พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมวโรดม

(บุญมา คุณสมฺปนฺโน)
ส่วนบุคคล
เกิด (77 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.9
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา57
ตำแหน่งอดีตเจ้าคณะภาค 6
อดีตผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าคณะภาค 6 และอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ประวัติ[แก้]

กำเนิด[แก้]

พระธรรมวโรดม มีนามเดิมว่า บุญมา นามสกุล เขียวเพกา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เป็นบุตรคนที่ 2 ในบรรดาบุตรทั้งหมด 6 คนของนายเภากับนางหนู (สกุลเดิม ภู่โคกหวาย) ภูมิลำเนาอยู่บ้านหมู่ 9 ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[1]

อุปสมบท[แก้]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าพูด ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน พระครูไพศาลธรรมวาที วัดหอมเกร็ด ตำบลหอมเกร็ด จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นย้ายไปศึกษากับพระขั้ว เขมธมฺโม ที่วัดนครชื่นชุ่ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 - 2490 จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก[1] จากนั้นย้ายไปอยู่วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 1 พรรษา ถึงปี พ.ศ. 2491 ย้ายไปศึกษาภาษาบาลีที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[2]

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2492 เวลา 14.00 น. ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปุรณาวาส โดยพระครูทิวากรคุณ วัดตลิ่งชัน เป็นพระอุปัชฌาย์[2]

การศึกษาปริยัติธรรม[แก้]

ลำดับสมณศักดิ์[แก้]

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิเวที ศรีปริยัติคุณาลังการวิภูษิต ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิมลโมลี ศรีธรรมปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิมลโมลี ศรีกิตติโสภณ โกศลปาพจนดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรวรนายก ดิลกกิจจานุกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]

ผลงาน[แก้]

งานเผยแผ่
  • พ.ศ. 2498 ได้เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ไทยไปร่วมการทำฉัฏฐสังคายนา ณ ประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2508-2519 เป็นกรรมการพระธรรมจาริก เพื่อพัฒนาชาวเขา
  • พ.ศ. 2534 เป็นผู้แทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ไปตรวจเยี่ยมพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกาทั้ง 50 รัฐ
งานประพันธ์

มรณภาพ[แก้]

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลมิชชั่น เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 เวลา 08.05 น.[8] ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบิตรฯ ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม เบญจาตั้งประดับ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมตอนกลางคืนตลอด 7 คืน และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 17.00 น.

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ตายแล้วไม่ตาย, หน้า 34
  2. 2.0 2.1 ตายแล้วไม่ตาย, หน้า 35
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 75, ตอนที่ 109, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3142
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 82, ตอนที่ 111 ง ฉบับพิเศษ, 23 ธันวาคม 2508, หน้า 3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 94, ตอนที่ 3 ง ฉบับพิเศษ, 6 มกราคม 2520, หน้า 2
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 103, ตอนที่ 20 ง ฉบับพิเศษ, 7 กุมภาพันธ์ 2296, หน้า 1
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอนที่ 19 ก ฉบับพิเศษ, 19 กุมภาพันธ์ 2536, หน้า 4-6
  8. สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม, พระธรรมวโรดม เจ้าคณะภาค ๖ ถึงมรณภาพ[ลิงก์เสีย], มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 4/2550, 9 กุมภาพันธ์ 2550
บรรณานุกรม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. ตายแล้วไม่ตาย: สูจิบัตรในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). นครปฐม : ระฆังทอง, 2550. 216 หน้า.