ผู้ใช้:Sawaengkit

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Police Aviation Division

ไฟล์:ตรากองบินตำรวจ.jpg
ตราสัญลักษณ์ประจำกองบินตำรวจ

กองบินตำรวจ (บ.ตร.) (อังกฤษ: Police Aviation Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division)

มีลักษณะเป็นรูปโล่ (Escutcheon) ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของตราอาร์ม มีขนาดกว้าง 8 เซนติเมตร และยาว 9 เซนติเมตร เป็นผ้าหรือสักหลาดพื้นเป็นสีดำ ภายในประกอบด้วย

  1. อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" อยู่ด้านบนปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว หากเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "POLICE AVIATION DIVISION"
  2. เครื่องหมายโล่เขนตำรวจ ปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว และสีเลือดหมูตามลักษณะโล่เขนตำรวจ อยู่ใต้อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" โดยมีขนาดพอเหมาะและสมดุลย์สวยงาม
  3. รูปปีกนก ขนาดกว้าง 2.7 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร อยู่ด้านข้างรองรับเครื่องหมายโล่เขนตำรวจและอักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" ปักด้วยดิ้นไหมสีทอง หรือด้ายสีเหลือง
  4. ตราอาร์มรูปธงชาติไทย ในลักษณะเอียง อยู่ระหว่างปีกนกทั้งสอง ปักด้วยด้ายสีน้ำเงิน ขาว และแดง ตามสีของธงชาติ อยู่ในกรอบดิ้นไหมสีทองหรือด้ายสีเหลือง
  5. ขอบนอกของอาร์ม ปักด้วยด้ายสีเลือดหมู ขนาด 0.5 เซนติเมตร เพื่อแสดงถึงความเป็นตำรวจในสายเลือด

ความหมายของเครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division) หมายถึง เป็นหน่วยงานที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางอากาศภายในราชอาณาจักรไทยให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานราชการอื่นๆ ตามที่ร้องขอ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทย โดยไม่หวังผลตอบแทน ภายใต้สถานการณ์ปกติ วิกฤติ และฉุกเฉิน เปรียบได้ดั่งอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันตามคำขวัญของกองบินตำรวจ ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานที่ว่า "จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

หมายเหตุ เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division) สามารถปรับเปลี่ยนสีของเครื่องหมายเป็นสีดำได้เมื่อใช้ประกอบกับเครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)

ผู้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายนี้ ได้แก่ ผู้ทำการในอากาศทุกนาย และเจ้าหน้าที่กู้ภัย ที่สวมใส่ชุดปฏิบัติการ (Flight Suit) ข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง ที่สวมใส่เครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)

ประวัติกองบินตำรวจ[แก้]

ปี พ.ศ. 2493 กรมตำรวจในสมัยนั้น เห็นว่าควรจะนำเอาอากาศยานเข้ามาใช้ในราชการกรมตำรวจ ในด้านความช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายในถิ่นทุรกันดาร ผู้ตรวจการจราจร เพื่อช่วยเหลือสภาพการจราจรในจังหวัดพระนครและผู้ตรวจราชการ จึงเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งเป็นหน่วยขนาดเล็กเรียกว่า หน่วยบินตำรวจ โดยกรมตำรวจได้ซื้ออากาศยานประเภท Helicopter Hiller Model 360 จำนวน 1 ลำ โดยให้ขึ้นการบังคับบัญชาต่อกองตำรวจนครบาลวังปารุสกวัน และให้เก็บรักษาอากาศยานไว้ที่สนามเสือป่า การทดลองได้ผลดีต่อทางราชการเป็นอย่างมาก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 สถานการณ์ในราชอาณาจักรลาว มีทีท่าว่าจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของราชอาณาจักรไทย กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งตั้งกองบัญชาการตรวจรักษาชายแดน (ภาคอีสาน) ขึ้น

เมื่อ 6 พฤษภาคม 2496 และสถานการณ์ชายแดนภาคใต้มีความจำเป็นที่จะต้องปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ร่วมกับรัฐบาลมาเลเซีย จึงได้จัดหาอากาศยานเพิ่มมากขึ้น มีทั้ง เครื่องบิน (Fixed Wing) และ Helicopter ทำให้สถานที่ไม่พอเก็บรักษา กรมตำรวจ จึงขอใช้สถานที่ในกองทัพอากาศดอนเมือง จัดเป็นที่ตั้งหน่วยใหม่และเรียกชื่อว่า ”กองสื่อสารทางอากาศ” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการปราบปรามโจรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสนับสนุนกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยได้จัดซื้อ Helicopter Hiller Model 12 B จำนวน 12 ลำ เครื่องบิน Cessna Model 180 จำนวน 2 ลำ เครื่องบิน Cessna Model 195 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน Flasher จำนวน 1 ลำ

ในปี พ.ศ. 2497 ความจำเป็นในการใช้อากาศยานมีมากขึ้น โดยเฉพาะการลำเลียงขนส่งทางอากาศ กรมตำรวจจึงได้ซื้อเครื่องบินขนส่งขนาดเบา Douglas C- 47 Skytrain or Dakota จำนวน 2 ลำ และ Helicopter Hiller Model 12 B อีก 4 ลำ

ในปี พ.ศ. 2498 ได้จัดซื้อ Helicopter -Sikorsky S-55 จำนวน 1 ลำ

ในปี พ.ศ. 2501 ได้จัดซื้อเครื่องบิน Douglas C- 47 Skytrain or Dakota เพิ่มอีก 2 ลำ

ในปี พ.ศ. 2503 ได้จัดตั้งหน่วยบินตำรวจน้ำขึ้นที่กองตำรวจน้ำเนื่องจากเป็นหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินและ Helicopter ตั้งแต่การจัดตั้งตำรวจรักษาชายแดน ต่อมาเป็นตำรวจตระเวนชายแดน กิจการด้านการบินของ หน่วยบินตำรวจ ได้ให้การสนับสนุนโดยตรงต่อตำรวจตระเวนชายแดนเป็นส่วนใหญ่หรืออาจกล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมด ดังนั้นภารกิจและการปฏิบัติจึงเท่ากับว่า หน่วยบินตำรวจ ขึ้นการบังคับบัญชากับตำรวจตระเวนชายแดนโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้ในการปรับปรุงการจัดหน่วยของตำรวจตระเวนชายแดน

ในปี พ.ศ. 2504 ให้มีฐานะเป็นหน่วยขึ้นกับตำรวจภูธร เรียกว่า กองบัญชาการตำรวจภูธร (ฝ่ายชายแดน) หน่วยบินตำรวจ ก็ได้รับการยกฐานะเป็น “กองกำกับการบินลำเลียง” ขึ้นกับฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธร (ฝ่ายชายแดน) มีชื่อย่อ คือ กก.บล.ฝน.ชด. ส่วนที่ตั้งยังคงอยู่ที่กองทัพอากาศดอนเมือง ในปีเดียวกันนี้ กรมตำรวจได้จัดซื้อเครื่องบิน Cessna Model 310 F ชนิด 2 เครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ และได้รับความช่วยเหลือจาก United States Operations Mission (USOM) ให้ Helicopter Sikorsky S- 55 อีก 3 ลำ เนื่องจากภารกิจของกองกำกับการบินลำเลียงได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางมิได้จำกัดเฉพาะการสนับสนุนตำรวจตระเวนชายแดนเท่านั้น ยังต้องสนับสนุนตำรวจภูธร และส่วนราชการอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก และฝ่ายช่วยเหลือจาก USOM เห็นว่า หลายหน่วยงานในกรมตำรวจมีความต้องการ อากาศยานไว้ใช้ในราชการของตนเอง เช่น ตำรวจน้ำ ตำรวจป่าไม้ และตำรวจดับเพลิง หากให้มารวมกันก็คงเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น กรมตำรวจ จึงได้มีแนวความคิดที่จะยกฐานะกองกำกับการบินลำเลียงฝ่ายสนับสนุนตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ โดยได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนจาก USOM และกรมวิเทศสหการ ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารงานรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ แนวความคิดนี้ได้ข้อยุติ

เมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2510 โดยกรมตำรวจได้ยกฐานะกองกำกับการบินลำเลียงและหน่วยบินตำรวจน้ำ ทดลองจัดตั้งเป็น “กองบินตำรวจ” โดยแต่งตั้งให้ พ.ต.อ.พิชิต รักษนาเวศ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรชายแดน ทำหน้าที่ ผู้บังคับการกองบินตำรวจ อีกตำแหน่งหนึ่ง จากนั้นได้สร้างอาคารที่ทำการต่าง ๆ ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 ในเนื้อที่ประมาณ 222 ไร่ ส่วนที่ตั้งในกองทัพอากาศดอนเมือง ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม

18 พฤศจิกายน 2512 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกองบินตำรวจขึ้น เป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ เรียกว่า กองบินตำรวจ (Police Aviation Division) มีชื่อย่อ “ บ.ตร.” มาจนถึงทุกวันนี้

Aircrafts


Fixed Wing


Helicopter

- Hiller Model 360


Two-seat helicopter based on UH-5 of all-metal construction with fixed tricycle u/c, fully enclosed cabin and rear fuselage, overhead mounted control stick attached to Hiller rotor control, powered by one 175hp Franklin 6V4-178-B32 engine. Prot. N68940.