ฝากใจไว้กับบีโธเฟ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝากใจไว้กับบีโธเฟ่น
กำกับAgnieszka Holland
เขียนบทStephen J. Rivele
อำนวยการสร้างChristopher Wilkinson
นักแสดงนำเอ็ด แฮร์ริส
Diane Kruger
ผู้จัดจำหน่ายMetro-Goldwyn-Mayer
วันฉาย10 พฤศจิกายน, ค.ศ. 2006
ความยาว104 นาที.
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง~ US$11,000,000
ข้อมูลจาก IMDb

ฝากใจไว้กับบีโธเฟ่น เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ดราม่าอเมริกันเรื่อง Copying Beethoven ออกฉายในปี ค.ศ. 2006 กำกับโดยแอกเนสกา ฮอลแลนด์ ผู้กำกับหญิงชาวโปแลนด์ นำแสดงโดยไดแอน ครูเกอร์ และเอ็ด แฮร์ริส

เรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นที่เวียนนาในปี ค.ศ. 1824 เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงบั้นปลายชีวิตของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน (รับบทโดย แฮร์ริส) ซึ่งในขณะนั้นมีอารมณ์เกรี้ยวกราด ขี้โมโห ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว และมีอาการหูหนวกแล้ว ก่อนหน้านั้นผลงานของเบโทเฟินประสบความล้มเหลวติดต่อกันหลายชิ้น และเขากำลังเร่งแต่งผลงานชิ้นสุดท้าย คือ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ให้ทันกำหนดแสดง ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824

ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครสมมุติ เป็นหญิงสาวชื่อ อันนา โฮลซ์ (รับบทโดย ครูเกอร์) นักแต่งเพลงสมัครเล่นที่อยากจะนำเสนอผลงานประพันธ์ของตนให้เบโทเฟินพิจารณา จึงเสนอตัวกับผู้สนับสนุนของเบโทเฟิน ขอเข้ามาเป็นผู้ช่วยของเบโทเฟิน มีหน้าที่คัดลอกโน้ตดนตรีจากต้นฉบับเพื่อส่งให้วงออร์เคสตรานำไปซ้อม และคอยดูแลทำงานบ้านให้ ภาพยนตร์ยังกล่าวถึงหลานชายของเบโทเฟิน ชื่อ คาร์ล ฟาน เบโทเฟิน ลูกชายคนเดียวของ คาร์ปาร์ แอนตัน คาร์ล ฟาน เบโทเฟิน พี่ชายของเขา

เหตุการณ์หลายอย่างในภาพยนตร์มีรายละเอียดผิดพลาด ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ เช่น การกล่าวถึง มูนไลท์ โซนาตา ผลงานเปียโนโซนาตาหมายเลข 14 ที่แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1801 ซึ่งในปี ค.ศ. 1824 รู้จักกันในชื่อ "quasi una fantasia" ส่วนชื่อ "มูนไลท์" นั้นถูกตั้งโดยนักวิจารณ์ดนตรีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1832 แปดปีหลังเหตุการณ์ในเรื่อง

ข้อผิดพลาดอื่นๆ เช่น ในความเป็นจริง เบโทเฟินใช้ผู้ช่วยคัดลอกโน้ตดนตรีจำนวนสองคน และเป็นชายล้วน ไม่ใช่หญิงสาวดังที่กล่าวถึงในภาพยนตร์ และการกล่าวถึงถ่านหินแอนทราไซต์ใช้ให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว ในความเป็นจริงแล้ว ขณะนั้นแอนทราไซต์มีใช้งานเฉพาะในอเมริกาเหนือ ไม่มีการใช้งานในยุโรป

นักแสดง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]