พระธาดาอำนวยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้าวพรหมมา

พระธาดาอำนวยเดช (พรหม) ผู้สร้างเมืองและเป็นเจ้าเมืองคนแรก ชาวเมืองจตุรพัตรพิมานนิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "ท้าวพรหมมา" เป็นบุตรของพระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ลำดับที่ 12 กับ ญาแม่โซ่นแป้ เกิดเมื่อปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในขณะบิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลแก่พระสกนิกร ส่วนบรรดาเจ้าเมืองได้นามสกุลพระราชทาน พระธาดาอำนวยเดชจึงไดัรับพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณธาดา ซึ่งคำว่า สุวรรรณ ที่แปลว่าทอง ท้าวพรหมเป็นเชื้อสายมาจากสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า ธาดา ได้รับจารึกในใบพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2462 ขณที่มีอายุ 67 ปี พระธาดาอำนวยเดช (พรหม สุวรรณธาดา) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2471 ด้วยโรคชรา ศิริอายุได้ 76 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอ จตุรพักตรพิมาน ซึ่งท่านเป็นผู้สร้าง ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

ประว้ติ[แก้]

พระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีบอกขอตั้งอุปฮาด (สุวอ) เมืองธวัชบุรี น้องพระธำนงไชยธวัช (โพธิราช) เป็นพระธำนงไชยธวัชเมืองธวัชบุรี วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 อุตราสาตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้อุปฮาด (สุวอ) เป็นพระธำนงไชยธวัช เจ้าเมืองธวัชบุรี พระราชทานถาดหมากคนโทเงินสำรับ 1 สัปทนแพรหลินแดง 1 เสื้อเข้มขาบริ้วขอ 1 แพรขาวห่มเพลาะ 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ 1 ผ้าม่วงจีน 1 พระขัติยวงษา (เสือ) เจ้าเมือง ราชวงษ์ (เคือ) ราชบุตร (อุปชิต) เมืองร้อยเอ็ดถึงแก่กรรมในระหว่างปีนี้ ยังคงอยู่แต่อุปฮาด (เภา) รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดต่อไป พระรัตนวงษา (คำสิง) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีบอกขอตั้ง บ้านเมืองหงษ์เป็นเมือง ขอหลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) ผู้ช่วย ผู้บุตรเป็นเจ้าเมือง แลขอพระศรีวรราช (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาด เมืองสุวรรณภูมิ วันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านเมืองหงษ์เป็นเมืองจัตุรภักตร์พิมาน ให้หลวงพรหมพิทักษ์ (พรหม) เป็นพระธาดาอำนวยเดชเจ้าเมือง ขึ้นเมืองสุวรรณภูมิ พระราชทานเครื่องยศตามบันดาศักดิ์ แล้วพระธาดาอำนวยเดชได้อพยพครอบครัวไปตั้ง ที่ว่าการเมืองอยู่ที่บ้านเปลือยหัวช้าง ทางห่างกันกับบ้านเมืองหงษ์ประมาณ 90 เส้น หาได้ไปตั้งที่ว่าการเมืองอยู่บ้านเมืองหงษ์ตามกระแสตราโปรดเกล้า ฯ ไม่

เจ้าเมือง[แก้]


พระยาอำนวยเดช (พรม) เกิดปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2413 ขณะท้าวพรหมมามีอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นท้าวมหาไชย ตำแหน่งราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ เมื่อมีอายุ 22 ปีรับราชการที่เมื่องสุวรรณภูมิ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพรหมพิทักษ์ ต่อมา พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ยกบ้านเมืองหงห์ เป็นเมืองของหลวงพิทักษ์ และขอพระศรีราชา (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาดให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ระยะทาง 50 ก.ม.

วันจันทร์ที่ - ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2425 พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมือง แต่มิได้ตั้งที่ว่าการเมืองตามพระกระแสตราโปรดเกล้าฯ พระธาดาอำนวยเดช (หลวงพรหมพิทักษ์) กับพระศรีราชา (สอน) ได้มาตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่ บ้านเปลือยหัวช้าง ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนามเจ้าเมืองคือ “ท้าวพรหม” ชื่อเมือง “จตุรพักตรพิมาน” ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีสี่หน้า พระธาดาอำนวยเดช เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2443 ต่อมาทางการได้ยุบเมืองให้เป็น อำเภอ ขึ้นตรงกับ เมืองร้อยเอ็ดเพราะระยะทาง เพียง 26 ก.ม

เรียน[แก้]

ถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง

บรรดาศักดิ์[แก้]

  1. ท้าวพรหมมา ตำแหน่ง ราชบุตรในปีพ.ศ. 2413 ขณะนั้นอายุ 18 ปี
  2. ท้าวมหาไชย ตำแหน่ง ราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ
  3. หลวงพรหมพิทักษ์ ตำแหน่ง อัครวงษ์ เมืองเกษตรวิสัย ในปีพ.ศ. 2415 ขณะนั้นอายุ 20 - 22 ปี
  4. พระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมืองจตุรพักตรพิมาน ในปีพ.ศ. 2425 ตรงกับ จัตวาศก จุลศักราช 1244 ขณะนั้นอายุ 30 ปี
  5. ครั้นปีอายุ 60 ปี ในพ.ศ. 2455 เกษ๊ยณอายุราชการ และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น กรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ดมีหน้าที่ให้การปรึกษาข้อราชการงานเมือง

อ้างอิง[แก้]