ผู้ใช้:Thanakrit Nantasan

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สื่อลามกอนาจาร

“สื่อลามกอนาจาร” หมายถึง เมื่อพิจารณาตามตัวบทกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกา หมายถึง สิ่งที่ผู้พบเห็นแล้วมีความรู้สึกน่าอุจาดบัดสี น่าอับอาย เป็นสื่อที่แสดงออกในรูปของภาพเปลือยมนุษย์ ภาพอวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย หรือภาพการร่วมเพศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความใคร่ทางกามารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม หากมีลักษณะและจุดประสงค์ดังกล่าว ล้วนเป็นสื่อลามกทั้งสิ้น


   สื่อลามกต้องห้าม
           สื่อลามกเข้าข่ายร้ายแรงต้องห้ามที่สังคมไม่อาจยอมรับให้มีการเผยแพร่ เพราะก่อให้เกิดภัยต่อสังคมได้ คือ (ธนะชัย ผดุงธิติ , สื่อลามกกับผู้กระทำความผิดทางเพศ , 2545) มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ปรากฏอยู่ในลักษณะถูกละเมิดทางเพศแสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เช่น พ่อกับลูกสาว เพราะเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเชิงจิตวิทยาเรื่องบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว หากเด็กๆ ได้เรียนรู้ย่อมต้องเกิดความสับสนและมีทัศนคติเรื่องเพศที่เบี่ยงเบน แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบวิตถาร เป็นรูปแบบที่เกินมาตรฐานของการมีชีวิตทางเพศแบบปกติ เช่น สวิงกิ้ง การร่วมเพศกับสัตว์ เว็บไซต์ที่ใช้ชุดชั้นในเป็นสิ่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เพราะมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการ เกินความจริง เด็กๆ ยังไม่มีวิจารณญาณและอ่อนด้อยประสบการณ์ทางเพศ อาจมีพฤติกรรมเลียนแบบ ได้มาจากการละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น รูปภาพที่ได้มาจากการแอบถ่าย การแอบดู เป็นการสร้างให้เด็กเกิดความเคยชินต่อการล่วงละเมิดสิทธิผู้อื่น และอาจกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้นอีก เป็นวัตถุอุปกรณ์ทางเพศที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตแบบปกติ สินค้าในร้านเซ็กซ์ชอปบางชนิดจำเป็นต้องใช้อย่างรู้เท่าทัน เช่น สารชะลอการหลั่ง ใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการหลั่งเร็วผิดปกติ ประเด็นคือสำหรับคนปกติไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีการหลั่งนาน แต่เด็กอาจเข้าใจผิดว่าการหลั่งนานเป็นเรื่องดี สื่อชนิดนี้สามารถเผยแพร่ได้แต่ต้องจำกัดไม่ให้เด็กเข้าถึง เด็กๆ เสพ “ สื่อลามกอนาจาร” ได้จากที่ไหน อย่างไร
   ประเภทสื่อลามก

สื่อลามกอนาจารที่ฉวยประโยชน์จากเด็ก (รวมทั้งวัยรุ่น) มีจุดประสงค์เพื่อเร้าอารมณ์ทางเพศซึ่งอาจจะผลิตโดยทำร้ายเด็กทางเพศ (เช่น ภาพทารุณเด็กทางเพศ) หรืออาจจะเป็นสื่อแบบเทียมคือเป็นสื่อแต่ง ใช้ผู้ใหญ่ที่แต่งให้เหมือนเด็ก หรือเป็นภาพสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ล้วน ๆ โดยบางทีแม้ภาพวาดหรือแอนิเมชัน ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อเทียมได้เหมือนกันทารุณกรรมต่อเด็กเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับเด็ก หรือให้เด็กแสดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณหัวหน่าวเพื่อเร้าอารมณ์ แล้วบันทึกลงในสื่อสื่อที่ใช้อาจมีหลายแบบรวมทั้งวรรณกรรมนิตยสาร ภาพถ่าย ประติมากรรม จิตรกรรมการ์ตูน แอนิเมชัน บันทึกเสียง วิดีโอและวิดีโอเกม หนังสือการ์ตูน

            หนังสือการ์ตูนเป็นของคู่กับเด็กมาแต่ไหนแต่ไร แต่การ์ตูนเดี๋ยวนี้กลับมีเนื้อหาเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กๆ มีภาพโป๊เปลือยและการร่วมเพศ ซ้ำร้ายกว่านั้นคือมีความลามกอนาจารรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เซ็กซ์วิตถาร (คนกับสัตว์) เด็กข่มขืนเด็ก เด็กข่มขืนครู ฯลฯ ราคาไม่แพง เล่มละ 35 บาท ยิ่งถ้าเป็นหนังสือมือสองก็จะถูกลงไปอีก เด็กๆหาซื้อได้ง่าย จากรายการ “ถอดรหัส” ตอน “โป๊มั้ยน้อง” ออกอากาศวันที่ 7 ม.ค. 2548 สำรวจพบร้านขายการ์ตูนลามกหน้าโรงเรียนดังๆ ในกรุงเทพหลายแห่ง เมื่อถึงเวลาเลิกเรียนจะมีนักเรียนเข้ามาเลือกซื้ออย่างขวักไขว่ โดยมีเจ้าของร้านคอยแนะนำสินค้าตลอดเวลา นอกจากนี้ตามแผงหนังสือทั่วไปก็จะมีการ์ตูนลามกปะปนอยู่ การ์ตูนลามกจะมีหน้าปกเหมือนการ์ตูนธรรมดาจนพ่อแม่ไม่สังเกต แต่คนที่อ่านหนังสือพวกนี้จะดูออก
   วีซีดีโป๊
            แผ่นวีซีดีโป๊มีราคาถูก ( 20-30 บาท) และวางขายแพร่หลาย ในห้าง แผงลอย ตลาดนัด ป้ายรถเมล์ สามารถอัดกอปปี้แจกจ่ายให้กันได้ เพียงแค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ไรท์ซีดี กล้องถ่ายภาพวีดีโอมีใช้กันแพร่หลาย และเป็นที่มาของวีซีดีโป๊ที่อาจตั้งใจถ่ายหรือถูกแอบถ่ายก็ตาม เช่น เหตุการณ์วีซีดีไฮโซอื้อฉาวเมื่อไม่นานมานี้ หนังแผ่นมีต้นทุนการผลิตต่ำ กำไรงาม ทำให้ธุรกิจผลิตหนังแผ่นที่เน้นเรื่องกามารมณ์วาบหวิวหรือขายเรือนร่างเติบโตมาก ภาครัฐควบคุมไม่ทั่วถึง และในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงมาตรการควบคุม อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งเสพสื่อลามกที่สะดวกมากที่สุด พ่อแม่มักปล่อยให้เด็กใช้เวลากับการอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ติดตามดูว่าเด็กทำอะไร และมีหลายบ้านที่มักจะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนส่วนตัว

กฎหมาย สื่อลามก นั้น เป็นสื่อที่กฎหมายมีบทบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๗ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใด

      (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการจ่ายแจกหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชนทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไป หรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่อง หมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก
      (๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น
       (๓) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด”
       ปัญหาชั้นต้นที่ถกเถียงกันมานานนับเกือบศตวรรษ ก็คือ อะไรคือเกณฑ์ชี้วัดความเป็นลามกของสื่อ หรือพูดกันง่ายๆว่า อะไรคือสื่อที่ลามก ???
        ในการให้นิยามคำว่าสื่อลามกนั้นสามารถแยกพิจารณาได้ใน ๒ ลักษณะกล่าวคือ
        ลักษณะที่ ๑        หากพิจารณาตามถ้อยคำตัวอักษร ตามนัยของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ สื่อลามก จะหมายถึง สื่อที่หยาบช้า เลวทราม สกปรก อันเป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม
        ลักษณะที่ ๒          พิจารณาตามตัวบทกฎหมาย และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาคำว่า “ลามก”นี้ เป็นคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๗ และพระราชบัญญัติปรามการทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก พุทธศักราช ๒๔๗๑
        โดยสรุปแล้ว คำว่า“สื่อลามก” หมายถึงสื่อที่ทำให้ผู้พบเห็นมีความรู้สึกซึ่งน่าอุจาดบัดสี น่าอับอาย ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงออกในรูปของภาพเปลือยมนุษย์ ภาพอวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย หรือภาพการร่วมเพศของมนุษย์ “โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความใคร่ทางกามารมณ์” ไม่ว่าจะแสดงออกในรูปของภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณาเครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม
        โดยผลของถ้อยคำที่ปรากฎในคำพิพากษาของศาลฎีกาในหลายฉบับ ทำให้หลายคนนำเอาถ้อยคำในคำตัดสินนั้นมายึดถือเป็น “นิยาม” ของสื่อลามก เช่น ภาพหญิงยืนเปลือยกายกอดชาย ภาพหญิงสวมแต่กางเกงในโปร่งตา   มีผู้ชายนอนกอดมือโอบบริเวณทรวงอก หรือ ภาพหญิงเปลือยกายท่อนบน  ใช้มือกดหูโทรศัพท์กดที่อวัยวะเพศ เป็นต้น
              
                              ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คดีที่ขึ้นสู่ศาล คือการนำเอาข้อเท็จจริงในแต่ละรายนั้นมาพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งมีปัจจัยหรือเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ เวลา ยุคสมัย สถานที่ ดังนั้น การนำคำพิพากษามาใช้เป็นบรรทัดฐาน เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ละทิ้งเจตนารมย์ของกฎหมายประกอบด้วย
              
                           กฎหมายอาญามาตรา ๒๘๗ ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยมีเจตนารมย์ทั้งในเรื่องของความดีงามของสังคม รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาของสื่อลามกที่ในทางกฎหมาย ก็คือ “การยั่วยุทางกามารมณ์” ซึ่งหมายถึง สื่อที่มีผลเป็นการเหนี่ยวนำให้ผู้บริโภคไปแสดงออกเรื่องเพศ หรือไปกระทำกิจกรรมทางเพศต่อบุคคลอื่นอันนำมาซึ่งปัญหาสังคมอีกหลายประการทั้งปัญหาการข่มขืน การท้องก่อนวัยอันควร เป็นต้น รวมไปถึง ปัญหาทางจิตวิทยา พฤติกรรม และ วัฒนธรรม เช่น ภาพนักศึกษาในชุดรัดรูปที่ถ่ายให้เห็นช่องหน้าอกที่มองรอดไปจากกระดุมเสื้อ


อ้างอิง 1. ธนะชัย ผดุงธิติ, สื่อลามกกับผู้กระทำความผิดทางเพศ, 2545; เข้าได้จาก; https://sites.google.com/site/simplelifese/social-problems/dirty-media 2. ประเภทสื่อลามก; เข้าได้จาก; http://www.hiso.or.th/hiso/health_news/health_story4_2.php 3. กฏหมาย; เข้าได้จาก; https://www.gotoknow.org/posts/101055