พระครูอินทรวุฒิกร (ต่วน อินทฺปญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูอินทรวุฒิกร

(ต่วน อินทฺปญฺโญ)
ชื่ออื่นหลวงพ่อต่วน วัดกล้วย
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2444 (85 ปี ปี)
มรณภาพ1 ตุลาคม พ.ศ. 2529
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดกล้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกล้วย

หลวงพ่อด่วน อินทปัญโญ (พ.ศ. 2444 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529) พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแห่ง พระนครศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาส วัดกล้วย เป็นสุดยอดพระคณาจารย์คนหนึ่ง ที่มีความสามารถในการปลุกเสกวัตถุมงคล และอัฏฐิของท่านนั้นยังเก็บอยู่ที่วัดกล้วย

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อด่วน ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรุงพนมเปญ ท่านได้อยู่จำพรรษา อยู่ 1 พรรษา เมื่อออกรับผ้ากฐินแล้ว จึงเดินทางกับประเทศไทย ในช่วงวัยรุ่น หลวงปู่ต่วน ท่านได้ศึกษาวิชาอาคม และ ศึกษาวิชาคาถา ต่าง ๆ ร่างกายของท่าน มีการสักยันต์ และ อาบน้ำว่านเย็น เต็มไปหมด หลังท่านอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางธุดงค์ ไปปฏิบัติธรรมในประเทศไทย และในระหว่างทาง ก็ได้เดินทางกลับมามีสหายเดินทางหลายรูป แต่ส่วนใหญ่กลับสู่ประเทศเขมรหมดแล้ว คงเหลือแต่พระสหายเพียง 2 พระองค์ ก็คือ หลวงปู่หิน วัดระฆัง ธนบุรี กับ หลวงปู่สร้อย วัดทางหลวง อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ท่านได้มาจำพรรษาวัดหัวโนน หรือวัดหัวใน ตำบลหนองแค อำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี เพื่อเรียนวิปัสนากรรมฐาน กับหลวงปู่ทา เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ทาเป็นพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคมมาก ท่านเป็นพระสหายที่ร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อต่วน ท่านอยู่จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่ทา เพื่อเรียนวิชากับท่าน ที่วัดหัวโนน อยู่เพียง 3 พรรษา หลวงปู่ทา ก็ให้หลวงพ่อต่วน เดินทางมาจำพรรษา เพื่อพัฒนาวัดกล้วยเพื่อพัฒนาที่วัดกล้วยเจริญมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2514 และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปีนั้นด้วย

วัตถุมงคล[แก้]

วัตถุมงคลของท่าน ที่โดงดังไม่เป็นรองใคร ก็คือ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อต่วน รอบเหรียญยกขอบนูนขึ้น ที่ขอบเหรียญด้านซ้ายมีอักษรเขียนว่า "ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า "วัดกล้วย จ.อยุธยา" ขอบล่างเขียนว่า "หลวงพ่อต่วน อินฺทปญฺโญฺ" ด้านหลังเหรียญเรียบไม่ยกขอบมีรูปยันต์ตรงกลาง เขียนอักษรขอมเป็นตัว นะ สาลิกา ต่อด้วยอุนาโลม 9 ชั้น ภายในยันต์ทั้ง 4 ทิศเขียนตัวภาษาขอมว่า "นะ ชา ลิ ติ" รอบยันต์ เป็นอักษรขอม เขียนว่า "นะ จัง งัง ปิ ยัง อะ" ซึ่งล้วนแต่เป็นคาถาเกี่ยวกับความเมตตามหานิยมต่อผู้ที่พบเห็น ใต้ยันต์มีอักษรเขียนว่า พ.ศ. ๒๕๒๕ (เป็นเลขไทย) ที่สนใจสามารถหาเช่าบูชาได้ที่วัดกล้วย ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และยังเข้าไปกราบไหว้รูปหล่อหลวงพ่อต่วนและอัฐิธาตุเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อีก ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

อ้างอิง[แก้]