พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินฺทโชโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี

(ทับ อินฺทโชโต)
ชื่ออื่นหลวงพ่อทับ
ส่วนบุคคล
เกิด6 มิถุนายน พ.ศ. 2389 (65 ปี)
มรณภาพ9 ธันวาคม พ.ศ. 2455
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2408
อุปสมบทพ.ศ. 2411
พรรษา44
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม รูปที่ 9

หลวงพ่อทับ อินฺทโชโต (2390 - 2455) ยอดพระคณาจารย์ผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกและวิชาอักขระสักยันต์ เลขยันต์ เป็นพระธรรมกถึกนามอุโฆษ เชี่ยวชาญการหล่อหลอมโลหะ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ พระปิตตามหาอุตม์เนื้อโลหะของท่านได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งของวงการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สมัยที่ยังเป็นกรมหมื่น) ยังเคยเสด็จมาหาท่าน แม้แต่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ในสมัยที่ยังเป็นพระธรรมโกษาจารย์ ก็มีความสนิทสนมชิดชอบกับหลวงพ่อ ได้แวะเวียนไปมาหาสู่กันเสมอ[1]

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อทับ อินฺทโชโต ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2389 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย[2] ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านคลองชักพระ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) ในปัจจุบัน เป็นบุตรคนโตของนายทิมและนางน้อย ปัทมานนท์

เมื่ออายุได้ 17 ปีบิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของพระปลัดแก้วซึ่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามในช่วงก่อนที่พระศีลสารพิพัฒน์ (ศรี) จะย้ายจากวัดสุทัศเทพวรารามมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เพื่อเป็นศิษย์ร่ำเรียนหนังสือไทย และขอม เมื่อถัดมาปีหนึ่งเมื่อท่านมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณรอยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระปลัดแก้ว แล้วยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์พรหมน้อย และพระครูประสิทธิ์สุตคุณ ที่วัดอัมรินทร์อีกด้วย เมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2411 ณ พัทธสีมาวัดตลิ่งชัน มีพระอธิการม่วง วัดตลิ่งชันเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดแก้ว วัดทอง และพระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่าอินฺทโชโต

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา อยู่ที่วัดทอง หากแต่ได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาพุทธาคม ไสยศาสตร์จากพระอุปัชฌาย์มิได้ขาดจนกระทั่งสำเร็จ[3] หลวงพ่อท่านมีนิสัยส่วนตัวคือชอบใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมออาจารย์รูปใดที่มีชื่อเสียงได้ยินมาถึงตัวท่านไม่ว่าจะไกลลำบาก และท่านมักได้ศึกษาพระปริยัติธรรม อักขระขอม วิปัสสนาธุระมาโดยตลอดและยังออกธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ได้อย่างวิจิตรยิ่ง มักเขียนภาพมหาอุตม์พร้อมกับเลขยันต์โดยไม่ซ้ำแบบ เพื่อเตรียมไว้ปั้นหุ่นสำหรับพระ ที่จะสร้างเป็นองค์ ท่านแตกฉานในวิชาโลหะ แม้แต่กลุ่มช่างหล่อยังมาขอคำปรึกษาจากท่านอยู่เสมอ [4] ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามเมื่อปี พ.ศ. 2450 และเป็นเจ้าอาวาสอยู่ 5 ปี ก็อาพาธ ตอนที่ท่านป่วยอยู่นั้น กรมหลวงชุมพร ลูกศิษย์ของท่าน เสด็จมาเยี่ยมและถวายแพทย์หลวงเพื่อทำการรักษาหลวงพ่อ หลวงพ่อทัพได้มรณภาพในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2455[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพาณิชยกุล
  2. 2.0 2.1 "ลำดับเจ้าอาวาส". พระมหาชอบ จนฺทวํโส. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "หลวงพ่อทัพ อินทโชติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-11.
  4. "พระปิตตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-11.


ก่อนหน้า พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินฺทโชโต) ถัดไป
พระครูวิมลปัญญา (เนียม) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม
(พ.ศ. 2450 - 2455)
พระครูสังวราธิคุณ (เทศ)