ผู้ใช้:Thitut/ทดลองเขียน/อินเจนูอิตี (เฮลิคอปเตอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติปฏิบัติการ[แก้]

กราฟเปรียบเทียบระยะเดินทางระหว่าง อินเจนูอิตี กับ เพอร์เซเวียแรนส์.[a]
รอยล้อและตำแหน่งลอง เพอร์เซเวียแรนส์ และ อินเจนูอิตี ในวันที่ 5 สิงหาคม 2021[1]
เพอร์เซเวียแรนว์เข้าสู่บริเวณ Séítah ณ โซล 201

เพอร์เซเวียแรนส์ ปล่อยโล่ป้องกันเศษชิ้นส่วนของ อินเจนูอิตี ในวันที่ 21 มีนาคม 2021 และตัวเฮลิคอปเตอร์ถูกปล่อยตัวลงจากด้านใต้ของยานสำรวจดาวอังคารสู่พื้นผิวดาวอังคารในวันที่ 3 เมษายน 2021.[2] ในวันนั้น กล้องทั้งสองตัวของเฮลิคอปเตอร์ถูกทดสอบในการถ่ายภาพพื้นหลุมอุกกาบาตเจซีโรภายใต้เงาของยานสำรวจดาวอังคาร เป็นทั้งภาพสี และขาว-ดำ เป็นครั้งแรก[3][4]

แผ่นใบพัดของ อินเจนูอิตีนั้นถูกปลดออกได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน 2021 (โซลที่ 48 ของภารกิจ) และตัวเฮลิคอปเตอร์ได้ทำการทดสอบการหมุนของโรเตอร์ที่ความเร็วต่ำ 50 รอบต่อนาที[5][6][7][8]

มีความพยายามทดสอบการหมุนโรเตอร์ที่ความเร็วสูงในวันที่ 9 เมษายน แต่ล้มเหลวเนื่องจากการหมดอายุของตัวตั้งเวลาเฝ้าระวัง — มาตรการทางซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันเฮลิคอปเตอร์จากการปฏิบัติการผิดปกติในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด[9] ในวันที่ 12 เมษายน เจพีแอลแจ้งว่า สามารถระบุวิธีแก้ไขซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาได้แล้ว[10] แต่เพื่อประหยัดเวลา เจพีแอลตัดสินใจที่จะใช้มาตรการแก้ปัญหาทางอ้อม ซึ่งผู้จัดการแจ้งว่า มีโอกาส 85% ที่จะสำเร็จ และเป็นขั้นตอนที่จะ "ส่งผลกระทบน้อยที่สุด" แก่เฮลิคอปเตอร์[11]

ในวันที่ 16 เมษายน 2021 อินเจนูอิตี ผ่านการทดสอบการหมุนโรเตอร์ที่ความเร็วสูงสุด 2400 รอบต่อนาที ในขณะที่ยังคงอยู่บนพื้นผิว[12][13] สามวันต่อมา ในวันที่ 19 เมษายน เจพีแอลบินเฮลิคอปเตอร์นี้เป็นครั้งแรก ในความพยายามในการบินครั้งที่สี่ปัญหาจากตัวตั้งเวลาเฝ้าระวังเกิดขึ้นอีกครั้ง คณะผู้ควบคุมจึงปรับกำหนดการบินใหม่ ซึ่งประสบความสำเร็จในวันที่ 30 เมษายน ในวันที่ 25 มิถุนายน เจพีแอลแจ้งว่า ได้มีการอัปเดตซอฟต์แวร์ในสัปดาห์ก่อนหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาจากตัวตั้งเวลาเฝ้าระวังอย่างถาวร และการทดสอบการหมุนโรเตอร์ในการบินครั้งที่แปดได้ยืนยันว่าการแก้ไขใช้งานได้ [14]

คณะผู้ควบคุม อินเจนูอิตี วางแผนที่จะบินเฮลิคอปเตอร์ทุกสองถึงสามสัปดาห์ระหว่างภารกิจของมันที่ถูกต่อไปอย่างไม่มีกำหนด[15] ความสามารถในการบินของเฮลิคอปเตอร์ที่ยาวกว่าที่คาดนั้นทำให้มันเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนฤดูบนดาวอังคาร ซึ่งความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ ณ ตำแหน่งของมันเบาบางลงไปอีก คณะควบคุมการบินเตรียมพร้อมโดยการสั่งให้ อินเจนูอิตี ทำการทดสอบภาคพื้นดิน หมุนโรเตอร์ให้เร็วกว่าเดิม เพื่อให้ได้แรงยกที่จำเป็น เจพีแอลแจ้งว่าความเร็วโรเตอร์ที่วางแผนไว้สูงขึ้นที่ 2700 รอบต่อนาที จะทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ เช่น การสั่น การใช้พลังงาน และแรงต้านางอากาศพลศาสตร์หากปลายใบพัดเข้าถึงความเร็วเสียง[16] ความเร็วในการทดสอบอยู่ที่ 2800 รอบต่อนาที ทำให้มีระยะสำหรับการเพิ่มรอบหากความเร็วใบพัดที่วางแผนไว้ที่ 2700 รอบต่อนาทีนั้นไม่เพียงพอ อินเจนูอิตี จะพบกับอีกหนึ่งความท้าทายเพื่อจะยังคงความสามารถในการทำงานไว้ระหว่างฤดูหนาวบนดาวอังคารและการเรียงตัวระหว่างดาวอังคารกับดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนไปหลังดวงอาทิตย์ ตัดการสื่อสารกับโลก บังคับให้เฮลิคอปเตอร์และยานสำรวจดาวอังคารและต้องหยุดปฏิบัติการณ์ชั่วคราว การปิดตัวจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งจะมีการเตรียมการก่อนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน [17][18] อินเจนูอิตี จะอยู่คงที่ ณ ตำแหน่งของมัน 175 m (574 ft) จาก เพอร์เซเวียแรนส์ และจะสื่อสารสถานะของมันทุกอาทิตย์กับยานสำรวจดาวอังคารสำหรับการตรวจสอบสภาพ[19] จากเฮลิคอปเตอร์ยังรับคำสั่งหลังจากผ่านสภาพที่รุนแรงของช่วงขาดการสื่อสาร เจพีแอลอาจตัดสินใจบินมันต่อ มิเช่นนั้นคณะผู้ควบคุมจะตัดสินใจยุติภารกิจ[20][21]

รายการบิน[แก้]

ลำดับการบิน วันที่ (UTC)
(โซล)
ระยะเวลา (วินาที) ความสูงสูงสุด ระยะทางแนวระนาบ ความเร็วภาคพื้นสูงสุด เส้นทาง สรุป
1 19 เมษายน 2021 ณ เวลา 07:34
(โซล 58)
39.1 3 m (9.8 ft) 0 m (0 ft) 0 m/s (0 mph) บินขึ้นแนวตั้ง ลอยตัว และลงจอดที่ลานพี่น้องไรต์ 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45102°E / 18.44486; 77.45102 การบินขับเคลื่อนโดยใช้แรงยกจากชั้นบรรยากาศโดยอากาศยานใดๆ บนดาวเคราะห์ดวงอื่นเป็นครั้งแรก ขณะลอยตัว มันหมุน 96 องศาตามที่วางแผนไว้ ข้อมูลการบินนั้นได้รับ ณ เวลา 11:30 UTC.[22][23]
2 22 เมษายน 2021 ณ เวลา 09:33
(โซล 61)
51.9 5 m (16 ft) 4 m (13 ft) ไป-กลับ 0.5 m/s (~1 mph) ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก 2 m (6.6 ft) ลอยตัว เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[24][25] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45102°E / 18.44486; 77.45102 จากการลอยแรกเริ่ม มันเอียง 5 องศา ทำให้มันสามารถบินไปได้ 2 เมตรในแนวระนาบ จากนั้นหยุด ลอยตัวอยู่กับที่ และหมุนทวนเข็มนาฬิกา จากการลอยตัวแรกเริ่ม มันเอียง 5 องศา ทำให้มันบินไป 2 เมตรในแนวระนาบ มันหยุด ลอยอยู่กับที่ หมุนทวนเข็มนาฬิกา หันจาก +90° สู่ 0° สู่ -90° สู่ -180°ใน 3 ขั้นตอน เพื่อที่จะชี้กล้องสีไปยังทิศทางต่างๆ เพื่อถ่ายภาพ หลังจากนั้นมันบินกลับสู่ตำแหน่งบินขึ้น[26]
3 25 เมษายน 2021 ณ เวลา 11:31
(โซล 64)
80.3 5 m (16 ft) 100 m (330 ft) ไป-กลับ 2 m/s (~4.5 mph) ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 50 m (160 ft) เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[27][28] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45101°E / 18.44486; 77.45101 นี้เป็นการบินครั้งแรกที่มีการเคลื่อนที่ไปไกลจากตำแหน่งปล่อยเฮลิคอปเตอร์ มันเคลื่อนที่ในแนวระนาบ 50 เมตร ที่ความเร็ว 2 เมตรต่อวินาที หลังจากการลอยตัวสั้นๆ ที่จุดหันหลังกลับ มันกลับไปยังตำแหน่งบินขึ้น[29] ข้อมูลการบินนั้นได้รับ ณ เวลา 14:16 UTC.[28]
4 29 เมษายน 2021[30][31] (โซล 68) ความพยายามครั้งแรกในการบินครั้งที่ 4 ล้มเหลว ซอฟต์แวร์บนเครื่องไม่เข้าสู่สถานะบิน[32][14]
30 เมษายน 2021 ณ เวลา 14:49[33]
(โซล 69)
116.9 5 m (16 ft) 266 m (873 ft) ไป-กลับ 3.5 m/s (~8 mph) ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 84 m (276 ft) ลอยตัว เคลื่อนที่กลับ ลอยตัว และลงจอด[34] 18°26′41″N 77°27′04″E / 18.44486°N 77.45112°E / 18.44486; 77.45112 ถ่ายภาพสีระหว่างลอยตัว ณ จุกไกลที่สุดจากจุดบินขึ้น[33] ระหว่างการบินครั้งที่สี่ ยานสำรวจดาวอังคาร เพอร์เซเวียแรนส์ บันทึกทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหวของ อินเจนูอิตี[35] ทำให้ อินเจนูอิตี เป็นยานพาหนะระหว่างดาวเคราะห์ดวงแรกที่เสียงของมันรับได้และถูกบันทึกโดยพาหนะระหว่างดาวเคราะห์อื่น ระหว่างการบินนี้ อินเจนูอิตี แซง เพอร์เซเวียแรนส์ ในระยะทางที่แต่ละพาหนะเดินทางในภารกิจ
5 7 พฤษภาคม 2021 ณ เวลา 19:26[36]
(โซล 76)
108.2 10 m (33 ft) 129 m (423 ft) 2 m/s (~4.5 mph) ลอยตัว เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 129 m (423 ft) บินขึ้นไปที่ความสูง 10 m (33 ft) ลอยตัว และลงจอดที่ลานบิน บี 18°26′34″N 77°27′05″E / 18.44267°N 77.45139°E / 18.44267; 77.45139 นี่เป็นครั้งแรกที่มีการลงจอดที่ตำแหน่งใหม่ 129 m (423 ft) ไปทางใต้ ขณะที่มันมาถึงจุดหมาย มันบินขึ้น ลอยตัว และถ่ายภาพสีของสภาพภูมิประเทศ ก่อนที่จะลงจอดที่ตำแหน่งใหม่ ลานบิน บี.[37][38] นี้เป็นการบินครั้งสุดท้ายในช่วงสาธิตเทคโนโลยี
6 23 พฤษภาคม 2021 ณ เวลา 5:20[39][40][41]
(โซล 91)
139.9 10 m (33 ft) 215 m (705 ft) มีการเปลี่ยนทิศทาง 4 m/s (~9 mph) เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 m (490 ft) ทิศใต้ประมาณ 15 m (49 ft) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 50 m (160 ft) และลงจอดใกล้ลานบิน ซี 18°26′30″N 77°27′00″E / 18.44166°N 77.44994°E / 18.44166; 77.44994 การบินครั้งนี้เป็นครั้งแรกในช่วงสาธิตปฏิบัติการณ์ ในตอนปลายของช่วงแรกของเส้นทางการบิน เกิดความผิดปกติในระบบประมวลผลภาพเพื่อนำทาง ประทับภาพด้วยเวลาที่ผิดส่งผลให้อากาศยานเอียง หน้า-หลัง ไปมาถึง 20 องศา โดยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ถึงกระนั้น อินเจนูอิตี บินต่อไปในสภาพนั้น และลงจอดประมาณ 5 m (16 ft) จากจุดลงจอดที่วางแผนไว้ ลานบิน ซี[41][42]

นั้นเป็นครั้งแรกที่เฮลิคอปเตอร์จะต้องลงจอดที่ลานบินซึ่งไม่ถูกสำรวจสำหรับมันโดยวิธีอื่นนอกจากภาพจากมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์

7 6 มิถุนายน 2021[14] (โซล 105) ความพยายามครั้งแรกในการบินครั้งที่ 7 ล้มเหลว ซอฟต์แวร์บนเครื่องไม่เข้าสู่สถานะบิน[14]
8 มิถุนายน 2021 ณ เวลา 15:54[43][44]
(โซล 107)
62.8[45] 10 m (33 ft)[46] 106 m (348 ft) 4 m/s (~9 mph) เคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ 106 m (348 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน ดี 18°26′24″N 77°27′01″E / 18.43988°N 77.45015°E / 18.43988; 77.45015 อินเจนูอิตี บิน 106 m (348 ft) ไปทางใต้ไปยังจุดลงจอดใหม่ และลงจอดที่ ลานบิน ดี กล้องสีไม่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดในการบินครั้งที่ 6 เกิดขึ้นอีกครั้ง
8 22 มิถุนายน 2021 ณ เวลา 0:27[47]
(โซล 121)
77.4 10 m (33 ft) 160 m (520 ft) 4 m/s (~9 mph) เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 160 m (520 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน อี[14] 18°26′14″N 77°27′03″E / 18.43724°N 77.45079°E / 18.43724; 77.45079 อินเจนูอิตี บินไปประมาณ 160 m (520 ft) ไปทางใต้เพื่อลงจอดที่ ลานบิน อี ห่างจาก เพอร์เซเวียแรนส์ ประมาณ 133.5 m (438 ft) เหมือนกับการบินครั้งที่แล้ว กล้องสีไม่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดในการบินครั้งที่ 6 เกิดขึ้นอีกครั้ง ปัญหาซอฟต์แวร์นั้นถูกแก้ไขได้ก่อนการบินครั้งที่ 9[14]
9 5 กรกฎาคม 2021 ณ เวลา 9:03[46]
(โซล 133)
166.4 10 m (33 ft) 625 m (2,051 ft) 5 m/s (~11 mph) เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 625 m (2,050 ft) ไปยังลานบิน เอฟ 18°25′41″N 77°26′44″E / 18.42809°N 77.44545°E / 18.42809; 77.44545 อินเจนูอิตี บินไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้วยระยะทางที่เป็นสถิติที่ 625 m (2,050 ft) เหนือ Séítah ตำแหน่งที่มีความเป็นไปได้ในการวิจัยภายในหลุมอุกกาบาตเจซีโร มันบินที่ความเร็วที่เป็นสถิติที่ห้าเมตรต่อวินาที การบินครั้งนี้เป็นการบินที่มีความเสี่ยงสูง ผลักดันระบบนำทางไปถึงขั้นสุด ซึ่งคิดว่าพื้นเป็นพื้นเรียบ ในขณะที่ Séítah เป็นสันทรายที่ไม่เท่ากัน ปัญหานี้บรรเทาลงบางส่วนด้วยการที่ตัวเฮลิคอปเตอร์บินช้าลงในบริเวณที่มีความยากลำบากกว่า จากข้อผิดพลาดเหล่านี้ ทำให้ อินเจนูอิตี ลงจอด 47 m (154 ft) ห่างจากจุดศูนย์กลางของลานบินที่มีรัศมี 50 m (160 ft) การบินครั้งนี้ทำให้ระยะเดินทางของอินเจนูอิตี ก้าวข้ามระยะทางของเพอร์เซเวียแรนส์ อีกครั้ง[48][49][50]
10 24 กรกฎาคม 2021 ณ เวลา 21:07[51]
(โซล 152)
165.4[52] 12 m (39 ft)[51] 233 m (764 ft)[46] 5 m/s (~11 mph) บินวนไปทางทิศใต้และตะวันออกเหนือ Raised Ridges ไปยังลานบิน จี

18°25′41″N 77°26′37″E / 18.42808°N 77.44373°E / 18.42808; 77.44373

อินเจนูอิตี บินวนไปทางทิศใต้และตะวันออกเหนือ Raised Ridges ตำแหน่งที่มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยบนดาวอังคาร ต่างจากจุดที่แล้ว เพอร์เซเวียแรนส์วางแผนที่จะเยือนยังตำแหน่งนี้ อินเจนูอิตี บินด้วยระยะทางรวมทั้งหมด 233 m (764 ft) ผ่าน 10 จุดกำหนดการบิน รวมถึงการบินขึ้นและลงจอด ที่ความสูงที่เป็นสถิติที่ 12 m (39 ft).[53]
11 5 สิงหาคม 2021 ณ เวลา 4:53[54][55]
(โซล 164)
130.9 12 m (39 ft) 383 m (1,257 ft) 5 m/s (~11 mph) เคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 383 m (1,257 ft) เพื่อลงจอดที่ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43278°N 77.43919°E / 18.43278; 77.43919 การบินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนไปยังตำแหน่งบินขึ้นใหม่เป็นหลัก ซึ่งการบินครั้งต่อไปจะสามารถถ่ายภาพบริเวณบริเวณ Séítah ใต้ตามแผน[54]
12 16 สิงหาคม 2021 ณ เวลา 12:57[56][57]
(โซล 174)
169.5 10 m (33 ft) ~450 m (1,480 ft) ไป-กลับ 4.3 m/s (~10 mph) บินไป-กลับในทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 235 m (771 ft) ลงจอดอีกครั้งใกล้ ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43268°N 77.43924°E / 18.43268; 77.43924 บินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) แล้วกลับ เส้นทางกลับถูกวางให้ห่างจากทางไปประมาณ 5 m (16 ft) เพื่อทำให้สามารถถ่ายภาพอีกชัดเพื่อสร้างภาพคู่สำหรับทำภาพสามมิติ ด้วยเหตุนั้น เฮลิคอปเตอร์จึงลงจอดประมาณ 25 m (82 ft) ไปทางทิศตะวันออกจากจุดออกตัว[58]
13 5 กันยายน 2021 ณ เวลา 00:10[59]
(โซล 194)
160.5 8 m (26 ft) ~210 m (690 ft) ไป-กลับ 3.3 m/s (~7.3 mph) บินไป-กลับในทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) ลงจอดอีกครั้งใกล้ ลานบิน เอช 18°25′58″N 77°26′21″E / 18.43285°N 77.43915°E / 18.43285; 77.43915 บินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 m (344 ft) แล้วกลับ การบินครั้งนี้เน้นที่บริเวณสันเขาและหินโผล่ใน Séítah ใต้
14 16 กันยายน 2021 (โซล 204) ถึง 23 กันยายน 2021 (โซล 211) การบินถูกเลื่อนออกจนกว่าการเรียงตัวระหว่างดาวอังคารและดวงอาทิตย์จะจบลงในช่วงกลางเดือนตุลาคม หลังพบปัญหาทางฮาร์ดแวร์ระหว่งความพยายามบินครั้งแรก[60] ทดสอบการหมุนโรเตอร์บนพื้น ที่ความเร็ว 2800 รอบต่อนาที สำเร็จ[16][61] ความพยายามในการบินสูง 4.9 m (16 ft) ที่การหมุน 2700 รอยต่อนาทีถูกยกเลิกอัตโนมัติเนื่องจากความผิดปกติในเซอร์โวมอเตอร์ การทดสอบเซอร์โวโดยเจพีแอลในความพยายามจะวินิจฉัยปัญหาในทำได้สำเร็จ[60] ความความตั้งใจที่จะมีการบินสั้นๆ เพื่อยืนยันการใช้รอบหมุนโรเตอร์ที่ 2700 รอบต่อนาทีระหว่างช่วงฤดูชั้นบรรยากาศเบาบาง[16]

ประสบการณ์การบิน[b][แก้]

คุณสมบัติการบิน เวลาตั้งแต่การปล่อย
(3 เมษายน 2021/โซล 43)
ในช่วงสาธิตเทคโนโลยี ในช่วงสาธิตการปฏิบัติการณ์ % ของงานที่ทำเกินกว่า
ช่วงสาธิตเทคโนโลยี
จำนวนโซล 1088 31 1057 403%
จำนวนการบิน 13 5 8 160%
ระยะเดินทาง 2.83 km (1.76 mi) 0.50 km (0.31 mi) 2.33 km (1.45 mi) 466%
เวลาในการบิน (วินาที) 1469 วินาที
(24 นาที 29 วินาที)
396 วินาที
(6 นาที 36 วินาที)
1073 วินาที
(17 นาที 53 วินาที)
271%

Ingenuity's imagery[แก้]

Count of stored images from both cameras per each flight[62]
Flight No. Date (UTC) and Mars 2020 mission sol Photographs Comments
b/w
NAV
color
RTE
Before April 19, 2021 (sol 58) 6[4] 6[63] Preflight camera tests
1 April 19, 2021 (sol 58) 15
2 April 22, 2021 (sol 61) 17 3 The first color photosession
3 April 25, 2021 (sol 64) 24 4
4 April 30, 2021 (sol 69) 62 5
5 May 7, 2021 (sol 76) 128 6
6 May 23, 2021 (sol 91) 106 8
7 June 8, 2021 (sol 107) 72 0 RTE was turned off[14]
8 June 22, 2021 (sol 121) 186 0
9 July 5, 2021 (sol 133) 193 10
10 July 24, 2021 (sol 152) 190 10 Five pairs of color images of Raised Ridges taken to make anaglyphs.[51]
11 August 5, 2021 (sol 164) 194 10
12 August 16, 2021 (Sol 174) 197[64] 10 Five pairs of color images of Séítah taken to make anaglyphs.[57]
13 September 5, 2021 (Sol 193) 191[65] 10

Ingenuity has two commercial-off-the-shelf (COTS) cameras on board. The Sony IMX 214 with 4208 x 3120 pixel resolution is a color camera with a global shutter to make terrain images for return to Earth (RTE). The Omnivision OV7251 (640 × 480) VGA is the downward-looking black and white rolling shutter navigation camera (NAV), which supplies the onboard computer of the helicopter with the raw data essential for flight control.[66]

While the RTE color camera is not necessary for flight and may be switched off (as in flights 7 and 8[14]), the NAV camera works throughout each flight, catching the first frame before takeoff and the last frame after landing. Its frame rate is synchronized with blade rotation to ease online image processing.

During flight, all NAV frames must be carefully stored in the onboard helicopter computer, with each frame assigned the unique timestamp of its creation. Loss of a single NAV image timestamp was an anomaly that caused the helicopter to move erratically during flight 6.[41]

The monopole antenna of the base station is mounted on a bracket in the right rear part of the rover

The longer a flight lasts, the more NAV photos must be stored. Each new record flight duration automatically means a record number of images taken by the NAV camera. The frequency and timing of the camera's operations are predetermined not for the sake of records, but due to the technical necessity. A huge number of NAV files does not overload the local storage of the helicopter. Less than 200 NAV files are uploaded to the NASA storage after each flight starting from the 8th, and the total volume of this package is only about 5 Megabytes[64] The limitations are imposed by weakness of local telecommunications: when landed, helicopter relays data to the rover in a slow mode of 20 kbit/s.[66] Another significant inconvenience here is caused by the location of the antenna on the side of the rover: if turned wrong side to the helicopter, it may impede signal propagation with its massive metal body.

In fact, most of the NAV files are not transmitted to the rover base station for return to Earth. After the fourth flight, MiMi Aung confirmed that "images from that navigation camera are typically used by Ingenuity's flight controller and then thrown away unless we specifically tell the helicopter to store them for later use".[33] From more than 4000 NAV files acquired on flight four, only 62 were stored.[67]

With the end of the flight technology demonstration, Perseverance project manager Jennifer Trosper relinquished her team's responsibilities for photographing Ingenuity to concentrate exclusively on the rover science mission of searching for signs of ancient Martian life. Without pictures from the rover, the flight team relied more heavily on photos taken by the helicopter NAV camera to confirm Ingenuity's location. The helicopter, however, does not create or refine the maps, but rather, depends upon work coordinated by the U.S. Geological Survey’s Astrogeology Science Center and performed by the NASA Mars and Lunar Cartography Working Groups.[ต้องการอ้างอิง]

To support the Mars-2020 mission, USGS used photos by the High-Resolution Imaging Science Experiment (HiRISE) on the Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) to produce Context Camera (CTX) and Digital Terrain Models (DTM) and orthoimage mosaics. Those images were used by the Terrain Relative Navigation (TRN) feature on the Perseverance descent vehicle and helped determine the safest landing location.[68] Using maps created from photos and radar elevation data previously acquired by the MRO and other NASA missions, planetary cartographers manually correlate them with terrain features seen by Ingenuity's small and lens-distorted NAV images.[ต้องการอ้างอิง] After each NAV frame is assigned a georeference, the resulting flight maps are shown at NASA's Mars-2020 tracking service.[1] NAV frames from Ingenuity are also used to produce moving images that show the Martian terrain passing under Ingenuity during its flights.

Flights 3 through 7
Flight 3 (April 25, 2021)
Flight 4 (April 30, 2021)
Flight 5 (May 7, 2021)
Flight 6 (May 23, 2021)
last 39 seconds
Flight 7 (June 8, 2021)
48 sec real-time animation
Flights 8 through 12
Flight 8 (June 22)
full real-time animation
Flight 9 (July 5, 2021)
full real-time animation
Flight 10 (July 24, 2021)
full real-time animation
Flight 11 (August 5, 2021)
full real-time animation
Flight 12 (August 16, 2021)
full real-time animation

Unlike Perseverance, Ingenuity does not have a special stereo camera for taking twin photos for 3D pictures simultaneously. However, the helicopter has made such images by taking duplicate color photos of the same terrain while hovering in slightly offset positions, as in flight 11, or by taking an offset picture on the return leg of a roundtrip flight, as in flight 12.[69]

As of August 24, 2021, 1390 black-and-white images from the navigation camera[62] and 72 color images from the terrain camera (RTE)[70] have been published.

  1. การบินครั้งที่ 1 กับ 2 ไม่ถูกรวมในนี้เพราะว่าการบินสองครั้งนี้แทบไม่มีหรือไม่มีการเคลื่อนที่ในแนวระนาบเลย
  2. จำนวนในตารางนี้ถึงคำนวณโดยการบวกค่าจากการบินแต่ละครั้งกับค่าฐานตามที่แสดงให้เห็นในเอกสารรายงานสถานะนี้[57] ของนาซา/เจพีแอล
  1. 1.0 1.1 "Where is Perseverance?" (ภาษาอังกฤษ). NASA. สืบค้นเมื่อ September 2, 2021.
  2. "NASA's Mars Helicopter Survives First Cold Martian Night on Its Own". Nasa Mars Website.
  3. Public Domain บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Agle, D.C.; Hautaluoma, Gray; Johnson, Alana (23 June 2020). "How NASA's Mars Helicopter Will Reach the Red Planet's Surface". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
  4. 4.0 4.1 "Ingenuity's First Color Snap". NASA. 5 April 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  5. Griffith, Andrew (8 April 2021). "NASA Unlocks Mars Helicopter's Rotor Blades Ahead Of Pioneering Ingenuity Flight". The Independent. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  6. Bartels, Meghan (8 April 2021). "Mars helicopter Ingenuity unlocks its rotor blades to prepare for 1st flight on Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  7. "Ingenuity Begins to Spin Its Blades". NASA's Mars Exploration Program. NASA. 9 April 2021.
  8. "Mars Helicopter has moved its blades & spun to 50 rpm". Twitter. NASA JPL. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
  9. Status 291.
  10. Status 290.
  11. Status 293.
  12. Status 292.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ingenuity passes full speed test
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 Status 308.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sciencealert.com
  16. 16.0 16.1 16.2 Grip, Håvard (September 15, 2021). "Flying on Mars Is Getting Harder and Harder". Mars Helicopter Tech Demo. NASA. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
  17. "NASA's Ingenuity Helicopter to Begin New Demonstration Phase". NASA. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
  18. mars.nasa.gov. "Solar Conjunction | Mars in our Night Sky". NASA’s Mars Exploration Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  19. "NASA's Mars Fleet Lies Low As Sun Moves Between Earth and Red Planet". NASA. 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  20. "The 10 flights of NASA's Ingenuity Mars helicopter in one chart". Business Insider Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  21. "After Six Months On Mars, NASA's Tiny Helicopter Is Still Flying High". NDTV (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  23. Witze, Alexandra (2021). "Lift off! First flight on Mars launches new way to explore worlds". Nature. 592 (7856): 668–669. Bibcode:2021Natur.592..668W. doi:10.1038/d41586-021-00909-z. PMID 33875875. S2CID 233308286. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
  24. "Mars helicopter's first flight could happen on Monday". CNN. Ingenuity could fly four days after the first flight, then three days after the second flight and so on.
  25. Status 294.
  26. mars.nasa.gov. "NASA's Ingenuity Mars Helicopter Logs Second Successful Flight". NASA's Mars Exploration Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
  27. Status 295.
  28. 28.0 28.1 "NASA's Ingenuity Mars Helicopter Flies Faster, Farther on Third Flight". 25 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
  29. Chang, Kenneth (25 April 2021). "'Nothing Short of Amazing': NASA Mars Helicopter Makes Longest Flight Yet - Ingenuity made a 328-foot round-trip journey, helping to demonstrate the capability of the vehicle's navigation system". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 April 2021.
  30. "Aim high, and fly, fly again". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
  31. Wall, Mike (29 April 2021). "Mars helicopter Ingenuity misses takeoff for 4th flight on Red Planet - NASA's team is assessing what happened". Space.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  32. Chang, Kenneth (30 April 2021). "NASA's Mars Helicopter Flies Again and Gets a New Mission - Ahead of a successful fourth flight, the agency announced that Ingenuity would continue to fly beyond its original month-long mission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
  33. 33.0 33.1 33.2 Status 297.
  34. "With Goals Met, NASA to Push Envelope With Ingenuity Mars Helicopter". 29 April 2021.
  35. "NASA's Perseverance Captures Video, Audio of Fourth Ingenuity Flight". NASA. 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  36. May 2021, Mike Wall 08 (8 May 2021). "NASA's Mars helicopter Ingenuity lands at new airfield after 5th flight". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NextStepsMediaBriefing
  38. Chang, Kenneth (7 May 2021). "NASA Mars Helicopter Makes One-Way Flight to New Mission – Ingenuity has flown almost flawlessly through the red planet's thin air and will now assist the science mission of the Perseverance rover". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
  39. May 2021, Mike Wall 27 (27 May 2021). "Mars helicopter Ingenuity experiences anomaly on 6th flight, but lands safely". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
  40. Strickland, Ashley (May 28, 2021). "Mars helicopter survives to tell the tale of stressful flight". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  41. 41.0 41.1 41.2 Status 305.
  42. Kooser, Amanda (May 27, 2021). "NASA Mars Ingenuity helicopter survives 'in-flight anomaly' on sixth flight". Cnet. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
  43. Wall, Mike (9 June 2021). "Mars helicopter Ingenuity aces 7th flight on the Red Planet". Space.com. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.
  44. Status 306.
  45. "Another successful flight". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
  46. 46.0 46.1 46.2 "Flight Log". Mars Helicopter Tech Demo. NASA. สืบค้นเมื่อ September 2, 2021.
  47. "NASA JPL on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  48. Status 313.
  49. @nasajpl (2021-07-05). "MarsHelicopter pushes its Red Planet limits" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  50. Status 314.
  51. 51.0 51.1 51.2 Status 316.
  52. Malik, Tariq (26 July 2021). "NASA's Mars helicopter soars past 1-mile mark in 10th flight over Red Planet". Space.com.
  53. Bendix, Aria (July 24, 2021). "NASA's Mars helicopter nailed its 10th flight — double what engineers had hoped Ingenuity would do". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
  54. 54.0 54.1 Status 318.
  55. "#MarsHelicopter has safely flown to a new location!". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  56. @JPL (August 17, 2021). "A dozen for the books!" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  57. 57.0 57.1 57.2 Status 321.
  58. "#With help from thomas_appere's rectified color images, I now have the rough locations of #MarsHelicopter's shadow in all 8 color images". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.. See also a map from Twitter and another map published at unmannedspaceflight.com.
  59. mars.nasa.gov. "Lucky 13 – Ingenuity to Get Lower for More Detailed Images During Next Flight". mars.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  60. 60.0 60.1 Karras, Jaakko. "2,800 RPM Spin a Success, but Flight 14 Delayed to Post Conjunction". Mars Helicopter Demo. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  61. "rotor spin test at 2,800 rpm. Next up – flight 14". Twitter.
  62. 62.0 62.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HELI_NAV
  63. "Raw Images. Filtering: Mars Helicopter Tech Demo Cameras: Navigation Camera". Mars 2020 Mission Perseverance Rover. NASA. 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-01.
  64. 64.0 64.1 "Raw Images. Filtering: Mars Helicopter Tech Demo Cameras: Navigation Camera". Mars 2020 Mission Perseverance Rover. NASA. 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-01.
  65. "Raw Images. Filtering: Mars Helicopter Tech Demo Cameras: Navigation Camera". Mars 2020 Mission Perseverance Rover. NASA. 2021-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  66. 66.0 66.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Balaram 2018
  67. "Raw Images. Filtering:Mars Helicopter Tech Demo Cameras: Navigation Camera". Mars 2020 Mission Perseverance Rover. NASA. 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  68. "Mars 2020 Jezero Crater Landing Site Controlled Orthomosaics". USGS.
  69. Jet Propulsion Laboratory (26 August 2021). "NASA's Ingenuity Helicopter sees potential Martian "road" ahead". SciTechDaily. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
  70. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HELI_RTE