ผู้ใช้:Somsak Ung/ภาษาไทยสุโขทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาไทยสุโขทัย หรือ ภาษาไทยภาคกลางตอนบน เป็นสำเนียงโบราณสมัยกรุงสุโขทัย ปัจจุบันพบได้ในจังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือตอนล่าง สำเนียงสุโขทัยส่งอิทธิพลต่อสำเนียงในจังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่เดิมคือเมืองในอาณาจักรสุโขทัย สำเนียงในภาคเหนือตอนล่างถูกแยกเป็นสาขาย่อยของสำเนียงสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง มีการพูดเหน่อคล้ายสำเนียงในภาคตะวันตก แต่การผันวรรณยุกต์และการใช้ศัพท์ต่างท้องถิ่นกันมาก

ลักษณะทางสัทศาสตร์[แก้]

การออกเสียงสำเนียงนี้จะค่อนข้างคล้ายภาษาถิ่นเหนือมีคำเมืองปนอยู่มาก มีหกวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาถิ่นเหนือ นิยมออกเสียงไม้เอกเป็นจัตวาสูง[35] แต่การออกอักขระเสียงเหมือนกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่างและเสียงจะห้วนกว่าสำเนียงอยุธยาและกรุงเทพ, "ร" และ "ล" จะเข้มงวดน้อยกว่าสำเนียงอยุธยา แต่ไม่ถูกละทิ้งบ่อยๆ แบบสำเนียงกรุงเทพ, ออกเสียงพยัญชนะตัว "ข" กับ "ฃ", "ค" กับ "ฅ", "ฉ" กับ "ช", "ญ" กับ "ย", "ถ" กับ "ท", "ผ" กับ "พ" และ "ฝ" กับ "ฟ" แยกออกจากกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้อย่างเช่น พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ, บุญธรรม ฮวดกระโทก, มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ กรภพ จันทร์เจริญ เป็นต้น

ต้นกำเนิด[แก้]

ในอดีตอาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรอิสระ ก่อนที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรอยุธยาจะผนวกดินแดนรวมกับอาณาจักรสุโขทัย

  • ยุคของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายราชธานีจากอยุธยาขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลกนานกว่า 20 ปี เนื่องจากอาณาจักรล้านนาแผ่อิทธิพลลงมาทางใต้ และพระเจ้าติโลกราชตีเมืองศรีสัชนาลัยได้ และพระองค์ทรงทำสงครามกับล้านนาหลายครั้ง มีข้อสันนิษฐานว่าภาษาอยุธยาได้ขึ้นไปผสมกับสำเนียงสุโขทัยในยุคนั้น ประกอบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นลูกครึ่งระหว่างราชวงศ์พระร่วงกับราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระราชบิดาคือเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระราชมารดาคือพระธิดาของพระยาไสลือไท จากราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย ทั้ง 2 ทรงอภิเสกสมรสกันเนื่องจากอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นรัฐบรรณาการในอาณาจักรอยุธยา และเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี พระบรมไตรโลกนาถทรงถือโอกาศใช้เลือด 2 สายรวมทั้ง 2 อาณาจักรเข้าด้วยกัน และทรงย้ายไปอยู่พระราชวังจันทน์ที่เมืองพิษณุโลกสองแควกับราชนิกูลฝ่ายแม่
  • รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลกเพื่อปราบกบฏท้าวศรีสุดาจันทน์ พระศรีสุริโยไทจึงยกพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชธิดาองค์โตให้ไปปกครองหัวเมืองเหนือกับพระมหาธรรมราชาร่วมกันที่เมืองพิษณุโลก พร้อมข้าราชบริพารติดตามขึ้นไปจำนวนหนึ่ง พระวิสุทธกษัตรีทรงสร้างวัดนางพญา ซึ่งคำว่า"นางพญา" หมายถึงพระราชินี หรือเจ้าหญิง ผู้คนพิษณุโลกทรงเรียกพระองค์ว่า"นางพญา" สันนิษฐานว่าคือคำในสำเนียงสุโขทัยและล้านนา
  • เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่1 ราชวงศ์สุพรรณภูมิล่มสลาย พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งพระมหาธรรมราชาจากราชวงศ์พระร่วงสุโขทัยลงมาปกครองกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้วัฒนธรรมทางเหนือลงมาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น ภาษาไทยที่พัฒนามาจากพ่อขุนรามคำแหง, คติความเชื่อการสร้างวัดในเขตพระราชวัง และสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัย ฯลฯ
  • ในยุคพระนเรศวรมหาราช ทรงเทหัวเมืองเหนือหรือผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยลงมาอยู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรับศึกพระเจ้านันทบุเรง จึงทำให้คนในเมืองเหนือและเมืองใต้ผสมกันทางวัฒนธรรม ในอดีตคนเมืองเหนือและคนเมืองใต้ไม่ลงรอยกัน จึงทำให้ยุคสมเด็จพระนเรศรมีผู้คนลงมาผสมกันจำนวนมาก และราชวงศ์พระร่วงได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาไปอีกหลายรัชกาล จึงมีส่วนทำให้สำเนียงอยุธยาได้อิทธิพลจากสำเนียงสุโขทัยนานหลายปี และพระนเรศวรเองทรงเป็นลูกครึ่งทั้งแคว้น คือพ่อเชื้อสายสุโขทัย แม่เป็นเจ้าหญิงอยุธยา

ในปัจจุบันสำเนียงสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. สำเนียงสุโขทัยเก่า
  2. สำเนียงสุโขทัยใหม่

โดยสำเนียงสุโขทัยเก่ายังคงรักษาอัตลักษณ์เดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง พบในอำเภอที่อยู่ห่างออกไปจากอำเภอเมือง และผู้พูดมักเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่สำเนียงสุโขทัยใหม่คือสำเนียงที่พัฒนาขึ้นมาจากเดิม มักมีสำเนียงและศัพท์จากกรุงเทพผสม มีการจำกัดขอบเขตในส่วนที่มีทางรถไฟเข้าถึงให้เป็นสำเนียงสุโขทัยใหม่ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการพัฒนาเข้าถึงและรับวัฒนธรรมจากเมืองหลวงกรุงเทพจนเกิดการเปลี่ยนแปลง สำเนียงสุโขทัยยังเป็นที่รู้จักกันน้อยและยังไม่มีพจนานุกรมภาษาถิ่น

อ้างอิง[แก้]