ผู้ใช้:Suttida suttii/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                                     'การบริหารภาครัฐสมัยรัชกาลที่ 5'

ประวัติรัชกาลที่ 5[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 เมื่อพระชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา ทรงอยู่ในราชสมบัติ 42 ปีเศษ และสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453

การปฎิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5[แก้]

การปฎิรูปประเทศ ในช่วงสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยและประเทศในเอเชียต้องเผชิญกับภัยคุกคามของชาติตะวันตก ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเอเชียได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า จึงทรงดำเนินการปฎิรูปแบบพลิกแผ่นดิน เป็นการปฎิรูปแบบบูรณาการ ซึ่งสามารถเรียนเป็นภาษาอังกฤษ คือ การ Re - engineering[1] เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่รากฐาน ปรัชญา ความเชื่อในทุกๆด้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง และทันสมัยตามแบบตะวันตก และเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ถูกริดรอนอำนาจอธิปไตย นอกจากนี้ยังทรงได้ดำเนินนโยบายการทูต และเสด็จประภาสต่างประเทศ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชาติเป็นสำคัญ การปฎิรูปการปกครอง การปฎิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มขึ้นครั้งแรก โดยทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์[2] การปฎิบัติงานของสองสภานี้ ส่งผลดีต่อบ้านเมืองหลายประการ เช่น การตั้งโรงเรียนสอนหนังสือเด็ก การกำหนดค่าตัวทาสเพื่อนำไปสู่การเลิกทาส แต่ทว่าการปฎิรูปนี้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความหวาดระแวงระหว่างกลุ่มขุ่นนางรุ่นเก่า และขุนนางรุ่นใหม่ จนเกิดวิกฤตการณ์ที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ.2417[3]" ทำให้การปฎิรูปในครั้งนั้นต้องชะงักลง ใน พ.ศ. พ.ศ.2431 ทรงได้เริ่มปฎิรูปอีกครั้ง โดยเริ่มทดลองการปกครองแบบใหม่ มีการจัดตั้งกรมขึ้นมา 12 กรม และดำเนินเป็นการถาวร ใน พ.ศ.2435 ทรงจัดตั้งการปกครองบริหารราชการแผ่นดิน โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ซึ่งมีที่มาจาก 12 กรม ต่อมาได้ปรับปรุงเหลือ 10 กระทรวง และจัดตั้งการปกครองในรูปมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงที่มาจากต่างท้องที่กันไปปกครอง เป็นการรวมอำนาจที่ศูนย์กลาง ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ทรงส่งพระโอรสและพระอนุชาไปศึกษาต่างประเทศ โดยจบจากมาจากประเทศอังกฤษซึ่งเป็นชาติยุโรป ทรงได้แต่งตังพระโอรสและพระอนุชา ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ เช่น เสนาบดี สมุหเทศาภิบาล และทรงจ้างชาวต่างชาติผู้มีความรู้ มาเป็นที่ปรึกษาและทำงานในหลายด้าน ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นใหม่ ประกอบด้วย เสนาบดีสภา เป็นสภาของผู้บริหาร ประกอบด้วยเสนาบดีทั้ง 12 กระทรวง องคมนตรีเป็นสภาที่ปรึกษษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐมนตรีสภาเป็นสภาตรวจตรา ปรับปรุงแก้ไขกฏหมาย นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งระเบียบในการปกครองท้องที่ เป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง ให้ประชาชนท้องถิ่นเป็นผู้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านเลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอเลือกและแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการเมือง การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถือเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยพระองค์ได้ทรงตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้น ถือเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2448 และต่อมาทรงได้ตั้งสุขาภิบาลตำบล 1 แห่ง สุขาภิบาลอีก 5 แห่ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการสุขาภิบาลนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของเทศบาลในปัจจุบัน[4]

การบริหารระบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ในส่วนต่างๆ[แก้]

การบริหารส่วนกลาง[แก้]

พระองค์ได้ทรงกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละสายการบังคับบัญชาให้มีความชัดเจน เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โดยแต่เดิมราชการฝ่ายทหารจะมีสมุหกลาโหม สมุหนายกและระบบจตุสดมภ์ พระองค์ทรงได้ยกเลิก[5] และปรับปรุง ดังนี้

  1. ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภา[6] คือ
  • สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ( Council of state ) วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 มีหน้าที่ถวายคำปรึกษา
  • สภาที่ปรึกษาในพระองค์ ( Privy council ) วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2417 เป็นที่ปรึกษาราชการในพระองค์ และเป็นคณะกรรมการดำเนินการต่างๆ
  1. ปฏิรูปองค์การบริหาร โดยทรงแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม[7] [[1]] กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตร-พาณิชการ กระทรวงพระคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงกรรมการ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมุรธาธิการ[8]
  2. ช่วงตอนปลายรัชกาล ทรงปรับปรุงและลดลงเหลือ 10 กระทรวง[9] โดยตัดกระทรวงมุรธาธรและกระทรวงยุทธนาธิการออก พระองค์ได้ทรงกำหนดให้แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และอิสระต่างกันออกไป โดยกำหนดเสนาบดีเป็นผู้บริหารในกระทรวงต่่างๆ[10]

การบริหารส่วนภูมิภาค[แก้]

พ.ศ.2435 ได้ทำการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางครั้งใหญ่ และขยายการปฏิรูปไปสู่ส่วนภูมิภาคต่างๆ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการปกครองระบบหัวเมือง เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศ เพื่อเกิดความเป็นเอกภาพทางการบริหารราชการ โดยทรงแก้ไขความด้อยประสิทธิภาพของระบบหัวเมือง โดยทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้มีการปกครองแบบมณฑลแทนระบบหัวเมือง ซึ่งได้ทรงแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยในแต่มณฑลประกอบไปด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป ปกครองโดยสมุหเทศาภิบาล ส่วนเมือง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า จังหวัด ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอรวมกันโดยมีผู้ว่าราชการเมืองซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเช่นเดียวกับสมุหเทศาภิบาล ในทำนองเดียวกันนั้นอำเภอแต่ละอำเภอประกอบด้วยหลายหมู่บ้านมารวมกัน โดยจะต้องมีครัวเรือนไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน และมีประชากรไม่น้อยกว่า 100 คน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครอง[11] ในการปฏิรูปครั้งนั้นส่งผลทำให้มีการยกเลิก “ ระบบกินเมือง “ โดยให้มีระบบเงินเดือนและรับงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง ได้ใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ.116 ตราใช้ในปี พ.ศ.2440 เพื่อเป็นแนวทางนารบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีการนำระบบกระทรวงมาใช้แทน ระบบนี้ได้มีการนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน แบ่งหน่วยราชการตามแบบสากล และยังมีการปรับปรุงตัวข้าราชการ โดยส่งนักเรียนไทย ที่เปนทั้งราชวงศ์และคนธรรมดาไปศึกษาในต่างประเทศยุโรปในด้านต่างๆ เพื่อกลับมาดำรงตำแหน่งต่างๆ ในระบบราชการที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ทรงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับข้าราชการพลเรือน การพัฒนาระบบราชการสมัยนี้เป็นการรับแนวคิดมากจากชาติตะวันตก[12] โดยระบบราชการนี้ได้มีการขยายไปทั่วภูมิภาค เป็นผลให้ระบบราชการมีอิทธิพลและบทบาทในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการคัดเลือกข้าราชการ โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้ความสามารถ คู่กับคุณธรรม ซึ่งเป็นมีอิทธิพลเป็นผู้คัดเลือกข้าราชการเอง ดังนั้นนายอำเภอจึงถูกเปลี่ยนฐานะจากผู้ปกครองเมืองมาเป็นข้อราชการพลเรือน โดยมีการปลูกฝังผ่านกระบวนการการอบรมในโรเรียนฝึกหัดข้าราชการในสงกัดของกระทรวงมหาดไทย การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจึงรักษาไว้ซึ่งระบบการบริหารราชการโยรวมศูนย์อำนาจมาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย[13]

การบริหารส่วนท้องถิ่น[แก้]

ระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2440 ได้ริเริ่มให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปของสุขาภิบาล ทางการบริหารได้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพขึ้น แต่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่น เพราะมีกรมสุขาภิบาลที่เป็นหน่วยงานราชการเป็นผู้ดูแลทั้งหมด ในปี พ.ศ.2448 ได้มีการจัดการสุขาภิบาลหัวเมือง โดยทดลองให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลท้องถิ่นขึ้นแห่งแรก คือสุขาภิบาลท่าฉลอม ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองท้องถิ่นของตนเอง ปรากฏว่าได้ผลดีในการบริหาร และยังทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ระหว่างประชาชนและข้าราชการในท้องถิ่น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดการสุขาภิบาล พ.ศ.2451 โดยแบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล[14] โดยสุขาภิบาลจะตั้งขึ้นได้นั้นจะดูจากพื้นที่หรือจำนวนประชากรในท้องที่ตามความเหมาะสม[15] จากการจัดตั้งุขาภิบาลตามหัวเมืองขึ้นนั้นทำให้ ระบบราชการไทยมีการพัฒนา ทั้งระบบด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจและการคลัง ด้านสังคม และด้านกฎหมาย ซึ่งการบริหารระบบนี้เป็นการบริหารที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเพียงส่วนเดียว แต่มีการกระจายอำนาจตามภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นต่างๆอยู่ รัฐบาลต้องกำหนดหลักการการทำงาน จึงต้องมีการกำหนดโครสร้างของหน่วยราชการ โดยจะเน้นการออกแบบสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น แบ่งงานและจัดส่วนงาน มีการกำหนดระเบียบในการบริหารเพื่อควบคุมราชการอย่างเคร่งครัด แต่จากการจัดตั้งสุาภิบาลที่ได้ถูกใช้มาเรื่อยๆ ก็มีการเกิดปัญหาภายในขึ้น คือด้านรายได้ ด้านความร่วมมือขอประชาชน และด้านคณะกรรมการ ทั้งยังไม่มีการพัฒนานโยบายของสุขาภิบาล รวมทั้งทางรัฐบาลไม่มีการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงใดๆ เมื่อกฎหมายสุขาภิบาลถูกบังคับใช้มาเรื่อยๆ ก็ได้เกินการเปลี่ยนแปลงระบบการ[16]ปฏิวัติสยามในปี พ.ศ.2475

สรุป[แก้]

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในช่วงรัชสมัย รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญการบริหารทางภาครัฐ การปฏิรูประบบบราชการ ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศไทยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้รัฐสามารถรวมอำนาจและควบคุมการปกครองหัวเมืองตามภูมิภาคเข้าไว้ในศูนย์กลาง อย่างเป็นระเบียบและมีความมั่นคง ทำให้ประเทศมีเอกราชและเจริญรุ่งเรืองมาถึงวันนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย : หลายมิติ , หน้า 34.
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์, การเมืองการปกครองไทย : หลายมิติ , หน้า 35.
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์, การเมืองการปกครองไทย : หลายมิติ , หน้า 42.
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์, การเมืองการปกครองไทย : หลายมิติ , หน้า 43.
  5. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 10.
  6. ประมวลพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของมหาดไทย เล่มที่ 1 , (2513), หน้า 21.
  7. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 10.
  8. ประมวลพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของมหาดไทย เล่มที่ 1 ,(2513), หน้า 20.
  9. ประมวลพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของมหาดไทย เล่มที่ 1 , (2513), หน้า 21.
  10. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 10.
  11. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 11.
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัลลิกา มัสอูดีและคณะ,ไทยกับการปรับประเทศให้ทันสมัย,หน้า 134.
  13. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 11.
  14. ประมวลพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของมหาดไทย เล่มที่ 1 , (2513), หน้า 21.
  15. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, พัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต,หน้า 12.
  16. วรเดช จันทรศร, การปรับปรุงและปฏิรูป,หน้า 81,82 .