ฝนแดงในรัฐเกรละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างน้ำฝน (ซ้าย) และหลังกำจัดอนุภาค (ขวา) ตะกอนแห้ง (กลาง)

ปรากฏการณ์ฝนสีแดงในรัฐเกรละ เป็นเหตุการณ์ ฝนสีเลือด (ฝนสีแดง) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 23 กันยายน ค.ศ. 2001 เมื่อเกิดฝนตกเป็นน้ำฝนสีแดงกระจายทั่วไปในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ฝนย้อมเสื้อผ้าสีขาวกลายเป็นสีชมพู[1] นอกจากนี้ยังมีรายงานพบฝนสีเหลือง สีเขียว และสีดำด้วย[2][3][4] เคยมีรายงานว่าพบฝนมีสีใน ค.ศ. 1896 และหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง[5] ครั้งล่าสุดคือเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012[6][7] และตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ถึง 27 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ในบรรดาจังหวัดทางภาคตะวันออกและภาคกลางตอนบนของประเทศศรีลังกา[8][9][10][11]

หลังจากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ใน ค.ศ. 2001 ในช่วงแรกเชื่อกันว่าฝนมีสีเช่นนั้นเนื่องจากผลพวงจากเหตุสะเก็ดดาวระเบิดกลางอากาศ[5] แต่จากการศึกษาที่รัฐบาลอินเดียมอบหมายให้ดำเนินการ สรุปได้ว่า ฝนมีสีเนื่องจากสปอร์ในอากาศจากสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่งจากสกุล Trentepohlia[5] ต่อมาชุดนักวิจัยต่างประเทศระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนี้ว่าคือ Trentepohlia annulata[12][13]

ในต้นปี ค.ศ. 2006 ฝนมีสีในรัฐเกรละได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเมื่อสื่อรายงานว่ากอดฟรีย์ หลุยส์ และสันโตษ กุมาร จากมหาวิทยาลัยมหาตมะ คานธี ในเมืองโกฏฏายัม (Kottayam) เสนอประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงว่า อนุภาคมีสีนั้นเป็นเซลล์จากต่างดาวที่มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบพิเศษ[3][14][15]

เหตุการณ์[แก้]

ตำบลโกฏฏายัมในรัฐเกรละที่ประสบเหตุฝนสีแดงบ่อยครั้งที่สุด

ฝนมีสีในรัฐเกรละเริ่มตกในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ในเขตโกฏฏายัมและเขตอิฑุกกิ (Idukki) ในตอนใต้ของรัฐ มีรายงานพบฝนสีเหลือง สีเขียว และสีดำด้วย[2][3][4] เหตุการณ์ฝนสีแดงตกมีรายงานทั่วไปในเวลาสิบวันต่อมา และจากนั้นความถี่ของฝนลดลงจนถึงปลายเดือนกันยายน[3] ตามข้อมูลของคนในท้องถิ่น ฝนมีสีที่ตกลงมาชุดแรกตกลงมาตามเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบ และตามด้วยต้นไม้ในป่าละเมาะสลัดใบไม้ที่ "ไหม้" เป็นสีเทาแล้วลงมา มีรายงานพบใบไม้ร่วงและบ่อน้ำหายไปและก่อตัวขึ้นในทันทีภายในบริเวณนั้น[16][17][18] ฝนสีแดงตกลงในพื้นที่เล็ก ๆ ไม่เกิน 2-3 ตารางกิโลเมตร และบางครั้งอยู่ในเขตจำกัดมากจนอาจมีฝนปกติตกลงห่างจากฝนสีแดงออกไปเพียงไม่กี่เมตร โดยปกติฝนสีแดงตกนานไม่ถึง 20 นาที[3] ปริมาณน้ำฝนแต่ละมิลลิลิตรบรรจุอนุภาคสีแดง 9 ล้านอนุภาค สำหรับการประมาณค่าปริมาณน้ำฝนสีแดงนอกช่วง มีการประมาณว่ามีอนุภาคสีแดง 50,000 กิโลกรัม (110,000 ปอนด์) ตกลงในรัฐเกรละ[3]

รายละเอียดของอนุภาค[แก้]

ของแข็งสีน้ำตาลแดงที่สกัดจากน้ำฝนสีแดงประกอบด้วยอนุภาคกลมสีแดงประมาณ 90% และสมดุลประกอบด้วยเศษผง[5] อนุภาคในสารแขวนลอยในน้ำฝนมีส่วนทำให้น้ำฝนมีสี ซึ่งในขณะนั้นเป็นสีแดงเข้มข้น มีอนุภาคเพียงบางส่วนที่เป็นสีเหลืองอ่อน เทาอมฟ้า และเขียวอ่อน[3] อนุภาคมีขนาด 4-10 ไมโครเมตรและเป็นทรงกลมหรือทรงรี ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงให้เห็นอนุภาคต่าง ๆ มีรอยกดตรงกลาง ที่กำลังขยายสูง ๆ สามารถเห็นโครงสร้างภายในอนุภาคได้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gentleman, Amelia; McKie, Robin (5 March 2006). "Red rain could prove that aliens have landed". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 March 2006.
  2. 2.0 2.1 "JULY 28, 2001, The Hindu: Multicolour rain". Hinduonnet.com. 2001-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Godfrey Louis; A. Santhosh Kumar (2006). "The red rain phenomenon of Kerala and its possible extraterrestrial origin" (PDF). Astrophysics and Space Science. 302: 175. arXiv:astro-ph/0601022. Bibcode:2006Ap&SS.302..175L. doi:10.1007/s10509-005-9025-4.
  4. 4.0 4.1 Venkatraman Ramakrishnan (30 July 2001). "Colored rain falls on Kerala". BBC. สืบค้นเมื่อ 6 March 2006.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Sampath, S.; Abraham, T. K; Sasi Kuma; V. & Mohanan, C.N. (2001). "Coloured Rain: A Report on the Phenomenon" (PDF). Cess-Pr-114-2001. Center for Earth Science Studies and Tropical Botanic Garden and Research Institute. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  6. "Red rain in India may have alien origin by Arshdeep Sarao, ''Epoch Times'' 6 August 2012". Theepochtimes.com. 2015-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-14. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  7. "Morning shower paints rural Kannur red". The Times of India. 29 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
  8. "Red Rain in Sri Lanka in 2012". Fabpretty.com. 2012-12-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-20. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  9. Gamini Gunaratna, Sri Lanka News Paper by LankaPage.com (LLC)- Latest Hot News from Sri Lanka (2012-11-16). "Sri Lanka : Sri Lanka to investigate the cause of red rain received in some parts". Colombopage.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  10. "'No meteoritic or alien connection with Red rain'". Dailynews.lk. 2012-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  11. Chandra Wickramasinghe says yellow rain is young red rain before growth: [1]
  12. BAST, F, BHUSHAN, S., JOHN A.A., ACHANKUNJU, J., PANIKKAR N.M.V., HEMETNER, C., AND STOCKER-WÖRGÖTTE, E. European Species of Subaerial Green Alga Trentepohlia annulata (Trentepohliales, Ulvophyceae) Caused Blood Rain in Kerala, India. J Phylogen Evolution Biol 3:144 February 2015.[2] (PDF)
  13. "Blood rain mystery spores of micro algae". The Hindu. 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  14. Panspermia theorists say India's red rain contains life not seen on Earth เก็บถาวร 2010-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Farquhar, S. 3 September 2010
  15. Gangappa, Rajkumar; Chandra Wickramasinghe; Milton Wainwright; A. Santhosh Kumar; Godfrey Louis (29 August 2010). Hoover, Richard B; Levin, Gilbert V; Rozanov, Alexei Y; Davies, Paul C. W. (บ.ก.). "Growth and replication of red rain cells at 121 °C and their red fluorescence" (PDF). Proceedings of the SPIE. Instruments, Methods, and Missions for Astrobiology XIII. ArXiv.org. 7819: 18. arXiv:1008.4960. Bibcode:2010SPIE.7819E..18G. doi:10.1117/12.876393. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011. {{cite journal}}: |display-editors=4 ไม่ถูกต้อง (help)
  16. Radhakrishnan, M. G. (2001). "Scarlets of Fire". India Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-26. สืบค้นเมื่อ 6 March 2006.
  17. Mystery of the scarlet rains and other tales เก็บถาวร 2012-05-23 ที่ archive.todayTimes of India, 6 August 2001
  18. Now wells form spontaneously in KeralaTimes of India, 5 August 2001 (from the Internet Archive)