ผู้ใช้:Toptheworst/ข้อความเตือนภัยกากกัมมันตรังสีระยะเวลานาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปที่ได้รับการเสนอให้เป็นสัญลักษณ์เตือนถึงอันตรายของกากนิวเคลียร์ฝังที่ โรงงานนำร่องการแยกขยะ

ข้อความเตือนภัยกากกัมมันตรังสีระยะเวลานาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อกีดกันมนุษย์ที่มาบุกรุกในสถานที่เก็บ กากนิวเคลียร์ ในอนาคตอันไกล ภายในหรือนานกว่า 10,000 ปีข้างหน้า วิชาสัญศาสตร์ปรมาณูเป็นสาขาการวิจัยแบบสหวิทยาการ ซึ่งจัดทำขึ้นครั้งแรกโดย Human Interference Task Force ในปีค.ศ. 1981

รายงานจากปีค.ศ. 1993 จาก ศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย แนะนำให้เขียนข้อความเตือนภัยให้มีความซับซ้อนในหลายระดับ, สถานที่เก็บควรมีคุณลักษณะทางกายภาพที่จะสื่อให้ผู้มาเยือนในอนาคตทราบทันทีว่าสถานที่นี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นอันตราย และมีการให้ข้อมูลภาพที่พยายามถ่ายทอดรายละเอียดเกี่ยวกับอันตรายและคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับผู้ที่สามารถอ่านได้

ข้อความ[แก้]

รายงานจากปีค.ศ. 1993 จาก ศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย มีจุดมุ่งหมายในการสื่อข้อความโดยไม่ใช้อักษรกับผู้มาเยือน โดยให้ตัวอย่างไว้ว่าข้อความควรปลุกความรู้สึกในทำนองต่อไปนี้: - สถานที่แห่งนี้เป็นข้อความ... เป็นข้อความหลายๆ ข้อความ... จงให้ความสนใจ - การส่งข้อความนี้สำคัญต่อพวกเรามากๆ พวกเราได้พิจารณาตนเองว่าเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง

- สถานที่แห่งนี้มิใช่สถานที่ที่มีเกียรติ มิได้ให้เกียรติต่อการกระทำใดๆ ไม่มีสิ่งที่มีค่า ณ สถานที่แห่งนี้

- สิ่งที่อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นอันตรายและสิ่งที่น่ารังเกียจต่อพวกเรา นี่เป็นข้อความที่จะสื่อถึงอันตรายนี้

- อันตรายนี้อยู่ ณ บริเวณที่เจาะจง... ความอันตรายจะเพิ่มเมื่อเข้าหาศูนย์กลาง... จุดศูนย์กลางดังกล่าวนั้นคือบริเวณนี้... มีการกำหนดขนาดและรูปร่างที่เจาะจงและอยู่ใต้พวกเรา

- อันตรายนี้ยังคงอยู่ ณ เวลาของพวกท่าน เสมือนกับเมื่อเวลาของพวกเรา

- อันตรายนี้้เป็นภัยต่อร่างกาย เป็นภัยถึงชีวิต

- อันตรายนี้เป็นภัยในรูปของพลังงานที่ถูกแผ่ออกมา

- อันตรายนี้จะถูกปลดปล่อยออกมา เฉพาะเมื่อคุณรบกวนสถานที่แห่งนี้ทางกายภาพ สถานที่แห่งนี้ควรถูกหลีกเลี่ยงและปล่อยให้ไร้ผู้อาศัย

รายงานดังกล่าวยังแนะนำเพิ่มเติมว่าข้อความดังกล่าวควรประกอบด้วยความซับซ้อนเป็นสี่ระดับ: [1]

  • ระดับ I: ข้อมูลพื้นฐาน: "มีสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ณ ที่นี้"
  • ระดับ II: ข้อมูลเตือน: "มีสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ณ ที่นี้ และสิ่งนั้นเป็นอันตราย"
  • ระดับ III: ข้อมูลพื้นฐาน: บ่งบอกถึงคำตอบของคำถามอะไร ทำไม เมื่อไร ที่ไหน ใคร และอย่างไร
  • ระดับ IV: ข้อมูลที่ซับซ้อน: บันทึกที่มีรายละเอียดสูงประกอบด้วย ตาราง ตัวเลข กราฟ แผนที่ และแผนภูมิต่างๆ

ข้อความเขียน[แก้]

การออกแบบที่ได้เสนอเป็น "เครื่องหมายใต้ผิวดินขนาดเล็ก" ที่จะฝังแบบสุ่มเป็นจำนวนมากทั่วโรงงานนำร่องการแยกขยะ

โรงงานนำร่องการแยกขยะ ได้ทำการวิจัยในการพัฒนาข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปภาพเพื่อเตือนคนรุ่นต่อไปในอนาคต เนื่องจากภาษาเขียนในปัจจุบันเป็นไปได้ยากที่จะอยู่รอด [2] ทีมวิจัยจึงพิจารณาการร่วมใช้ รูปสัญลักษณ์และสถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นมิตร [1] รวมถึงให้มีการแปลข้อความเป็นภาษาเขียนของสหประชาชาติทุกภาษา ซึ่งในปีค.ศ. 1994 ข้อความในระดับ II, III และ IV ในภาษาอังกฤษได้รับการแปลเป็น ภาษาฝรั่งเศส สเปน จีน อาหรับ รัสเซีย และ นาวาโฮ โดยมีแผนจะทดสอบและแก้ไขข้อความภาษาอังกฤษต้นฉบับต่อไป และการแปลเป็นภาษาอื่นๆ ในท้ายที่สุด [3]

การออกแบบศูนย์ข้อมูลของโรงงานนำร่องการแยกขยะ

การออกแบบของโรงงานนำร่องการแยกขยะมีการวางแผนเกี่ยวกับ ศูนย์ข้อมูล ที่จะตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางทางเรขาคณิตของโรงงาน [4] ตัวอาคารจะเป็นโครงสร้างแบบเปิดสร้างจากหินแกรนิตหรือคอนกรีต ขนาด 12.2 × 9.8 × 3.0 ม.และมีข้อความระดับ IV และภายในแผนยังรวมถึงข้อเสนอแนะว่าให้อาคารได้รับการออกแบบเพื่อสร้างเสียงหวีดที่โดดเด่นเมื่อลมพัดผ่านและดึงดูดความสนใจไปที่ศูนย์ข้อมูล [1]

เครื่องหมายทางกายภาพ[แก้]

การออกแบบของเครื่องหมายพื้นผิวขนาดใหญ่ของโรงงานนำร่องการแยกขยะ

รายงานของ ศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย ได้สำรวจการออกแบบสำหรับเครื่องหมายทางกายภาพซึ่งสื่อถึงแนวคิดของการหลั่งที่เป็นอันตราย รูปร่างที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และแนวคิดของ "ดินแดนที่ถูกหลีกเลี่ยง" ที่ดูเหมือนจะถูกทำลายหรือได้รับพิษ [1] การออกแบบที่แนะนำ ได้แก่ :

Landscape of Thorns
มีหนามแหลมขนาดไม่เท่ากันจำนวนมากยื่นออกมาจากพื้นดินในทุกทิศทาง
Spike Field
มีหนามแหลมขนาดใหญ่มากจำนวนหนึ่งโผล่ออกมาจากพื้นดินในมุมต่างๆ
Spikes Bursting Through Grid
รูปแบบตารางสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทั่วทั้งไซต์ โดยมีหนามแหลมขนาดใหญ่ยื่นออกมาในมุมต่างๆ
Menacing Earthworks
กองดินขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเหมือนสายฟ้า เล็ดลอดออกมาจากขอบของพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปร่างจะมองเห็นได้ชัดเจนจากอากาศ หรือจากเนินเขาเทียมที่สร้างขึ้นรอบๆ บริเวณ
Black Hole
แผ่นหินบะซอลต์หรือคอนกรีตย้อมสีดำขนาดมหึมา ทำให้ดินแดนนี้อยู่ไม่ได้และไม่สามารถทำการเกษตรได้
Rubble Landscape
กองหินถูกระเบิดรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะยังคงมีลักษณะผิดปกติและให้ความรู้สึกของบางสิ่งที่ถูกทำลาย
Forbidding Blocks
เครือข่ายบล็อกหินขนาดเท่าบ้านหลายร้อยบล็อก ย้อมสีดำและจัดเรียงเป็นตารางสี่เหลี่ยมที่ไม่เป็นระเบียบ บ่งบอกถึงเครือข่ายของ "ถนน" ที่ทำให้รู้สึกเป็นลางไม่ดีและไม่นำทางไปแห่งใดเลย บล็อกนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการทำการเกษตรหรือการใช้ในอนาคตอื่นๆ


ความทรงจำทางวัฒนธรรม[แก้]

นักภาษาศาสตร์ Thomas Sebeok ซึ่งต่อยอดจากงานก่อนหน้าโดย Alvin Weinberg และ Arsen Darnay และทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ Human Interference Task Force ได้เสนอให้มีการสร้าง ปุโรหิตปรมาณู (atomic priesthood) คล้ายกับ คริสตจักรคาทอลิก ซึ่งได้อนุรักษ์และอนุญาตข้อความของคริสตจักร มาเกือบ 2,000 ปี ฐานะปุโรหิตจะรักษาความรู้เกี่ยวกับสถานที่และอันตราย ของกากกัมมันตภาพรังสี ผ่านพิธีกรรมและตำนาน [5] [6] [7]

นักเขียนชาวฝรั่งเศส Françoise Bastide และนักสัญศาสตร์ชาวอิตาลี Paolo Fabbri เสนอให้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมแมวบ้านเพื่อให้มีการเปลี่ยนสีขนเมื่อมีระดับรังสีที่เป็นอันตราย และมีการแต่งเรื่องราวนิทานต่างๆ ซึ่งจะให้ความสำคัญของ "แมวกัมมันตรังสี" หรือ "แมวเรย์" ว่าให้ย้ายออกจากสถานที่ที่พบสิ่งมีชีวิตดังกล่าว หรือที่พบแมวบ้านเริ่มแสดงพฤติกรรมดังกล่าว [8] [9] [10] [11] ในปีค.ศ. 2014 นักดนตรี Emperor X ได้แต่งเพลงชื่อ "Don't Change Colour, Kitty" ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ "ติดหูและน่ารำคาญมากจนอาจถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นตลอดระยะเวลา 10,000 ปี" [12] [13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Trauth, K.M.; Hora, S.C.; Guzowski, R.V. (1 November 1993). "Expert judgment on markers to deter inadvertent human intrusion into the Waste Isolation Pilot Plant" (ภาษาอังกฤษ). Sandia National Labs., Albuquerque, NM (United States): F-49–F-50. doi:10.2172/10117359. OSTI 10117359. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Beauchamp, Scott (2015-02-24). "How to Send a Message 1,000 Years to the Future". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
  3. "Permanent Markers Implementation Plan" (PDF). 2004-08-19. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
  4. Piesing, Mark. "How to build a nuclear warning for 10,000 years' time". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
  5. Thomas A. Sebeok, "Pandora’s Box in Aftertimes" in I think I am a verb : more contributions to the doctrine of signs, Springer, 1986, pp. 149-173.
  6. Sebeok, Thomas (1984). "Die Büchse der Pandora und ihre Sicherung: Ein Relaissystem in der Obhut einer Atompriesterschaft" [Pandora's box and its protection: A relay system in the care of an atom priesthood]. Zeitschrift für Semiotik (ภาษาเยอรมัน). Berlin: Deutschen Gesellschaft für Semiotik. 6 (3). ISSN 0170-6241. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  7. "Pandora's Box: How and Why to Communicate 10,000 Years into the Future". www.mat.ucsb.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  8. Bastide, Françoise; Fabbri, Paolo (1984). "Lebende Detektoren und komplementäre Zeichen: Katzen, Augen und Sirenen" [Living detectors and complementary signs: Cats, eyes and sirens]. Zeitschrift für Semiotik (ภาษาเยอรมัน). Berlin: Deutschen Gesellschaft für Semiotik. 6 (3). ISSN 0170-6241. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  9. Kaufman, Rachel (2011). "Ray Cats, Artificial Moons and the Atomic Priesthood: How the Government Plans to Protect Our Nuclear Waste". Mental Floss. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
  10. "Ray Cat Solution". 10,000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
  11. Schwartz, Ariel (August 16, 2015). "Color-changing cats were once part of a US government plan to protect humankind". Tech Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-17. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
  12. "Raycats and earworms: How scientists are using colour-changing cats and nursery rhymes to warn future generations of nuclear danger". CityAM. 24 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.
  13. "10,000 year earworm to discourage settlement near nuclear waste repositories". Bandcamp. 2014-05-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.