พระครูอดุลสีลกิตติ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูอดุลสีลกิตติ์
ส่วนบุคคล
เกิด8 กันยายน 2497 (67 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.๑-๒
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดธาตุคำ เชียงใหม่
พรรษา47
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธาตุคำ,เจ้าคณะตำบลหายยา

พระครูอดุลสีลกิตติ์ เป็นพระภิกษุชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดธาตุคำ (บรมพิมานราชสัณฐานสุวัณณกุฎีติปฎกมหาสังฆราชวาส) ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

พระครูอดุลสีลกิตติ์ เกิดวันที่ 4 ฯ 10 ปีมะเมีย วันที่ 8 กันยายน 2497 ณ บ้านสันป่าข่า ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ บรรพชาเมื่อ ปีพุทธศักราช 2509 ณ วัดศรีมงคล ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ท่านพระครูโสภณเจติยามราม เจ้าคณะอำเภอฝางในขณะนั้นเป็น พระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเมื่อ ปีพุทธศักราช 2518 ณ วัดเจดีย์งาม ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระครูโสภณเจติยามรามเป็น พระอุปัชฌาย์ พระครูวุฒิญาณพิศิษฏ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์ พระครูเทพวุฒิธรรม เป็น พระกรรมวาจาจารย์


วิทยฐานะ[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๑๓ นักธรรมชั้นเอก
  • พ.ศ. ๒๕๒๕ ป.ธ. ๑-๒
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ ปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่


งานปกครอง[แก้]

  • พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดธาตุคำอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นเจ้าคณะตำบลหายยา
  • พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นพระอุปัชฌาย์


ผลงานการเขียน[แก้]

พระครูอดุลสีลกิตติ์เป็นพระผู้มีความรู้ความสามารถในด้านวรรณกรรมล้านนารูปหนึ่ง จนได้รับขนานจากประชาชนทั่วไปและในวงศ์คณะสงฆ์ล้านนาว่า ปราชญ์ล้านนา ท่านได้แต่งหนังสือหลายเล่นที่เป็นที่นิยมและรู้จักทั่วไป อาทิเช่น

  • ปฏิทินล้านนา ฉบับวัดธาตุคำ
  • หนังสือคู่มือมัคนายก
  • หนังสาระคดีล้านนา
  • หนังสือค่าวคำสอนและโคลงโยคม้า
  • หนังสือโลกนิตีคำค่าว
  • คู่มือประกอบศาสนพิธี คณะเทคนิคการแพทย์
  • หนังสือโคลง-ค่าว เฉลิมพรเกียรติสามกษัตริย์
  • หนังสือการจัดศพล้านนา ภูมิปัญญาบรรพชน
  • หนังสือฮีตกองของบ่าเก่า
  • หนังสือพุทธทำนาย ฯลฯ

ความชำนาญการ[แก้]

  • ชำนาญในการเทศนา เทศน์มหาชาติ ๔ ภาค, เทศน์ปุจฉา-วิสัชนา
  • ชำนาญเรื่องการประพันธ์ ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง
  • ชำนาญในการออกแบบการก่อสร้าง
  • ชำนาญในเรื่องอักษรล้านนา
  • ชำนาญในเรื่องวรรณคดีและประวัติศาสตร์ล้านนา
  • ชำนาญในเรื่องปฏิทินล้านนา


เกียรติคุณที่เคยได้รับ[แก้]

  • พ.ศ.๒๕๔๔ วุฒิบัตรนักเทศน์แม่แบบของมหาเถรสมาคม
  • พ.ศ.๒๕๔๕ โล่ห์เกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาภาษาศาสตร์ด้านศาสนา
  • พ.ศ.๒๕๔๖ เกียรติบัตรจากสถาบันราชภัฎเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๔๗ โล่เกียรติคุณ “เพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา” มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๔๘ เกียรติบัตรจากวัดเจ็ดยอดในการเทศน์สังคายนา
  • พ.ศ.๒๕๔๘ เกียรติจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพในการตัดสินเทศน์แบบล้านนา
  • พ.ศ.๒๕๔๙ เกียรติบัตรครูภูมิปัญญาจากโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม
  • พ.ศ.๒๕๔๙ เกียรติบัตรของคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๔๙ เกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการให้การอบรมผู้นำในด้านศาสนพิธี
  • พ.ศ.๒๕๔๙ เกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในการผ่านการปฏิบัติธรรม
  • พ.ศ.๒๕๕๐ โล่ห์เกียรติยศผู้มีอุปการคุณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๕๐ โล่ห์ประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น จาก โรงเรียนธรรมราชศึกษา
  • พ.ศ.๒๕๕๐ เกียรติบัตรจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • พ.ศ.๒๕๕๑ ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ "ภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา" จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นครูภูมิปัญญา รุ่นที่ ๗ แห่งประเทศไทย


สมณศักดิ์[แก้]


อ้างอิง[แก้]