ผู้ใช้:Thastp/ทดลองเขียน1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์[แก้]

โบราณ[แก้]

อินเดีย[แก้]

พระเจ้าอโศกมหาราชเสนอแนวคิดรัฐสวัสดิการของตนในศตวรรษที่ 3 ก่อน ส.ศ. โดยไม่ได้มองธรรมเป็นเพียงถ้อยคำสูงส่ง แต่พยายามทำให้เป็นนโยบายรัฐ และประกาศในจารึกศิลาว่า "คนทุกคนเป็นลูกของข้าฯ"[1][2] และ "กิจการใดก็ตามที่ข้าฯ ลงมือทำ นั่นก็ย่อมเป็นเพราะเหตุผลที่ว่า ข้าฯ จักได้ปลดเปลื้องหนี้ของข้าฯ ที่มีต่อสัตว์ทั้งหลาย"[3] พระเจ้าอโศกปฏิเสธสงครามและการพิชิตดินแดนด้วยความรุนแรง ห้ามฆ่าสัตว์หลายชนิด ห้ามการบวงสรวงที่ไม่เป็นประโยชน์ การชุมนุมกันโดยสิ้นเปล่า ความไร้ระเบียบ และความเชื่องมงาย[4] มีการส่งคณะผู้แทนเผยแผ่ธรรมไปยังที่ต่าง ๆ เช่นอียิปต์ กรีซ และศรีลังกา และการวางมาตรการสวัสดิการของประชาชน ผ่านการแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งธรรมมหาอำมาตย์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลประชาชนทุกศาสนาอย่างเป็นธรรม และสวัสดิการของนักโทษโดยเฉพาะ[5][6][7]

อย่างไรก็ดี บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระเจ้าอโศกขัดแย้งกัน จารึกของพระเจ้าอโศกกล่าวว่าเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธหลังก่อสงครามแล้ว แต่ศรีลังกาอ้างว่านับถือศาสนาพุทธมาสี่ปีแล้วหลังขึ้นครองราชย์ ก่อนพิชิตกลิงคะ[8] ในสงครามดังกล่าว จารึกศิลาที่ 13 ระบุว่ากองกำลังของพระองค์ฆ่าคนและสัตว์ร่วมแสน และจับเป็นเชลยอีก 150,000 คน[9] แหล่งข้อมูลอื่น โดยเฉพาะตำนานมุขปาฐะของศาสนาพุทธ อ้างว่าเป็นการเปลี่ยนศาสนาจากหน้ามือเป็นหลังมือ แล้วอุทิศชีวิตที่เหลือเพื่อขวนขวายสันติภาพและผลประโยชน์ส่วนรวม[10] ทว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้มักขัดแย้งกันเอง[11] แหล่งข้อมูลที่มีอายุใกล้เคียงกับจารึกโองการ (เช่นอโศกวทาน (Ashokavadana) อายุเก่าที่สุดประมาณ 200 ปีก่อน ส.ศ.) บรรยายว่าพระเจ้าอโศกฆ่าล้างหมู่เลือกศาสนาตลอดรัชสมัย และไม่กล่าวถึงความเพียรกุศลกรรมแบบในตำนานยุคหลัง การตีความอโศกธรรมหลังจากเปลี่ยนศาสนายังเป็นที่โต้เถียง โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับการสั่งฆ่าคนนอกรีตพุทธศาสนาและผู้นับถือศาสนาเชน ซึ่งนักวิชาการศาสนาพุทธบางคนโต้แย้งว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน และหมายถึงอโศกวทานทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับความรุนแรงหลังเปลี่ยนศาสนาแล้ว[12][13]

จีน[แก้]

จักรพรรดิเหวินแห่งราชวงศ์ฮั่น (203 – 157 ปีก่อน ส.ศ.) จัดมาตรการที่คล้ายนโยบายสวัสดิการของสมัยใหม่ ประกอบด้วยบำนาญถ้วนหน้าให้แก่ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไปในรูปของอาหารและเหล้า รวมถึงการสนับสนุนเป็นตัวเงิน เช่นการพักหนี้และภาษีให้แก่ม่าย เด็กกำพร้า และคนชราที่ไม่มีลูกหลานคอยเลี้ยงดู นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจกับการใช้จ่ายภาษีอย่างฟุ่มเฟือย ลดโทษทางอาญาที่โหดร้ายทารุณ และปรับเปลี่ยนระบบราชการให้อิงคุณธรรมยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการสอบคัดเลือกข้าราชการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน[14][15]

โรม[แก้]

สาธารณรัฐโรมันแจกจ่ายและอุดสนุนธัญพืชให้กับประชาชนเป็นครั้งคราวผ่านโครงการนามว่า กูรา อันโนไน (Cura Annonae) แปลว่าความห่วงใยของเทพีอันโนนา โรมเติบโตอย่างรวดเร็วนับแต่สมัยสาธารณรัฐจวบจนจักรวรรดิโรมัน โดยมีประชากรถึงหนึ่งล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และเติบโตจนพื้นที่ชนบทโดยรอบไม่สามารถสนองความต้องการอาหารของเมืองได้[16]

เริ่มมีการแจกจ่ายธัญพืชเป็นประจำในปี 123 ก่อนคริสตกาล จากกฎหมายธัญพืชที่กาอิอุส กรักคุส (Gaius Gracchus) เสนอและสภาสามัญชน (plebeian council) เห็นชอบ จำนวนผู้รับธัญพืชที่แจกหรืออุดหนุนเพิ่มขึ้นสูงถึงประมาณ 320,000 คน[17][18] ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เปลี่ยนเบี้ยยังชีพจากธัญพืชเป็นขนมปังประมาณช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส (ค.ศ. 193–211) ซึ่งยังได้เริ่มจัดหาน้ำมันมะกอกแก่ชาวโรม และต่อมา จักรพรรดิเอาเรลิอานุส (ค.ศ. 270–275) สั่งให้แจกจ่ายไวน์และเนื้อหมูด้วย[19] มีการแจกจ่ายขนมปัง น้ำมันมะกอก ไวน์ และเนื้อหมูอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสิ้นสุดลงใกล้ก่อนการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 476[20] เบี้ยยังชีพประกอบประมาณร้อยละ 15 ถึง 33 ของธัญพืชนำเข้าและบริโภคทั้งหมดในโรมสมัยจักรวรรดิโรมันตอนต้น[21]

นอกจากอาหาร สาธารณรัฐโรมันยังสนับสนุนความบันเทิงปราศจากค่าใช้จ่ายผ่านลูดี (Ludi) หรืองานละเล่นสาธารณะ มีการจัดสรรเงินของรัฐสำหรับจัดงานลูดี แต่ข้าราชการผู้รับผิดชอบมักลงเงินส่วนตัวเพิ่มเพื่อเสริมความสง่างามและเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ผู้สนับสนุนงานจะสามารถเรียกความนิยมจากชาวโรมได้[22]

อาหรับ[แก้]

มีแนวคิดให้รัฐเก็บภาษีเพื่อจัดงบสวัสดิการในโลกอาหรับในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7[23] ซะกาต หนึ่งในห้าหลักการอิสลาม เป็นภาษีบังคับจ่ายร้อยละ 2.5 จากทุกคนที่มีรายได้เกินขีดพื้นฐานเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ที่ต้องการ โดยจ่ายปีละครั้งหลังเดือนเราะมะฎอน อุมัร (ค.ศ. 584–644) ผู้นำรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน สถาปนารัฐสวัสดิการผ่านบัยต์ อัลมัล (Bayt al-mal) (กรมธนารักษ์)[24]

สมัยใหม่[แก้]

อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค สถาปนารัฐสวัสดิการแห่งแรกในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ผ่านกฎหมายสวัสดิการสังคมในจักรวรรดิเยอรมันยุคคริสต์ทศวรรษ 1880[25][26] บิสมาร์คขยายสิทธิพิเศษของชนชั้นยุงเคอร์ (Junker) ให้ครอบคลุมสามัญชนชาวเยอรมัน[25] ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881 บิสมาร์คส่งสาส์นไปยังไรชส์ทาค โดยใช้คำว่า "คริสต์ศาสนาภาคปฏิบัติ" บรรยายโครงการ[27] กฎหมายเยอรมันในยุคนี้ยังรับประกันค่าชดเชยความเสียหายให้กับคนงานจากอุบัติเหตุในที่ทำงาน[28]

ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รัฐบัญญัติโรงงานสมาพันธรัฐ ค.ศ. 1877 จำกัดชั่วโมงทำงานที่ 11 ชั่วโมงโดยถ้วนหน้า กำหนดวันลาคลอดบุตร และมาตรการปกป้องเยาวชน[29] รัฐสวัสดิการในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Public Welfare Policy in Switzerland) เริ่มขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ โครงการเริ่มแรกเช่นทุนช่วยเหลือฉุกเฉิน การขยายโรงเรียนประถมศึกษา และบ้านพักกับสถานศึกษาสำหรับคนชราและเด็กยากจน[30]

ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เคานต์เอดูอาร์ท ทาเฟอ (Eduard Taaffe) จัดทำกฎหมายแรงงานหลังจากบิสมาร์คในเยอรมนีไม่กี่ปี กฎหมายสงเคราะห์ชนชั้นแรงงานในออสเตรียริเริ่มจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม (Christian right) คาทอลิก โดยทาเฟอนำเอาตัวแบบการปฏิรูปทางสังคมแบบสวิสและเยอรมัน อย่างรัฐบัญญัติโรงงาน ค.ศ. 1877 ของสวิตเซอร์แลนด์และประกันสังคมของเยอรมนี ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายการค้า ค.ศ. 1885 (GewO-Novelle 1885)[31]

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ที่ทำให้ผู้คนว่างงานและทุกข์ยากหลายล้านคน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทั่วโลก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนเป็นรัฐสวัสดิการในหลายประเทศ ในสมัยนั้น รัฐสวัสดิการถูกมองว่าเป็น "ทางสายกลาง" ระหว่างสุดโต่งทางซ้ายหรือลัทธิคอมมิวนิสต์กับสุดโต่งทางขวาหรือทุนนิยมแบบปล่อยให้ทำไป[32] หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศในยุโรปตะวันตกบางแห่งเปลี่ยนจากการให้บริการสังคม (social service) บางส่วนหรือแบบเลือกให้ เป็นการครอบคลุมประชากรอย่างเบ็ดเสร็จ "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" (cradle-to-grave) ในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกบางแห่งไม่ได้ทำ เช่นสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ สเปน และฝรั่งเศส[33] นักรัฐศาสตร์ไอลีน แมคดอนา (Eileen McDonagh) กล่าวว่าตัวกำหนดสำคัญว่าจะเกิดรัฐสวัสดิการในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือไม่ คือการมีประวัติศาสตร์ของระบบราชาธิปไตยแบบสายสัมพันธ์ครอบครัว (ลักษณะที่มัคส์ เวเบอร์ เรียกว่าระบบศักดินาราชูปถัมภ์ (patrimonialism)) การเปลี่ยนผ่านชุดความคิดนั้นง่ายกว่าในแห่งที่มองรัฐราชาธิปไตยเสมือนเป็นผู้ดูแลประชากรแบบพ่อแม่ กลายเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่ทำหน้าดูแลประชากรแบบพ่อแม่ในแบบเดียวกัน[34]

รัฐสวัสดิการปัจจุบันยังรวมถึงการให้สวัสดิการเป็นตัวเงิน (อาทิบำนาญชราภาพหรือประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน) และการให้บริการสวัสดิการเป็นสิ่งของ (อาทิบริการสุขภาพและดูแลเด็ก) รัฐสวัสดิการสามารถใช้สวัสดิการเหล่านี้เพื่อส่งผลกระทบต่อการกระจายของสวัสดิภาพและความเป็นอิสระของบุคคลในหมู่ประชากร และเพื่อส่งอิทธิพลต่อวิธีการบริโภคและการใช้เวลาของประชากร[35][36]

บทวิเคราะห์[แก้]

นักประวัติศาสตร์ขบวนการฟาสซิสต์ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 รอเบิร์ต แพกซ์ตัน (Robert Paxton) ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมศาสนาออกกฎหมายรัฐสวัสดิการในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาเพื่อตอบโต้ข้อเรียกร้องจากสหภาพแรงงานและฝ่ายสังคมนิยม (History of socialism)[37] แพกซ์ตันกล่าวว่าระบอบเผด็จการฝ่ายขวาสมัยใหม่ในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทั้งหมด ไม่ว่าฟาสซิสต์หรืออำนาจนิยม เป็นรัฐสวัสดิการทั้งนั้น ทั้งหมดจัดหาบริการทางแพทย์ บำนาญ ที่อยู่อาศัยราคาย่อมเยา และขนส่งมวลชนเป็นปกติวิสัย เพื่อรักษาผลิตภาพ เอกภาพของชาติ และความสงบของสังคม[37] ในเยอรมนี พรรคนาซีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ รักษารัฐสวัสดิการจากรัฐบาลเก่าไว้ แต่ปรับโครงสร้างให้ช่วยเหลือเฉพาะบุคคลเชื้อชาติอารยันที่ถูกพิจารณาว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือ โดยยกเว้นคนติดสุรา คนเร่ร่อน คนรักร่วมเพศ คนค้าประเวณี คน "ขี้เกียจทำงาน" หรือ "ไม่เข้าสังคม" อาชญากรติดเป็นนิสัย คนป่วยทางกรรมพันธุ์ (เป็นประเภทที่ให้นิยามไว้อย่างกว้าง) และคนเชื้อชาติอื่นนอกจากอารยัน[38] แม้ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ พลเมืองชาวเยอรมันกว่า 17 ล้านคนได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสวัสดิการประชาชนชาติสังคมนิยม (National Socialist People's Welfare) ใน ค.ศ. 1939[38]

เมื่อพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมละทิ้งลัทธิมากซ์หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มรับเอารัฐสวัสดิการมาเป็นเป้าหมายทางการเมือง ไม่ว่าเป็นเป้าหมายเฉพาะกาลทุนนิยม หรือเป็นเป้าหมายสุดท้ายในตัวมันเอง[37]

ใน ค.ศ. 2005 นักสังคมวิทยาซีกรุน คาห์ล (Sigrun Kahl) เสนอทฤษฎีว่าสามารถตามรอยที่มาของนโยบายรัฐสวัสดิการของประเทศยุโรปหลายประเทศได้ว่ามาจากแหล่งทางศาสนา This process has its origin in the ระบบ "บรรเทาความยากจน" และบรรทัดฐานทางสังคมที่มีอยู่แล้วในประเทศคริสเตียน The example countries are categorized as follows: Catholic – Spain, Italy and France; Lutheran – Denmark, Sweden and Germany; Reformed Protestant – Netherlands, the UK and the USA. The Catholic countries late adoption of welfare benefits and social assistance, the latter being splintered and meagre, is due to several religious and social factors. Alms giving was an important part of catholic society as the wealthy could resolve their sins through participation in the act. As such, begging was allowed and was subject to a greater degree of acceptance. Poverty was seen as being close to grace and there was no onus for change placed onto the poor. These factors coupled with the power of the church meant that state provided benefits did not arise until late in the 20th century. Additionally, social assistance was not done at a comprehensive level, each group in need had their assistance added incrementally. This accounts for the fragmented nature of social assistance in these countries.[39]

Lutheran states were early to provide welfare and late to provide social assistance but this was done uniformly. Poverty was seen as more of an individual affliction of laziness and immorality. Work was viewed as a calling. As such these societies banned begging and created workhouses to force the able-bodied to work. These uniform state actions paved the way for comprehensive welfare benefits, as those who worked deserved assistance when in need. When social assistance was delivered for those who had never worked, it was in the context of the uniform welfare provision. The concept of Predestination is key for understanding welfare assistance in Reformed Protestant states. Poor people were seen as being punished, therefore begging and state assistance was non existent. As such churches and charities filled the void resulting in early social assistance and late welfare benefits. The USA still has minimal welfare benefits today, because of their religious roots, according to Kahl.[39]

ใน ค.ศ. 2005 นักรัฐศาสตร์เจคอบ แฮกเกอร์ (Jacob Hacker) กล่าวว่างานวิจัยด้านสวัสดิการเห็นพ้องกันโดยทั่วไปว่ายังไม่เกิดการตัดทอนรัฐสวัสดิการลง แต่โครงสร้างนโยบายทางสังคมยังคงมั่นคงอยู่[40]

บรรณานุกรม[แก้]

  • พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), บ.ก. (1975). "ศิลาจารึกพิเศษแห่งกลิงคะ ฉบับที่ ๑". จารึกอโศก (อนุสรณ์งานศพ). ธนบุรี: โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ – โดยทาง หอสมุดรัฐสภาไทย.
  • Cristofori, Alessandro (2002). "Grain Distribution on Late Republican Rome". ใน Jensen, Henrik (บ.ก.). The Welfare State: Past, Present, Future. Clioh's Workshop II. Vol. 4. ปีซา: Edizioni Plus. pp. 141–153. ISBN 9788884920331. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2018.
  • Erdkamp, Paul (2013). "The food supply of the capital". The Cambridge Companion to Ancient Rome. Cambridge University Press. pp. 262–277. doi:10.1017/CCO9781139025973.019. ISBN 978-1-13902597-3.
  • Grandner, Margarete (1996). "Conservative Social Politics in Austria, 1880–1890". Austrian History Yearbook. 27: 77–107. doi:10.1017/S006723780000583X. S2CID 143805293.
  • Kessler, David; Temin, Peter (2007). "The Organization of the Grain Trade in the Early Roman Empire". The Economic History Review. 60 (2): 313–332. doi:10.1111/j.1468-0289.2006.00360.x. JSTOR 4502066. S2CID 154086889.
  1. Shravasti Dhammika, บ.ก. (1993). "The Edicts of King Asoka". กัณฏิ: Buddhist Publication Society. ISBN 9789552401046 – โดยทาง Colorado State University.
  2. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 1975, p. 35, ศิลาจารึกพิเศษแห่งกลิงคะ ฉบับที่ ๑
  3. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 1975, p. 10, จารึกศิลา ฉบับที่ ๖
  4. Thakur, Upendra (1989). Studies in Indian History. Chaukhambha oriental research studies. Chaukhamba Orientalia. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 – โดยทาง The University of Virginia.
  5. Indian History. Tata McGraw-Hill Education. 1960. pp. A–184–85. ISBN 9780071329231.
  6. Kher, N. N.; Aggarwal, Jaideep. A Text Book of Social Sciences. Pitambar Publishing. pp. 45–46. ISBN 9788120914667 – โดยทาง Google Books.
  7. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 1975, p. 8, จารึกศิลา ฉบับที่ ๕
  8. Seneviratna, Anuradha (1994). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 9789552400650.
  9. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 1975, p. 17, จารึกศิลา ฉบับที่ ๑๓
  10. Thapar, Romila (1961). Aśoka and the Decline of the Mauryas. Oxford University Press.
  11. Singh, Upinder (2012). "Governing the State and the Self: Political Philosophy and Practice in the Edicts of Aśoka". South Asian Studies. University of Delhi. 28 (2): 131–145. doi:10.1080/02666030.2012.725581. S2CID 143362618.
  12. Danver, Steven L. (22 ธันวาคม 2010). Popular Controversies in World History: Investigating History's Intriguing Questions [4 volumes]: Investigating History's Intriguing Questions (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 9781598840780.
  13. Le, Huu Phuoc (2010). Buddhist Architecture. Grafikol. ISBN 9780984404308.
  14. Montgomery, Laszlo (26 กรกฎาคม 2014). "The Han Dynasty (Part 2) | The China History Podcast | Ep. 19". ยูทูบ (Podcast). Teacup Media. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1:40.
  15. Thomas, Heather (5 กุมภาพันธ์ 2013). "Emperor Wendi of Western Han Dynasty". LearnChineseHistory.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2023.
  16. Hanson, J. W.; Ortman, S. G.; Lobo, J. (2017). "Urbanism and the division of labour in the Roman Empire". Journal of the Royal Society Interface. 14 (136): 10. doi:10.1098/rsif.2017.0367. PMC 5721147. PMID 29142013.
  17. Erdkamp 2013, pp. 262–264
  18. Cristofori 2002, pp. 146–151
  19. Erdkamp 2013, pp. 266–267
  20. Linn, Jason (2012). "The Roman Grain Supply, 442–455". Journal of Late Antiquity. 5 (2): 298–321. doi:10.1353/jla.2012.0015. S2CID 161127852..
  21. Kessler & Temin 2007, p. 316
  22. Lovatt, Helen (2005). Status and Epic Games: Sport, Politics, and Poetics in the Thebaid. Cambridge University Press. p. 10. ISBN 9780521847421.
  23. Miaschi, John (25 เมษายน 2017). "What Is A Welfare State?". The World Atlas. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2019.
  24. Crone, Patricia (2005). Medieval Islamic Political Thought. Edinburgh University Press. pp. 308–309. ISBN 0-7486-2194-6. JSTOR 10.3366/j.ctt1r1z0k.
  25. 25.0 25.1 Kersbergen, Kees van; Vis, Barbara (2013). Comparative Welfare State Politics: Development, Opportunities, and Reform. Cambridge UP. p. 38. ISBN 978-1-10765247-7.
  26. Wimmer, Andreas (13 กุมภาพันธ์ 2019). "Why Nationalism Works". Foreign Affairs: America and the World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2020.
  27. Busch, Moritz (1898). Bismarck: Some secret pages from his history. Vol. II. New York: Macmillan. p. 282.
  28. Grandner 1996, p. 9
  29. Grandner 1996, p. 1
  30. "Armenpflege zwischen Unterstützung und Disziplinierung". Geschichte der Sozialen Sicherheit-Synthese (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2017.
  31. Grandner 1996, pp. 3–9
  32. O'Hara, Phillip Anthony, บ.ก. (1999). "Welfare state". Encyclopedia of Political Economy. Routledge. p. 1245. ISBN 978-0-415-24187-8.
  33. Esping-Andersen 1990, p. 108.
  34. McDonagh, Eileen (ธันวาคม 2015). "Ripples from the First Wave: The Monarchical Origins of the Welfare State". Perspectives on Politics. 13 (4): 992–1016. doi:10.1017/S1537592715002273. S2CID 146441936.
  35. Esping-Andersen, Gøsta (1999). Social Foundations of Postindustrial Economies. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0198742005.
  36. Rice, James Mahmud; Robert E. Goodin; Antti Parpo (September–December 2006). "The Temporal Welfare State: A Crossnational Comparison" (PDF). Journal of Public Policy. 26 (3): 195–228. doi:10.1017/S0143814X06000523. hdl:10419/31604. ISSN 0143-814X. S2CID 38187155. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2007.
  37. 37.0 37.1 37.2 Paxton, Robert O. (25 เมษายน 2013). "Vichy Lives! – In a way". The New York Review of Books. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2020.
  38. 38.0 38.1 Evans, Richard J. (2005). The Third Reich in Power, 1933–1939. New York: The Penguin Press. p. 489. ISBN 9781594200748.
  39. 39.0 39.1 Kahl, Sigrun (2005). "The religious roots of modern poverty policy: Catholic, Lutheran and Reformed Protestant traditions compared". European Journal of Sociology. Cambridge University Press. 46 (1, Religion and Society): 91–126. JSTOR 23998794.
  40. Hacker, Jacob S. (2005). "Policy Drift: The Hidden Politics of US Welfare State Retrenchment". ใน Streeck, Wolfgang; Thelen, Kathleen (บ.ก.). Beyond Continuity: Institutional Change in Advanced Political Economies. Oxford University Press. ISBN 9780199280452.