ข้ามไปเนื้อหา

พนัส ทัศนียานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนัส ทัศนียานนท์
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2531
ก่อนหน้าปรีชา สุวรรณทัต
ถัดไปประธาน วัฒนวาณิชย์
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อุดร ตันติสุนทร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปรักษ์ ตันติสุนทร
ชลธิศ สินรัชตานันท์
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
จังหวัดตาก
ดำรงตำแหน่ง
7 มกราคม พ.ศ. 2540 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2556–2566)
ประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดตาก ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคประชาชน

ประวัติ

[แก้]

พนัสสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเขาได้ไปศึกษาต่อปริญญาโทสาขากฎหมายที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ พ่วงด้วยปริญญาโทสาขากฎหมายทะเลและสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อีกใบหนึ่ง

ช่วงที่มีคดีปราสาทพระวิหาร รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการรณรงค์ด้วยการบริจาค 1 บาท เพื่อเป็นค่าทนายในการต่อสู้คดีนี้ในศาลโลก ซึ่งพนัสเองก็เคยเป็นหนึ่งในผู้บริจาคในคราวนั้น

การทำงาน

[แก้]

พนัสได้รับตำแหน่งเป็นอัยการพิเศษประจำกรมอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ต่อมาได้ลาออกจากราชการมาเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2531

หลังจากพ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เขาได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[1]

การเมือง

[แก้]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดตาก ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก และได้รับเลือกตั้งพร้อมกับ อุดร ตันติสุนทร อดีต สส.ตาก

พนัสได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยทำหน้าที่ช่วยงานกฎหมายให้กับพรรค และได้ลาออกภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยจับมือตั้งรัฐบาลกับพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิม ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566[2]

ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 พนัสได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กลุ่มกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม (กลุ่ม 2) โดยกล่าวไว้ว่า เพื่อเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพราะเป็นรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้มีการกำหนดระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง[3] ทว่าไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาชน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สัมภาษณ์: พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจาะลึกศึก "ปราสาทพระวิหาร" ไทยรับ-รุกอย่างไรในศาลโลก". สารคดี (ภาษาอังกฤษ). 2013-07-19. สืบค้นเมื่อ 2025-04-21.
  2. ""อ.พนัส"อดีตคณบดีคณะนิติฯ มธ.ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกเพื่อไทย". mgronline.com. 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 2025-03-23.
  3. "'พนัส ทัศนียานนท์' อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ. เปิดตัวเตรียมลงสมัคร สว.ชุดใหม่ หวังแก้ไข รธน. ปี 60". THE STANDARD. 2024-03-01. สืบค้นเมื่อ 2025-04-21.