย็อน (仁顯王后)
พระนางยังคงได้รับการถวายพระนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามโอกาสสำคัญต่างๆในเวลาต่อมา ในที่สุดเมื่อถึงปีค.ศ. 1890 ในรัชกาลพระเจ้าโกจง พระนามเต็มอย่างเป็นทางการของพระนางก็มีความยาวถึง 14 ตัวอักษรคือ พระมเหสีฮโย-กย็อง ซุกซ็อง จางซุน ว็อนฮวา อึยยอล จ็องมก อินฮย็อน วังฮู (孝敬淑聖莊純元化懿烈貞穆仁顯王后)
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระมเหสีฮโยกย็อง ซุกซอง จางซุน ว็อนฮวา อึยยอล จ็องมก อินฮย็อน วังฮู
- 효경숙성장순원화의열정목인현왕후
- 孝敬淑聖莊純元化懿烈貞穆仁顯王后
ก่อนหน้า | พระนางอินฮย็อน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีอินกย็อง | ![]() |
สมเด็จพระราชินีแห่งโชซอน (ค.ศ. 1681 - 1689) |
![]() |
สมเด็จพระราชินีอ๊กซาน |
สมเด็จพระราชินีอ๊กซาน | ![]() |
สมเด็จพระราชินีแห่งโชซอน (ค.ศ. 1694 - 1701) |
![]() |
สมเด็จพระราชินีอินว็อน |