ผู้ใช้:Slentee/ทดลองเขียน/ผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต้นฉบับ : https://en.wikipedia.org/wiki/Effects_of_tropical_cyclones


แผนภูมิรูปวงกลมแสดงอุบัติเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนในอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513–2542

ผลกระทบหลักของพายุหมุนเขตร้อนประกอบด้วย ฝนตกหนัก ลมแรง น้ำขึ้นจากพายุขนาดใหญ่บริเวณใกล้การพัดขึ้นฝั่ง และ ทอร์นาโด การทำลายล้างจากพายุหมุนเขตร้อนจะแตกต่างกันไปโดยหลัก ๆ แล้วด้วยความรุนแรง ขนาด และตำหน่งของพายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนเป็นตัวทำลายชั้นเรือนยอดของป่าไม้ รวมไปถึงเป็นตัวเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลด้วย โดยการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนรูปร่างของเนินทรายและก่อให้เกิดการการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเล แม้ในขณะอยู่บนแผ่นดิน ฝนที่ตกหนักอาจทำให้เกิดดินและโคลนถล่มในบริเวณภูเขาได้ ผลกระทบเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ตลอดเวลา ผ่านการศึกษาความเข้มข้นไอโซโทปของออกซิเจน-18 ที่อยู่ภายในถ้ำในจุดใกล้เคียงกับเส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อน หลังจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านไปแล้ว แต่ความเสียหายจะยังคงดำเนินต่อไป ต้นไม้ที่หักโค่นสามารถปิดขวางถนนและทำให้การกู้ภัย การขนส่งเวชภัณฑ์ล่าช้า หรือทำให้การซ่อมบำรุงสายส่งไฟฟ้า เสาสัญญาณโทรศัพท์ หรือท่อประปาเกิดมีอุปสรรค ซึ่งอาจทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงได้เป็นเวลาหลายวันถึงหลายเดือน แหล่งน้ำนิ่งที่ขังอยู่สามารถเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและการสื่อสารอาจถูกทำลายลง ซึ่งจะขัดขวางการทำความสะอาดและการกู้ภัยได้ ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตเกือบสองล้านคนจากพายุหมุนเขตร้อน ขณะเดียวกัน พายุหมุนเขตร้อนก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยพายุหมุนเขตร้อนสามารถนำฝนไปยังพื้นที่แห้งแล้ง และเคลื่อนย้ายความร้อนจากเขตร้อนไปทางขั้วโลกได้

ภาวะภัย PST ย่อมาจาก Primary (ปฐมภูมิ), Secondary (ทุติยภูมิ) และ Tertiary (ตติยภูมิ) ตามลำดับ ภาวะภัยปฐมภูมิประกอบด้วยแรงลมระดับทำลายล้าง ซากปรักหักพัง และน้ำขึ้นจากพายุ ภาวะภัยทุติยภูมิประกอบด้วยอุทกภัยและอัคคีภัย ส่วนภาวะภัยตติยภูมิประกอบด้วยราคาอาหารและสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงภาวะภัยระยะยาว เช่น โรคทางน้ำ เป็นต้น

ในทะเล[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนที่เจริญเติมที่แล้วสามารถปล่อยความร้อนออกมาในอัตราที่มากถึง 6x1014 วัตต์[1] พายุหมุนเขตร้อนในทะเลเปิดสามารถสร้างคลื่นขนาดใหญ่ ฝนตกหนัก และ ลมแรง ซึ่งอาจไปขัดขวางเส้นทางเดินเรือสากล และอาจทำให้เกิดการอับปางของเรือได้[2]

การล่าอาณานิคมในอเมริกาเหนือ[แก้]

การเดินเรือ[แก้]

เมื่อพัดขึ้นฝั่ง[แก้]

ลมแรง[แก้]

น้ำขึ้นจากพายุ[แก้]

ฝนตกหนัก[แก้]

ทอร์นาโด[แก้]

ผู้เสียชีวิต[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

(หาข้อมูล ผสชว จากพายุหมุนเขตร้อนที่พัดเข้าประเทศไทย)

สหรัฐ[แก้]

การบูรณะและฟื้นฟูประชากร[แก้]

ผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

ธรณีสัณฐานวิทยา[แก้]

แนวสันบริเวณชายหาด[แก้]

หินงอกในถ้ำหินปูน[แก้]

ภูมิทัศน์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. National Oceanic & Atmospheric Administration (NOAA) (August 2000). "NOAA Question of the Month: How much energy does a hurricane release?". NOAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2006-03-31.
  2. David Roth and Hugh Cobb (2001). "Eighteenth Century Virginia Hurricanes". NOAA. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.