ผู้ใช้:Tkantaya/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศรีสมัย เชื้อชาติ[แก้]

ประวัติการศึกษา[แก้]

แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ เป็นสูตินรีแพทย์ประจำโรงพยาบาลหัวหิน[1] จังหวัดประจวบคึรีขันธ์ จบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล[2] ในปี พ.ศ. 2532 ได้ศึกษาต่อด้านสูตินรีเวชที่วชิรพยาบาลในปี 2542 หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อ ได้รับอนุมัติบัตรแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว อนุมัติบัตรแพทย์ระบาดวิทยา ประกาศนียบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชศาสตร์การฝังเข็ม

ประวัติการทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษา แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา 20 ปี ช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นเวลา 10 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติได้ทำงานเป็นสูตินรีแพทย์ ประจำการที่โรงพยาบาลหัวหิน ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องสุขภาพสตรีอย่างรอบด้าน ทั้งการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการคุมกำเนิด การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดที่ปลอดภัย รวมทั้งการยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่การตั้งครรภ์มีปัญหา นอกจากนี้ ยังปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาระบบสืบพันธ์ของเพศหญิง เช่น อาการผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือน โรคติดเชื้อ เนื้องอก มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง เป็นต้น

โรงพยาบาลหัวหิน มีหน่วยบริการที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง หรือ ศูนย์พึ่งได้ (OSCC หรือ One Stop Service Crisis Center) ตามแนวโนยบายของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547-2558[3] พบว่ามีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงมารับบริการ จำนวนทั้งสิ้น 206,244 ราย เป็นเด็ก 108,933 ราย และสตรี 97,291 ราย โดยในเด็กมีสาเหตุมาจากการปล่อยปละละเลยของครอบครัว ขาดการดูแลอย่างเหมาะสมจนเป็นเหตุให้เด็กถูกกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุด ทั้งนี้พบว่า เด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศนั้น จำนวนมากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และจำเป็นต้องได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย แต่มีโรงพยาบาลในประเทศไทยมีจำนวนน้อยที่ให้บริการด้านนี้เพราะขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแแพทย์ แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ เป็นหนึ่งในสูตินรีแพทย์จำนวนน้อยนิดที่ให้บริการด้านนี้ โดยรับส่งต่อจากศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลหัวหินที่สังกัดอยู่ และจากโรงพยาบาลใกล้เคียงในจังหวัดเดียวกัน

ความท้าทายในบทบาทสูตินรีแพทย์[แก้]

การที่แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ เป็นหนึ่งในแพทย์ส่วนน้อยของประเทศไทยที่ให้บริการครอบคลุมทุกมิติของสูตินรีเวช เป็นผลอันเนื่องมากจากบริการสุขภาพในด้านนี้ของประเทศไทยถูกกำหนดด้วยข้อกฏหมาย การยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 301-305 พ.ศ. 2500 อนุญาตให้แพทย์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ในกรณีปัญหาสุขภาพและการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดอาญาทางเพศ เช่น การข่มขืนล่วงละเมิดทางเพศ และ การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี[4] ในปี พ.ศ. 2548 แพทยสภาได้ออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ [5] มีสาระสำคัญคือ ให้ปัญหาสุขภาพที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฏหมาย ครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพกาย หรือ สุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์ โดยปัญหาสุขภาพจิตให้มีแพทย์สองท่านลงนามรับรอง

เดิมทีแพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ให้บริการยุติการตั้งครรภ์เฉพาะในกรณีการตั้งครรภ์ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพกาย ตัวอ่อนในครรภ์พิการ และความผิดทางเพศเท่านั้น และปฏิเสธการให้บริการนี้ในการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพทางจิต ในช่วงการทำงานที่โรงพยาบาลหัวหิน มีวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์มาปรึกษา แจ้งความประสงค์ที่จะขอยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากมีชีวิตที่ยากลำบาก พ่อแม่ทอดทิ้งไปตั้งแต่เล็กอาศัยอยู่กับยาย อีกทั้งแฟนไม่รับผิดชอบและหนีหายไป จึงยืนยันว่าไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ขอโอกาสในการเรียนต่อเพื่อชีวิตที่ดีกว่านี้ แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติปฏิเสธการให้บริการ หลังจากนั้นไม่นาน มีผู้แจ้งข่าวมาว่าคนไข้ที่มาปรึกษาคนนี้ ได้ผูกคอตายจากโลกนี้ไป โดยได้เขียนจดหมายลาตายถึงแพทย์หญิงศรีสมัยเหตุการณ์การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นหญิงที่เคยเป็นคนไข้ที่มาปรึกษา สร้างความสะเทือนใจในฐานะสูตินรีแพทย์ที่มีภารกิจในการรักษาชีวิตผู้หญิง และเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ตระหนักถึงภารกิจในการรักษาชีวิตผู้หญิงในภาวะที่แพทย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยปฏิเสธการให้บริการ

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข แต่ยังคงมีปัญหาผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และคลอดอยู่ โดยอัตราการตายของมารดา (Materal Mortality Rate) ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้[6] สาเหตุการเสียชีวิตมาจากการตกเลือด น้ำคร่ำอุดตัน ติดเชื้อในกระแสเลือด และการแท้งไม่ปลอดภัย จุดเปลี่ยนจากการที่คนไข้หญิงเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น ทำให้แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติตระหนักว่าให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสามารถนำมาสู่การลดอัตราการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ได้

เข้าร่วมเป็นแพทย์อาสา RSA[แก้]

ในปี พ.ศ. 2560 แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายแพทย์อาสา RSA[7] (Referral System for Safe Abortion) ที่จัดตั้งโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นหนึ่งในแพทย์อาสาที่รับส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยเป็นแพทย์อาสา RSA ลำดับที่ 77 ตามคำสั่งกรมอนามัยที่ 207/ 2560 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 ในภารกิจของแพทย์อาสานี้ แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ ได้เข้าร่วมโครงการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา[8] เพื่อนำเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ที่ประสบปัญหาให้ได้รับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงพยาบาลหัวหิน http://www.huahinhospital.go.th/
  2. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.si.mahidol.ac.th
  3. กระทรวงสาธารณสุข ขยายศูนย์พึ่งได้ในปี 2560https://www.hfocus.org/content/2016/11/13049
  4. ทำแท้ง กฏหมาย แพทยสภาhttp://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=493:2011-06-09-01-37-20&catid=40&Itemid=482
  5. ข้อบังคับแพทยสภา tps://www.reproductiverights.org/sites/crr.civicactions.net/files/documents/abortion_regulation_in_Thai.pdf
  6. สุขภาพคนไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน: สุขภาพมารดาhttps://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2017/thai2017_4.pdf
  7. เครือข่ายอาสา RSA https://rsathai.org/
  8. การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion