ฝูงแผ่นดินไหว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝูงแผ่นดินไหวมัตสึชิโระ (1965-1970)
ลำดับเหตุการณ์ฝูงแผ่นดินไหวในฝรั่งเศส ค.ศ. 2003-2004
แผนที่แสดงฝูงแผ่นดินไหวในไอซ์แลนด์เมื่อ ค.ศ. 2010

ฝูงแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Earthquake swarm) เป็นลำดับของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนานเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งแตกต่างจากแผ่นดินไหวธรรมดาซึ่งจะเกิดในเวลาอันสั้นเท่านั้น การปลดปล่อยพลังงานของฝูงแผ่นดินไหวจะมีขนาดเล็กถึงปานกลางหรือใกล้เคียงกัน ต่างจากแผ่นดินไหวหลักที่จะมีเมนช็อกเกิดขึ้นก่อนแล้วตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นชุด ๆ แต่ฝูงแผ่นดินไหวนั้นจะคล้ายกับอาฟเตอร์ช็อกจากแผ่นดินไหวหลักมากเพียงแต่จะไม่มีแผ่นดินไหวใด ๆ ในฝูงแผ่นดินไหวที่เป็นแผ่นดินไหวหลัก กล่าวคือขนาดของฝูงแผ่นดินไหวจะใกล้เคียงกัน [1]

ลักษณะ[แก้]

กิจกรรมของภูเขาไฟและการเคลื่อนที่ของหินหลอมเหลวภายในแผ่นเปลือกโลกเป็นปัจจัยหลักในการเกิดฝูงแผ่นดินไหว หลายครั้งจะมีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กจำนวนมากเกิดก่อนการปะทุของภูเขาไฟ [2][3] ฝูงแผ่นดินไหวจะมีลักษณะเด่นคือแทบแยกไม่ออกระหว่างเมนช็อกกับอาฟเตอร์ช็อก ฝูงแผ่นดินไหวอาจถูกตั้งชื่อให้หากสร้างความเสียหายอย่างมีนัยยะสำคัญ

ในบางกรณีจะพบแผ่นดินไหวที่คนไม่รู้สึกได้มากกว่าแบบอื่น แต่ก็อาจมีแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 หรือ 6 เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ฝูงแผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ บางคนจึงมีอาการ เมาเรือ นอนไม่หลับ บางครั้งอาจถึงขั้นเป็นโรคประสาท ในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวเหมือนได้กลายเป็นเรื่องปกติกับคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และพฤติกรรมของพวกเขาในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวมีความสงบกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแผ่นดินไหวน้อย

สาเหตุ[แก้]

การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอบ ๆ ภูเขาไฟอาจเป็นผลมาจากการปะทุของหินหนืด หรือในพื้นที่ไม่มีภูเขาไฟก็เกิดฝูงแผ่นดินไหวได้เช่นกันแต่จะเกิดจากการไหลของน้ำใต้ดินเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฝูงแผ่นดินไหวมัตสึชิโระ และฝูงแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ [4] หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อน[5] การทำเหมือง [6] ก็อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Jenatton, Liliane; Guiguet, Robert; Thouvenot, François; Daix, Nicolas (2007). "The 16,000-event 2003-2004 earthquake swarm in Ubaye (French Alps)". J. Geophys. Res. 112 (B11): 304. Bibcode:2007JGRB..11211304J. doi:10.1029/2006JB004878. S2CID 129318590.
  2. 有珠山 有史以降の火山活動 気象庁
  3. 雲仙岳 有史以降の火山活動 気象庁
  4. 火山性微動 気象庁 阿蘇山火山防災連絡事務所
  5. 寺島敦、松本利松、「ダム貯水と地震活動 (2)」『地震 第2輯』 37巻 1号 1984年 p.81-88, doi:10.4294/zisin1948.37.1_81
  6. シェールガス開発の環境リスク 〜地震誘発や環境汚染などPDF