พรรคปฏิวัติประชาชนเตอร์กิสถานตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคปฏิวัติประชาชนเตอร์กิสถานตะวันออก
Shärqiy Turkistan Khälq Inqilawi Partiyisi
东突厥斯坦人民革命党

มีส่วนร่วมในความขัดแย้งซินเจียง
ปฏิบัติการค.ศ. 1969 (1969)ค.ศ. 1989 (1989)
แนวคิด[ลัทธิมาร์ก-เลนิน]]
ชาตินิยมอุยกูร์
แบ่งแยกดินแดน
พื้นที่ปฏิบัติการซินเจียง, จีน
กำลังพล60,000 (กล่าวอ้าง)[1]
พันธมิตร สหภาพโซเวียต
 มองโกเลีย
ปรปักษ์ จีน
การสู้รบและสงครามความขัดแย้งซินเจียง

พรรคปฏิวัติประชาชนเตอร์กิสถานตะวันออก (อังกฤษ: East Turkestan People's Revolutionary Party; อุยกูร์: Shärqiy Turkistan Khälq Inqilawi Partiyisi‎‎; จีน: 东突厥斯坦人民革命党) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ของชาวอุยกูร์ และเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธในซินเจียง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 หรือก่อนหน้านั้น[2] ระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมของเหมา เจ๋อตุง เป็นกลุ่มติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในความขัดแย้งซินเจียง ก่อนจะสลายตัวไปใน พ.ศ. 2532[3][4]

เป้าหมายของพรรคคือเพื่อริเริ่มการปฏิวัติในสามตำบลครั้งที่สอง เพื่อจัดตั้งรัฐคอมมิวนิสต์เอกราชในซินเจียง โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ความช่วยเหลือนี้เพิ่มขึ้นระหว่างความแตกแยกจีน-สหภาพโซเวียต และความขัดแย้งเรื่องชายแดนที่ตามมา[5]

ประวัติ[แก้]

พรรคนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 หรือก่อนหน้านั้นในซินเจียง ประเทศจีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ มีส่วนน้อยเป็นชาวคาซัคในจีน[1] ตามข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ชาวจีน จาง ยูจือ (Zhang Yuxi) พรรคนี้ก่อตั้งอย่างลับ ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2506[2] อดีตสมาชิกของพรรคกล่าวอ้างว่าพรรคมีสมาชิก 60,000 คนและสาขาใต้ดิน 178 แห่งใน พ.ศ. 2512 แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน[1] หลังจากความล้มเหลวใน พ.ศ. 2512 พรรคค่อย ๆ อ่อนแอลงเพราะนักรบส่วนใหญ่ถูกจับกุม และสมาชิกส่วนใหญ่ลี้ภัยออกไป พรรคสลายตัวใน พ.ศ. 2532

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Rémi Castets, Opposition politique, nationalisme et islam chez les Ouïghours du Xinjiang, Les Études du CERI, October 2004. แม่แบบ:Fr-icon
  2. 2.0 2.1 James Millward, Violent Separatism in Xinjiang: A Critical Assessment, Policy Studies, East-West Center Washington, 2004.
  3. David D. Wang, East Turkestan Movement in Xinjiang, Journal of Chinese Political Science, Springer Netherlands, June 1998.
  4. "1946: The establishment of the People's Revolutionary Party". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
  5. Han, Enze (August 31, 2010). External Kin, Ethnic Identity and the Politics of Ethnic Mobilization in the People's Republic of China (Doctor of Philosophy). The Faculty of Columbian College of Arts and Sciences of The George Washington University. pp. 113–114.