ผู้ใช้:Vyacheslav/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบลเกรด

Град Београд

Grad Beograd
City of Belgrade
ธงของเบลเกรด
ธง
ตราราชการของเบลเกรด
ตราอาร์ม
Location of Belgrade within Serbia
Location of Belgrade within Serbia
พิกัด: 44°49′14″N 20°27′44″E / 44.82056°N 20.46222°E / 44.82056; 20.46222พิกัดภูมิศาสตร์: 44°49′14″N 20°27′44″E / 44.82056°N 20.46222°E / 44.82056; 20.46222
ประเทศ เซอร์เบีย
ก่อตั้ง:พ.ศ. 629 (Roman Legion)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีSiniša Mali
พื้นที่[1]
 • เขตเมือง359.96 ตร.กม. (138.98 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,222.68 ตร.กม. (1,244.28 ตร.ไมล์)
ความสูง[2]117 เมตร (384 ฟุต)
ประชากร
 (2007)[3]
 • ตัวเมือง1,670,000 (Table 3.2 p. 64) คน
 • ความหนาแน่น506 คน/ตร.กม. (1,310 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,281,801 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง3,283 คน/ตร.กม. (8,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
Postal code11000
รหัสพื้นที่(+381) 11
ป้ายทะเบียนรถยนต์BG
เว็บไซต์Beograd.rs

เบลเกรด (อังกฤษ: Belgrade) หรือ เบออกรัด (เซอร์เบีย: Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง

ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเทศ

สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]

ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงสภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองเบลเกรด

เบลเกรดตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศเซอร์เบีย ระหว่างรอยของภูมิภาคสองแห่งคือ ชูมาดียา(อังกฤษ: Šumadija|เซอร์เบีย: Шумадија) กับภูมิภาค วอยโวดีนา(อังกฤษ: Vojvodina|เซอร์เบีย: Војводина) พื้นที่โดยทั่วไปของกรุงเบลเกรดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีเนินต่ำๆสลับ โดยถือเป็นริมขอบทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขตที่ราบแพนโนเนียน มีแม่น้ำสำคัญตัดผ่านตัวเมืองสองสายคือ แม่น้ำซาวาไหลมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และมาบรรจบกับแม่น้ำดานูบซึ่งไหลมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านเขตวอยโวดีน่า โดยจุดที่แม่น้ำทั้งสองมาไหลรวมกันนั้น ถือว่าเป็นสมรภูมิที่ดีมาแต่ยุคโบราณจึงเป็นที่ตั้งของป้อมปราการโบราณของเบลเกรด(อังกฤษ: Belgrade Fortress) หรือที่เรียกกันในอีกนามว่า คาเลเมกดัน(อังกฤษ: Kalemegdan|เซอร์เบีย: Калемегдан) ซึ่งตั้งอยู่มากว่าสองพันปี

Great War Island หรือ Veliko Ratno Otrvo เกาะขนาดใหญ่กลางจุดที่แม่น้ำซาวาและแม่น้ำดานูบไหลมารวมกัน

ทั้งนี้แม่น้ำสายหลักทั้งสองสาย นอกจากเป็นเส้นทางคมนาคมแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตภูมิภาคที่มาบรรจบกันในเขตของกรุงเบลเกรดด้วย โดยฝั่งซ้ายของแม่น้ำซาวาที่แขวงเซมุน, นอวี เบลเกรด และ ซูร์ชินตั้งอยู่นั้น ถือว่าอยู่ในเขตเซเรมซึ่งเป็นภูมิภาคย่อยของวอยโวดีนา ขณะเดียวกันฝั่งซ้ายของแม่น้ำดานูบอันเป็นที่ตั้งของแขวงปาลิลูลาอยู่ในเขตแดนเรียกกันว่าบานัทซึ่งเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคย่อยของวอยโวดีนาเช่นกัน

ในเขตกรุงเบลกราดมีเกาะซึ่งเกิดจากการไหลเซาะของแม่น้ำ โดยในจำนวนนี้สองเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดคือ อาดา ซิกันลิยา(อังกฤษ: Ada Ciganlija|เซอร์เบีย: Ада Циганлија) อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางต้นแม่น้ำซาวา อีกเกาะนึงนั้นอยู่ในจุดที่แม่น้ำดานูบไหลมาบรรจบกับแม่น้ำซาวาตรงข้ามป้อมปราการโบราณคือ เวลิโก รัทโน โอสเตอร์โว (อังกฤษ: Veliko Ratno Ostrvo / Great War Island|เซอร์เบีย: Велико Ратно Острво) โดยเกาะทั้งสองนี้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติและเป็นสถานที่พักผ่อนในยามหน้าร้อนของประชากรในเบลเกรด

ประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

เมื่อราวๆ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีอารยธรรมที่เรียกกันว่า อารยธรรมวินชา(อังกฤษ: Vinča) ซึ่งเป็นอารยธรรมในยุคหินใหม่แพร่หลายในอาณาเขตประเทศเซอร์เบียในปัจจุบันรวมถึงบางส่นของประเทศข้างเคียงเช่น บอสเนีย, บัลกาเรีย, โรมาเนีย โดยในส่วนของเมืองเบลเกรดนั้น ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุของอารยธรรมวินชาที่แหล่งขุดค้น Vinča-Belo Brdo ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางปลายแม่น้ำดานูบประมาณ 14 กิโลเมตรในแขวงกรอทซกาทางทิศตะวันออก กลุ่มชนของอารยธรรมวินชานั้นได้รับการเชื่อถือกันว่าเป็นกลุ่มอารยธรรมแรกสุดของโลกที่รู้การหลอมแร่ทองแดงเพื่อประดิษฐ์เป็นสิ่งต่างๆ[4]

ยุคก่อนการเข้ามาของโรมัน[แก้]

แผนที่โดยประมาณการขอบเขตของรัฐชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci

หลังการสิ้นสูญไปของอารยธรรมวินชา บันทึกทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนรุ่นต่อมาที่เข้ามาสร้างอารยธรรมที่เด่นชัดในเขตแดนเมืองเบลเกรดในปัจจุบันนี้ก็คือชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci พวกเขาได้เข้ามาชิงดินแดนจากชาวเทรซเซียนแล้วตั้งรัฐของตนเองขึ้นมาครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศเซอร์เบียในช่วง 279 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนอกจากเบลเกรดแล้วเมืองอื่นๆในเซอร์เบียเช่น คุซุม(อังกฤษ: Cusum เมืองเปโตรวาราดินซึ่งทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลเมืองนอวี่ ซาด) เทารุนุม(อังกฤษ: Taurunum ชื่อเรียกปัจจุบันคือเซมุน เป็นหนึ่งในแขวงย่อยที่อยู่การปกครองของเบลเกรดแต่เคยเป็นเมืองที่แยกออกจากกันต่างหากจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1934) และ ไนซุส(อังกฤษ: Naissus เมืองนีชทางตะวันออกเฉียงใต้ของเซอร์เบีย) ก็เชื่อกันว่าถูกก่อตั้งโดยชาว Scordisci หรือถูกรวมอยู่ในรัฐของชนเผ่านี้เช่นกัน

ชาว Scordisci เป็นชนกลุ่มแรกที่เลือกสร้างชุมชนบนเนินต่ำ ณ จุดบรรจบกันของแม่น้ำซาวาและดานูบ โดยสร้างเป็นป้อมปราการมีลักษณะรูปร่างเป็นวง จึงเป็นที่มาของชื่อแรกสุดของเบลเกรดที่ได้รับการบันทึกไว้คือ ซินกิดูน (อังกฤษ: Singidun) ตั้งตามลักษณะแผนผังการก่อสร้างซึ่งเป็นรูปร่างกลม[5] เมื่ออาณาจักรโรมันเริ่มเข้ามาทำสงครามขยายดินแดนในแถบนี้ ชาว Scordisci ซึ่งพ่ายแพ้ในสงครามก็ค่อยถูกรวมเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโรมันและถูกกลืนหายไปกับชาวโรมันในช่วงร้อยปีแรกหลังจากเริ่มมีคริสตศักราช

ยุคโรมัน[แก้]

ยุคการเสื่อมถอยของโรมัน[แก้]

ยุคแห่งการแก่งแย่งชิงดินแดน[แก้]

เบลเกรดภายใต้ราชอาณาจักรฮังการี[แก้]

เบลเกรดกับอาณาจักรชาวเซิร์บ[แก้]

ยุคการรุกรานของอาณาจักรออตโตมัน[แก้]

การถูกฮับส์บูร์กชิงไปจากออตโตมัน[แก้]

ช่วงแห่งการลุกฮือขึ้นต่อต้านออตโตมันของชาวเซิร์บ[แก้]

เบลเกรดในฐานะเมืองหลวงแห่งรัฐอิสระเซอร์เบียหลังจากกว่าสี่ศตวรรษใต้การปกครองของออตโตมัน[แก้]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

เมืองหลวงแห่งรัฐชาวสลาฟใต้หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

เมืองหลวงของสหพันธรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย[แก้]

ช่วงการล่มสลายของยูโกสลาเวีย[แก้]

หลังจากการประกาศแยกตัวของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร[แก้]

การปกครอง[แก้]

สตารี ดวอร์ หรือ Old Palace วังเก่าตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรเซอร์เบียที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสภาเมืองเบลเกรด
แผนที่แขวงย่อยทั้ง 17 แขวงของเบลเกรด

สภาเมืองเบลเกรดมีสมาชิกสภาทั้งหมด 110 คนโดยมีการเลือกตั้งทุกสี่ปี มีการเลือกคณะมนตรีซึ่งมีอำนาจในการดูแลการบริหารปกครองจากสมาชิกสภาทั้ง 110 คน อีก 13 คน โดยอยู่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีซึ่งจะถูกเลือกโดยนายกเทศมนตรีเพื่อทำหน้าที่ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อยู่ในฐานะที่สามารถปฏิบัติงานได้

นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันของกรุงเบลเกรดคือ ซินิชา มาลี ได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 มี อันเดรยา มลาเดโนวิช เป็นรองนายกเทศมนตรี[6]

ย่านสกาดาร์ลิยาในแขวงสตารี กราด

ส่วนปกครองภายในกรุงเบลเกรด[แก้]

เบลเกรดนั้นนอกจากเป็นเมืองหลวงของเซอร์เบียแล้ว ยังมีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษมีอำนาจในการดูแลแขวงย่อยอีกจำนวนมากที่อยู่รอบๆโดยเป็นการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างสภาท้องถิ่นของแต่ละแขวงกับสภาเมืองเบลเกรด หลายแขวงเคยมีฐานะเป็นเมืองเอกเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองเบลเกรดมาก่อนเช่น เซมุน โอเบรโนวัทส์ แต่ถูกรวบเข้ามาอยู่ในความปกครองดูแลร่วมกับเมืองเบลเกรดในระยะเวลาหลายสิบปีก่อน

แขวงเซมุน อยู่ที่อีกฟากของเกาะกลางจุดบรรจบแม่น้ำตรงข้ามคาเลเมกดัน

แขวงซึ่งถือกันว่าเป็นหัวใจของเมืองเบลเกรดแต่ดั้งเดิมคือเขตสตารี กราด เป็นภาษาเซอร์เบียแปลว่า "เมืองเก่า"

ชุมชนบอร์ชาในแขวงปาลิลูลาที่เป็นแขวงเดียวทางฝั่งซ้ายแม่น้ำดานูบ
ตราแขวง ชื่อ(ไทย) ชื่อ(อังกฤษและเซอร์เบีย) ขนาดพื้นที่(ตร.กม) จำนวนประชากร(ค.ศ. 2011) ภูมิภาคย่อย
กรอทซกา Grocka / Гроцка 289 83,907 ชูมาดียา
ชูการิทซา Čukarica / Чукарица 156 181,231 ชูมาดียา
ซเวซดารา Zvezdara / Звездара 32 151,808 ชูมาดียา
เซมุน Zemun / Земун 154 168,170 เซเรม
ซูร์ชิน Surčin / Сурчин 28.5 43,819 เซเรม
ซาฟสกี เวนัทส์ Savski venac / Савски венац 14 39,122 ชูมาดียา
โซปอท Sopot / Сопот 271 20,367 ชูมาดียา
นอวี เบลเกรด Novi Beograd / Нови Београд 41 214,506 เซเรม
บาราเยโว Barajevo / Барајево 213 27,110 ชูมาดียา
ปาลิลูลา Palilula / Палилула 451 173,521 บานัท(ส่วนใหญ่)
มลาเดโนวัทส์ Mladenovac / Младеновац 339 53,096 ชูมาดียา
ราโกวิทซา Rakovica / Раковица 31 108,641 ชูมาดียา
ลาซาเรวัทส์ Lazarevac / Лазаревац 384 58,622 ชูมาดียา
วราชาร์ Vračar / Врачар 3 56,333 ชูมาดียา
วอซโดวัทส์ Voždovac / Вождовац 148 158,213 ชูมาดียา
สตารี กราด Stari grad / Стари град 5 48,450 ชูมาดียา
โอเบรโนวัทส์ Obrenovac / Обреновац 411 72,524 ชูมาดียา

การคมนาคม[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

การศึกษา[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

เบลเกรดเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมทั้งสมัยเก่าและสมัยใหม่ แม้นว่าจะไม่ค่อยมีโบราณสถานใดๆในเมืองหลงเหลืออยู่เลยตลอดอายุกว่าสองพันปีนอกจากป้อมปราการคาเลเมกดันก็ตาม กระนั้นอาคารส่วนมากที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของเบลเกรดจะถูกสร้างขึ้นในช่วงราวๆสองร้อยปีที่แล้วในอิทธิพลสถาปัตยกรรมจากออสเตรีย-ฮังการี ในแต่ละปีจะมีการจัดงานเทศกาลต่างๆแทบทุกเดือน


กีฬาและสันทนาการ[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Territory". Official website of City of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
  2. "Geographical Position". Official website of City of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
  3. "Statistical yearbook of Belgrade" (pdf, link IE only). Zavod za informatiku i statistiku Grada Beograda. 2007. p. 64. {{cite web}}: |chapter= ถูกละเว้น (help)
  4. "The Vinča Culture: ('Old Europe')". ancient-wisdom.co.uk.
  5. "Ancient Period". City of Belgrade official website.
  6. "Mayor". City of Belgrade official website.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]