พระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก))
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) | |
---|---|
ไฟล์:พระธรรมไตรโลกาจารย์.jpg | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2485 (82 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 8 ประโยค ศน.บ. , M.A. , Ph.D. |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร |
พรรษา | 62 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง |
พระพรหมวัชราจารย์ นามเดิม พูนศักดิ์ ฉายา วรภทฺทโก นามสกุล มาเจริญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ประวัติ
[แก้]พระพรหมวัชราจารย์ มีนามเดิมว่า พูนศักดิ์ มาเจริญ ฉายา วรภทฺทโก เกิดที่ตำบลโคกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2509 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 8 ประโยค วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (M.A.)
- พ.ศ. 2519 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Ph.D.)
สมณศักดิ์
[แก้]- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธาธรรมรส[1]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชบัณฑิต ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลสุธี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โปรดให้สถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมวัชราจารย์ นานาศาสนการโกศล วิมลปัญญาโสภิต สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 97, ตอนที่ 60, 16 เมษายน 2523, หน้า 12
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109, ตอนที่ 155, 5 ธันวาคม 2535, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 12
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 15 ข, 6 กรกฎาคม 2549, หน้า 1
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 8 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)
- บรรณานุกรม
- พิชญา สุ่มจินดา. ราชประดิษฐพิพิธทรรศนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, 2555.
- พิชญา สุ่มจินดา. ราชประดิษฐพิพิธบรรณ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, 2555.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์