ข้ามไปเนื้อหา

พรรคโอกาสใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรรคไทยเป็นหนึ่ง)
พรรคโอกาสใหม่
ชื่อย่อ
ผู้ก่อตั้งศิระ โค้วตระกูล
หัวหน้าสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์
รองหัวหน้าวีระชัย นาคมาศ
เลขาธิการธงชัย ลืออดุลย์
เหรัญญิกโสภณ ทองดี
นายทะเบียนสมาชิกเฉลิมพล มั่งคั่ง
โฆษกอรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง
กรรมการบริหาร
  • ภัทรานันท์ ทองประพาฬ
  • อรรถพล จันทร์ศรี
  • วัชรวิชย์ สุขวัฒนาภิรมย์
  • รวินท์ ชอบใช้
  • ธนพนธ์ สิงหพันธุ์
  • ธนเมธ วัฒนโกเมร
  • โชติกาญจน์ บุญพรม
  • อิทธิเดช ธเนศวัฒนะ
  • สิรวิทย์ ช่วงเสน
  • รังรอง เข็มทอง
  • ริกาณ์ ปุญทริกา
  • ธันวา พานิช
คำขวัญโอกาสสำหรับคนไทยทุกคน
ก่อตั้งพรรคไทยเป็นหนึ่ง
17 มกราคม พ.ศ. 2564
พรรคโอกาสใหม่
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
รับรองตามกฎหมาย28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (3 ปีก่อน) (2565-02-28)
ที่ทำการ411 อาคารเจดับบลิว ทาวเวอร์ ชั้น 2-3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2568)20,096 คน
อุดมการณ์อนุรักษนิยมใหม่
ทุนนิยมและกลไกตลาดเสรี
พิพัฒนาการนิยม
เว็บไซต์
okardmai.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคโอกาสใหม่ (อังกฤษ: New Opportunity Party; ชื่อย่อ: อ) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ประชุมจัดตั้งเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 และได้รับจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ในชื่อ พรรคไทยเป็นหนึ่ง ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบันมี สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ ธงชัย ลืออดุลย์ เป็นเลขาธิการพรรค

ประวัติ

พรรคไทยเป็นหนึ่ง

ตราสัญลักษณ์ของพรรคไทยเป็นหนึ่ง (พ.ศ. 2565–2567)

พรรคไทยเป็นหนึ่ง (อังกฤษ: Thai To Be One Party; ชื่อย่อ: ทปน.) ประชุมจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 และได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นลำดับที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1] มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 462/21 หมู่ 10 ถนนสายเอเชีย ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์[2] โดยมี ศิระ โค้วตระกูล (หนึ่ง เอพริล) (ชื่อเดิม: ณัฐธีร์ พัสวีดิลกภัทร์, นิธิพัฒน์ พัสวีดิลกภัทร์ และ ศิระ อวยศิลป์ ตามลำดับ) อดีตผู้จัดละครจากไอพีเอ็ม โปรดักชั่น เป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคคนแรก และ โชติกาญจน์ บุญพรม เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก โดยพรรคมีนโยบายที่เน้นการสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยเป็นหลัก[3]

พรรคโอกาสใหม่

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2567 ของพรรคไทยเป็นหนึ่งที่ห้องทับทิมสยาม โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการเกษียณ โดยในการประชุมมีวาระเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่ ซึ่งเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคโอกาสใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party; ชื่อย่อ: อ)[4]: 54  เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ รวมทั้งที่ทำการพรรค โดยเปลี่ยนมาใช้เลขที่ 411 อาคารเจดับบลิว ทาวเวอร์ ชั้น 2-3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเช่าพื้นที่มาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เป็นที่ทำการพรรคแห่งใหม่ และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 16 คน ซึ่งพบว่า ที่ประชุมมีมติเลือกอดีตข้าราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ เป็นกรรมการบริหารพรรคจำนวน 4 คน เช่น สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นหัวหน้าพรรค, ธงชัย ลืออดุลย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา, อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดบึงกาฬ เป็นเลขาธิการพรรค, วีระชัย นาคมาศ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดมุกดาหาร เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2, โสภณ ทองดี อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นเหรัญญิกพรรค และเฉลิมพล มั่งคั่ง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารอีกคนหนึ่ง เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค ส่วนอดีตหัวหน้าพรรคและอดีตเลขาธิการพรรคยังดำรงตำแหน่งในพรรคตามเดิม โดยศิระ อดีตหัวหน้าพรรค เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1[6][4]: 93  ก่อนจะลาออกในเวลาต่อมา[7] ส่วนโชติกาญจน์ อดีตเลขาธิการพรรค เป็นกรรมการบริหารพรรค[6][4]: 94 

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2568 ของพรรคโอกาสใหม่ที่โรงแรมฟาวน์เท่น ทรี รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค โดยเปลี่ยนชื่อพรรคในภาษาอังกฤษเป็น New Opportunity Party เนื่องจากชื่อภาษาอังกฤษเดิมนั้นซ้ำกับพรรคความหวังใหม่ พร้อมทั้งเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 11 คน และเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มอีก 4 ตน[8]

หัวหน้าพรรค

ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
พรรคไทยเป็นหนึ่ง
1 ศิระ โค้วตระกูล 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 -
พรรคโอกาสใหม่
2 สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน • อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

บทบาททางการเมือง

การเลือกตั้ง

พรรคส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งสมัยนั้นยังใช้ชื่อพรรคว่าพรรคไทยเป็นหนึ่ง โดยพรรคนำเสนอนโยบายหลักในการขยายเวลาการให้บริการสถานบันเทิง โดยสิ้นสุดในเวลา 4:00 น. และลดอายุขั้นต่ำของผู้เข้าใช้บริการสถานบันเทิงเหลือ 18 ปี[9] และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 31 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 8 คน หนึ่งในนั้นมีจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งส่งลงสมัครทั้งจังหวัดรวม 3 เขต[10] และแบบบัญชีรายชื่ออีก 23 คน รวมถึงเสนอชื่อ พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี[11] อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยเป็นหนึ่งได้รับคะแนนเสียงรวมเพียง 13,605 คะแนนเท่านั้น ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้คะแนนไม่เพียงพอที่จะได้รับการเลือกตั้ง

อ้างอิง

  1. "ราชกิจจานุเบกษา ประกาศนายทะเบียน รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยรักชาติ – พรรคไทยเป็นหนึ่ง เผยรายชื่อกรรมการบริหารพรรค". มติชนสุดสัปดาห์. 27 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยเป็นหนึ่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (41 ง): 292–333. 28 กุมภาพันธ์ 2022.
  3. "อดีตผู้จัดละคร "หนึ่ง เอพริล"ตั้งพรรค "ไทยเป็นหนึ่ง"". ผู้จัดการออนไลน์. 18 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคโอกาสใหม่ (เดิมชื่อพรรคไทยเป็นหนึ่ง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 142 (42 ง). 10 เมษายน 2025.
  5. "ชงชื่อ 'ธงชัย ลืออดุลย์' นั่งเลขารัฐมนตรี". วอยซ์ทีวี. 1 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.
  6. 6.0 6.1 "อดีตผู้ว่า ฯ – บิ๊กข้าราชการเกษียณ รวมตัวก่อตั้ง 'พรรคโอกาสใหม่'". สำนักข่าวอิศรา. 16 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง - ข้อมูลพรรคการเมือง". party.ect.go.th (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-19. สืบค้นเมื่อ 2025-02-25.
  8. "'พรรคโอกาสใหม่'ประชุมใหญ่ครั้งแรกปี'68 เพิ่มกก.บห.4คน-เตรียมตัวลงสนามเลือกตั้งหนหน้า". แนวหน้า. 24 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2025.
  9. "18 ปีเข้าผับ – ผับปิดตี 2 คุยถึงนโยบายเอาใจสายปาร์ตี้ และจุดยืนของพรรคไทยเป็นหนึ่ง". เดอะ แมทเทอร์. 17 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "พรรคไทยเป็นหนึ่ง ประกาศส่งผู้สมัคร ส.ส.ครบ 3 เขต จ.กำแพงเพชร". มติชน. 20 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "'แคนดิเดตนายกฯ' นอกกระแส หลายวงการขยับสู่พื้นที่การเมือง". กรุงเทพธุรกิจ. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น