พรรคสังคมนิยมอินโดนีเซีย
พรรคสังคมนิยมอินโดนีเซีย (Socialist Party of Indonesia (Indonesian: Partai Sosialis Indonesia) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2503 พรรคนี้ถูกคว่ำบาตรโดยซูการ์โน
จุดกำเนิด
[แก้]ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 พรรคสังคมนิยมอินโดนีเซีย (ปาร์ซี) ของอามีร์ ซารีฟุดดินและพรรคประชาชนสังคมนิยม (ปาร์ซัส) ของซูตัน ชะห์รีร์ได้รวมตัวกันเป็นพรรคสังคมนิยม ชะห์รีเป็นหัวหน้าพรรคที่เกิดใหม่ พรรคนี้เป็นที่นิยมในหมู่ปัญญาชนและนักศึกษา เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2488 พรรคนี้มีที่นั่งในคณะกรรมกลางแห่งชาติอินโดนีเซียซึ่งเป็นสภาโดยพฤตินัย 25 ที่นั่ง ทั้งอามีรและซูตันต่างได้เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำคนอื่นของพรรคได้เป็นรัฐมนตรี ความแตกแยกภายในพรรคเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2490 เนื่องจากอามีรและกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลมากในพรรค ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2490 อามีรขับซูตันออกจากพรรค ซูตันได้ตั้งพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียขึ้นมาใหม่เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
ยุคเสรีประชาธิปไตย
[แก้]หลังการจัดตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่เป็นเอกราชขึ้นใน พ.ศ. 2493 พรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียได้ 17 ที่นั่งในสภา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 พรรคได้รับเลือก 5 ที่นั่ง
ความตกต่ำ
[แก้]หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 เกิดความแตกแยกระหว่างนักการเมืองที่มาจากเกาะชวาและเกาะต่างๆ ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 สมาชิกพรรคที่ไม่ได้เป็นชาวชวาลาออกจากพรรค ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เรียกร้องให้ยกเลิกพรรคการเมืองซึ่งนำไปสู่แนวคิดประชาธิปไตยแบบชี้นำในพ.ศ. 2500 ซึ่งพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียต่อต้าน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2499 ผู้บัญชาการทหารในเกาะสุมาตราได้ประกาศเข้าควบคุมรัฐบาลท้องถิ่น วิกฤติได้ขยายไปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 ผู้บัญชาการทหารแห่งอินโดนีเซียตะวันออกได้ประกาศกฎอัยการศึก ต่อมา คณะรัฐมนตรีลาออก และซูการ์โนได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 สุมิตโตร โยโยฮาดิกุสุโม สมาชิกพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียได้ออกจากจาการ์ตาไปยังสุมาตรา และพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียได้เรียกร้องให้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2501 ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลของฝ่ายกบฏเรียกรัฐบาลปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มี อามีร ซารีฟุดดินเป็นนายกรัฐมนตรี ฮัตตาและสมาชิกพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียในจาการ์ตาเรียกร้องให้มีการเจรจา แต่รัฐบาลตัดสินใจปราบปรามด้วยกำลังทหาร และปราบฝ่ายกบฏได้ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2501 หลังจากนั้น ซูการ์โนยังคงใช้ประชาธิปไตยแบบชี้นำต่อไป จนกระทั่งพรรคสังคมนิยมอินโดนีเซียและพรรคมัสยูมีถูกคว่ำบาตรในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 เพราะต่อต้านประชาธิปไตยแบบชี้นำ
ปรัชญาของพรรค
[แก้]ปรัชญาของพรรคได้รับอิทธิพลจากลัทธิมาร์ก ต้องการให้สร้างความทันสมัย พัฒนาเศรษฐกิจ ต่อต้านการใช้ชาตินิยมแบบสุดขั้ว และต่อต้านต่างชาติ
อ้างอิง
[แก้]- Cribb, R. B. & Kahin, Audrey (2004) Historical Dictionary of Indonesia (second edition), Scarecrow Press ISBN 978-0-8108-4935-8 [1]
- Feith, Herbert (2007) The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia Equinox Publishing (Asia) Pte Ltd, ISBN 979-3780-45-2
- Kahin, George McTurnan (1952) Nationalism and Revolution in Indonesia Cornell University Press, ISBN 0-8014-9108-8
- Ricklefs (1982), A History of Modern Indonesia, Macmillan Southeast Asian reprint, ISBN 0-333-24380-3
- Simanjuntak, P.H.H (2003) Kabinet-Kabinet Republik Indonesia: Dari Awal Kemerdekaan Sampai Reformasi (Cabinets of the Republic of Indonesia: From the Start of Independence to the Reform Era), Penerbit Djambatan, Jakarta, ISBN 979-428-499-8