ผู้ใช้:Rach Baosawastichai/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ตำนาน เจ้าปางคำ (ເຈົາປາງຄຳ) อุษาคเนย์'

      ເຈົາປາງຄຳ อุษาคเนย์

หนองบัวลำภู เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว ร่ำรวยวัฒนธรรม เจ้าปางคำมหาปราชญ์นักปกครอง ฮีต 12 คอง 14 ของดีคู่เมือง ลือเลื่องพระวอพระตา หาญกล้านครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ตระการแหล่งแพรพรรณลุ่มภูสู่สากล ยลศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กราบหลวงปู่ขาว

ประวัติศาสตร์ตำนาน (ເຈົາປາງຄຳ) อุษาคเนย์

เจ้าเมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน ( เมืองหนองบัวลำภู ประเทศไทย )

Biography  of Southeast Asia Chao Pang Kham

ประวัติศาสตร์ตำนานข้อมูลเบื้องต้นของ “ 'เจ้าปางคำ” อุษาคเนย์

( Basic Biography  of Southeast Asia Chao Pang Kham )

หนองบัวลำภู ( วสันตดิลกฉันท์ 14 ) เขื่อนขันธ์กมุทธ์มนวิมล สุวคนธ์ก็เบิกบาน

   ถิ่นสรวงกวีลุอวตาร                        มหิศวรสิปางคำ

ภูพานขนดพระอุรคินทร์ ศิขรินสวรรค์ทำ

 กาบแก้วขนบจริยะนำ                     บริสุทธิ์เกษมศานต์
พืชธัญขจีสิริฤดู                               สุพธูวิมลมาลย์
 อุ่นเอื้อบุรุษวิชญชาญ                      สุวิชาวิศิษฏ์ธรรม.
  โมกขสิทธิ์''ข้อความตัวเอน

แปลโดยอรรถว่า

   * กมุทธ์คือ บัว หนองบัวลำภู ที่มีมาแต่โบราณสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   * ( รัชกาลที่ 4 )  เขื่อนขันธ์กมุทธ์มนวิมล เมืองเขื่อนน้ำแห่งขุนเขาที่มีบัวสดใสดุจใจที่บริสุทธิ์         สุวคนธ์ก็เบิกบาน บ่อเกิดแห่งความดีที่งอกงาม  ถิ่นสรวงกวีลุอวตาร แผ่นดินตรงนี้ประดุจแดนสวรรค์ และเป็นที่กำเนิดมหากวีแห่งอีสาน  มหิศวรสิปางคำ มหาปราชญ์นักปกครองจอมกษัตริย์ ชื่อเจ้าปางคำ ต้นแบบขนบธรรมเนียมประเพณี อักษรไทยอีสานโบราณนิทานวรรณคดีทั้งหมด      ทั่วอีสาน เป็นนักภาษาศาสตร์ เกิดจากเจ้าปางคำ  ที่เมืองหนองบัวลำภู  ภูพานขนดพระอุรคินทร์  ภูพานนี้คือขนดพญานาคที่โอบกอดดูแลคนลุ่มน้ำหนองซำช้างหรือหนองบัว มาแต่โบราณ  ศิขรินสวรรค์ทำ ทำให้เกิดภูเขาชื่อภูพานเพราะสวรรค์สั่งทำ จึงงามพรั่งพร้อมด้วยไม้นานาชนิด  กาบแก้วขนบจริยะนำ บริสุทธิ์เกษมศานต์ กาบดอกบัวดุจกำแพงประเพณี ที่กำเนิดจากจารีต    ทรงคุณค่าฮีตสิบสองคองสิบสี่กลายเป็นกฎหมายฉบับแรก ในภาคอีสาน ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นที่บ่มคนเก่ง  พืชธัญขจีสิริฤดู ในอดีตเมืองหนองบัวลำภู หรือเมืองกุมุทธาสัย หรือเมือง    หนองบัวลุ่มภู หรือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หรือเมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน  หรือเมืองหนองบัว (ชื่อเมืองหนองบัวมีมาแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ครองราชย์ พ.ศ.1896-1936 ) คนตรงจารีต ฝนฟ้า ตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตคือ ความมั่งคั่งที่ธรรมชาติมอบให้ข้าวเท่าแตง          สุพธูวิมลมาลย์ เมืองนี้คือ ถิ่นหญิงงามเยี่ยงสาวสวรรค์มองแล้วลืมมิลง เหลือใจไปจนตาย        อุ่นเอื้อบุรุษวิชญชาญ ผู้ชายเมืองนี้คือลูกหลานเจ้าปางคำ ล้นเหลือความเก่ง สุภาพ ชำนิชำนาญ สรรพวิชา ใครอยากเหมือนเจ้าปางคำเหง้ากอ ให้ห่าง เหล้ายา.ถั่วโป. สุวิชาวิศิษฏ์ธรรม ทั้งหญิงและชาย ลึกในความดีงาม เป็นที่ลือเลื่องจารีตศีลธรรมอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา

..........อีส หรือ อีศ...แปลว่า คนเป็นใหญ่ จอมปราชญ์ กษัตริย์ เศรษฐี สมณชีพราหมณ์ ทวยเทพ

     +  อาสะ ที่แปลว่า ที่อยู่    รวมความเป็น....อีสาน....แปลว่า....ที่อยู่ของผู้เป็นใหญ่ทุกด้าน                                    

( โมกขสิทธิ์,2560 )


แผนที่ศิลปกรรมดั้งเดิมเจ้าปางคำ จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย ( อุษาคเนย์ Southeast Asia )

                 เจ้าปางคำ (ເຈົາປາງຄຳ) Chaopangkham หรือ ท้าวปางคำ  Taopangkham หมายถึง เจ้าปางคำ เจ้าเมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน ( คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และ        ภูมิปัญญาจังหวัดหนองบัวลำภู,2544 ) เจ้าปางคำ เป็นเชื้อพระวงศ์เจ้านครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า    เป็นผู้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมืองหนองบัวลุ่มภู (บำเพ็ญ  ณ อุบล,2559)      (เจ้าปางคำ พระมเหสีมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช )               มีพระญาติที่เมืองหลวงพระบาง  เจ้าปางคำ เป็น นักประพันธ์เอกแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต          แห่งเวียงจันทน์ ( พ.ศ.2193 ) ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ( สิลา  วีระวงส์, 2552 ),(สุรศักดิ์  ศรีสำอาง,2545 ) วรรณกรรมเรื่อง สินไซ ( สังข์ศิลปชัย ) แต่ง โดยท้าวปางคำ เจ้าเมืองหนองบัวลำภูในอดีต หนังสือวรรณกรรมอีสาน ( ธวัช  ปุณโณทก,2550 ) และใน พ.ศ.2185 มีความสัมพันธ์อันดีกับ   เจ้านางเภาซึ่งเป็นกษัตริย์หญิงนครกาลจำบากนาคบุรีศรี ( เมืองจำปาศักดิ์ในปัจจุบัน ) (จิตร       ภูมิศักดิ์,2556) ได้บุตรีหนึ่งคนคือ เจ้านางแพง ( พ่อเป็นเจ้าชายลาว ดั้นด้นฝ่าดงลงไปคล้องช้างถึงแดนเมืองเรอแดวหรือนครกาลจำบากนี้ คือ เจ้าปางคำ บ้านหนองบัวลำภู ผู้แต่งหนังสือสินไซ )     ( จิตร ภูมิศักดิ์ ,2556 )  วรรณกรรมเรื่องสินไซ ( สังข์ศิลปชัย ) ท้าวปางคำ ผู้แต่ง ได้แต่งยกย่องพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย อาณาจักรล้านนา (สิลา  วีระวงส์,2552)
                 พระยามหาอำมาตยาธิบดี กล่าวไว้ว่า “ ในศักราชได้ 1003 ปีมะเส็ง ตรีศก ( 2184 )    เจ้าปางคำบ้านหนองบัวลำภู เดินช้างพลายพัง หมอควาญพร้อมด้วยท้าวเพี้ยไพร่พลยกลงมาเที่ยวโพนแซกคล้องช้างตามอรัญราวป่าประเทศก็ถึงเขตแดนนครจำปากนาคบุรีศรี หยุดพักอาศัยในนครได้หลายวัน เจ้าปางคำเห็นนางเภามีสิริรูปอันงาม เจ้าปางคำพูดจาลอบรักร่วมสังวาสด้วย   นางเภาจนมีครรภ์แล้วเจ้าปางคำ พร้อมด้วยท้าวเพี้ยไพร่พลช้างต่อหมอควาญยกกลับไปบ้านหนองบัวลำภู ” พระยามหาอำมาตยาธิบดี,“ ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ” ในประชุมพงศาวดารเล่ม 43 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 69 – 70 ),(พระนคร : องค์การค้าคุรุสภา,2512),หน้า 160 – 161.
                พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ฉบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร ( ม.ร.ว.ปฐมคเนจร ) ที่กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันนี้ ไว้เพียงว่า “...จนถึงจุลศักราช 1000 ปีๆ ขาลสัมฤทธิศก ( พ.ศ.2181 ) เจ้าสุทัศนราชาถึงแก่พิราลัย หามีเชื้อวงศ์ที่จะสืบตระกูลครองเมืองต่อไปไม่ ประชุมชนจึงได้ยกชายผู้มีตระกูลคนหนึ่งขึ้นเป็นหัวหน้าบัญชาการเด็ดขาดในอาณาเขตนครกาละจำบากนาคบุรีศรีนั้น โดยเรียบร้อยตลอดมาได้ 6 ปี ถึงแก่กรรมนางแพงบุตร นางเภาหลานได้เป็นผู้อำนวยการบ้านเมืองสืบต่อมาอีก ในจุลศักราช 1005 ปี มะแม เบญจศก ( พ.ศ.2186 ) ” ( หม่อมอมรวงศ์วิจิตร,2506 )

วัดมหาชัย เดิมชื่อ วัดมหาธาตุไตรยภูมิ สันนิษฐานว่า มหาธาตุ ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ กองดินขนาดใหญ่อยู่เยื้องกับอุโบสถของวัดเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของเจ้าปางคำ ( คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และ ภูมิปัญญาจังหวัดหนองบัวลำภู,2544 ) ในวัดมหาชัย ยังมีพระพุทธรูปสำคัญนอกจากพระบางคู่ คือ พระพุทธมหาชัยมงคล(หลวงพ่อพระเจ้าปางคำ) หอเจ้าปู่ปางคำ และชมรมลูกหลานเจ้าปางคำ หนองบัวลำภู (พระครูปทุมธรรมาภิบาล,2560 )

                 จารึกอักษรธรรมไทยอีสานที่ฐานพระพุทธรูปพระพุทธมหาชัยมงคล สรุปเนื้อความได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 หรือเดือนอ้าย ในปี จ.ศ.1031 ตรงกับปี พ.ศ.2212 ปีระกา ฉศก ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ( พ.ศ.2181-2238 )     ของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น ยุคทองของพระพุทธศาสนายุคหนึ่ง                     ในราชอาณาจักรล้านช้าง ( ธีระวัฒน์  แสนคำ,2560 ) 
                 มีเอกสารอ้างอิงที่พบในยุคเจ้าปางคำ คือ จารึกวัดนันทวาราม ( วัดพระธาตุเมืองพิณ บ้านโนนธาตุ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ) พ.ศ.2195  พระญาอะริน     สามหมื่น สร้างวิหาร หลังนี้ ชื่อว่า นันทอาราม สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น ( สำนักศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น )
                  นอกจากนี้ยังมีกฎหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู  กฎหมายหนองบัวลำภู ต้นฉบับจากวัดบ้านเหล่าหมี บ้านเหล่าหมี ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร, กฎหมายหนองบัวลำภู ฉบับนายบาน  โพธิไทร  อรรถ  นันทจักร กฏหมายอีสานฉบับต่างๆ  รูปแบบและพัฒนา.เอกสารเผยแพร่ ลำดับที่ 5 และ 7  ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน โรงเรียนอำนาจเจริญ             อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี.( เอกสารอัดสำเนา )
                 มารู้จัก “ อาเซียน ” ในประวัติศาสตร์ รู้จัก “ ลาว ” รู้จัก “ เรา ” ซึ่งอยู่ยุคเดียวกับ          เจ้าปางคำตามจดหมายเหตุของฝรั่งว่า “ ค.ศ.1641 ( พ.ศ.2184 ) พระเจ้าสุริยวงศากษัตริย์           กรุงล้านช้าง ทรงเสด็จออกให้ราชทูตเมืองโรลองเข้าเฝ้า ณ พระธาตุหลวงนี้ ราชทูตเมืองโรลองบันทึกไว้ว่า เจดีย์องค์นี้พิลึกสง่างามมาก ” (เติม วิภาคย์พจนกิจ,2540) นักเดินทางชาวยุโรป       ในดินแดนลาว ชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงนครเวียงจันทน์เป็น วานวุนสทอฟ ( Van Wuystoff ) ชาวฮอลันดา ในยุคสมัยของพระเจ้าสุริยวงศา บันทึกของเขา เขียนเอาไว้ว่า การเดินทางมายังเวียงจันทน์ของเขาลำบากและ เสี่ยงภยันตรายอย่างมาก Van  Wuysthoff  Gerrit ชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรลาวอีกคนหนึ่ง ในเวลาต่อมาหลังจาก วานวุนสทอฟ ( Van Wuystoff ) กลับไปแล้วหนึ่งปี คือ พระ หรือ นักบวช เยซูอิต ชาวเมืองปิดมองต์ ฝรั่งเศส นั่นคือบาทหลวง      จีโอวานนี มาเรีย เลเรีย อาศัยอยู่ในเวียงจันทน์ นานถึง 5 ปี กระทั่งเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำขึ้นมาได้เล่มหนึ่ง ( อาณัติ  อนันตภาค,2558 )
                 ประวัติศาสตร์ลาวในมุมมองของตะวันตกยุคเก่า เชื่อมโยงในยุคสมัยเจ้าปางคำ       การสำรวจเอกสารบันทึกของชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในลาวยุคแรกคืองานของ “ เจอราร์ด ฟาน วูสตอฟ ” (Gerard Van Wusthof)เรื่อง “ เดินทางมาเวียงจัน 1641-1642 ” โดยตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชของลาว ( ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.1638-1695 ) ฟานวูสตอฟ เป็นชาวฮอลันดา เขาได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางที่ได้ประสบพบเห็นที่สำคัญๆ ในแต่ละวัน ซึ่งเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจและการค้ามากกว่าด้านอื่นๆ รวมถึงบันทึกเรื่องราวสภาพการค้าชาวแดนลาว – เขมร ไว้อย่างละเอียด  งานเขียนอีกเรื่องคืองานของคุณพ่อมารินี ( Giovanni Filippo de Marini ) เรื่อง “ ประเทศลาวในชุมปี ค.ศ.1640 ” งานเรื่องนี้เป็นงานเขียนเกี่ยวกับล้านช้างสมัยพระเจ้า      สุริยวงศาธรรมมิกราช และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอิตาลีในปี ค.ศ.1663 โดยได้ข้อมูลจากคำบอกเล่าของคุณพ่อเด  เลริอา ซึ่งเคยพำนักในลาวถึง  5  ปี ( ค.ศ.1641 – 1647 ) งานเขียนเรื่องนี้มุ่งให้ภาพเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ และความแข็งแรงของอาณาจักรล้านช้างรวมถึงความเชื่อและพิธีกรรมของอาณาจักรแห่งนี้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนี้ยังมีงานเขียนอื่นๆ ที่สำคัญอาทิเช่น งานของอองรีมูโอต์ ( Henri M. Mouhot ) ที่ชื่อ “ Travels on the Central Parts of In-China ” มูโอต์เป็นชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางจากไทย       ผ่านอีสานเข้าสู่ลาว ทั้งนี้พบว่างานเขียนของชาวตะวันตกในช่วงเวลานี้จะอยู่ในรูปของการบันทึกเรื่องราวการเดินทางเข้ามาในลาวโดยเฉพาะทางด้านการค้า (วารสารพื้นถิ่นโขงชีมูล,2558 : 164 )
                  ประธานชมรมลูกหลานเจ้าปางคำ เมืองหนองบัวลำภู ลำดับที่  2 ดาบตำรวจกิตติพันธ์                  ถิระโพธิพงค์ กล่าวว่า บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับ“ เจ้าปางคำ ” สามารถติดตามได้ทาง YouTube        ( ยูทูป ) เช่น กลอนลำวัดมหาชัยหนองบัวลำภู 1, กลอนลำวัดมหาชัยหนองบัวลำภู 2, เอิ้นน้องกลับหนองบัวลำภู (พรศักดิ์ ส่องแสง), สี้นสองต่อน, วอนปู่ปางคำ, ตุ้มโฮม, หลวงพ่อ                พระเจ้าปางคำ, สีนสาตา ( แก่น ธนพล และ เดือนไม้น้ำ ) กลอนลำวัดมหาชัย บันทึกประวัติศาสตร์เจ้าปางคำ  จำนวนสี่ตอน หรือ จำนวนสี่กลอนลำ (หมอลำทองศรี ศรีรักษ์ ),       (ดาบตำรวจกิตติพันธ์  ถิระโพธิพงค์,2560)        

รายนามประธานชมรมลูกหลานเจ้าปางคำ เมืองหนองบัวลำภู ประเทศไทย ลำดับที่ 1. ร้อยตำรวจเอก รัช เบ้าสวัสติไชย พ.ศ.2557 – พ.ศ.2560 ลำดับที่ 2. ดาบตำรวจ กิตติพันธ์ ถิระโพธิพงค์ พ.ศ.2560 – พ.ศ.2562 ลำดับที่ 3. นางสาว วัชราภรณ์ ปุณณบุตร พ.ศ.2562 – ปัจจุบัน


วรรณกรรมไทยอีสาน

             g0Akxk’8e  เป็นนักประพันธ์เอกแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต แห่งเวียงจันทน์ ( พ.ศ.2193 )ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช ( พ.ศ.2181-2238 ) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ( สิลา  วีระวงส์, 2552 ) เจ้าปางคำ เจ้าเมืองเวียงจำปานคร     กาบแก้วบัวบาน ( คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดหนองบัวลำภู,2544 )  ท้าวปางคำ เจ้าเมืองหนองบัวลำภูในอดีต หนังสือวรรณกรรมอีสาน  ( ธวัช  ปุณโณทก,2550 ) ปัจจุบัน จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย ( เป็นจังหวัดลำดับที่ 75 )

1. ฮีต12 คอง 14 2. ก่ำกาดำ 3. กำพร้าไก่แก้ว 4. กำพร้าขนเป็ด 5. แก้วหน้าม้า 6. เกษรดอกบัว 7. กาฬะเกษ 8. ขูลูนางอั้ว 9. ตั๊กแตนโมดำ 10. ตำนานนางผมหอม 11. จำปาสี่ต้น 12. เซียงเมี่ยง 13. ท้าวกุ้นดุ้น 14. ท้าวกำพร้าผีน้อย 15. ท้าวกำพร้าหมากส้าน 16. ท้าวข้อหล่อ 17. ท้าวคัชนาม 18. ท้าวคดท้าวซือ 19. ท้าวคำสอน 20. ท้าวจันทโครพ 21. ท้าวโจรใต้ 22. ท้าวเต่าดำ 23. ท้าวแบ้ 24. ท้าวปัญญาทั้ง 5 25. ท้าวลิ้นทอง 26. ท้าวสีทน 27. ท้าวแสนปม 28. ท้าวโสวัฒน์ 29. ท้าวสุวรรณจักร 30. ท้าวสุวรรณหงส์ 31. ท้าวเห็นอ้ม 32. ท้าวหมากสวง 33. ท้าวหมาหยุย 34. ท้าวหมอนแป 35. ท้าวหลิน 36. ท้าวอุ่นหล้างัวทอง 37. นกกระจอกน้อย 38. นกกระสาเผือก 39. นกเต็นด่อน 40. นางแตงอ่อน 41. นางสิบสอง 42. บั้งจุ้ม 43. ปลาบู่ทอง 44. ผาแดงนางไอ่ 45. พระกึดพระพาน 46. พญาคำกองสอนไพร่ 47. พญาคันคาก 48. พระลักพระลาม 49. แม่นางโภสพ 50. ลึบสูญ หรือ สารลึบพระสูน 51. สินไซ หรือ สังข์ศิลปชัย 52. โสนน้อยเรือนงาม 53. สุริวงศ์ 54. พระสุพรหมโมกขากับ หมาเก้าหาง 55. หงส์เหิน 56. อุสาบารส 57. อักษรอีสานโบราณ 58. กฎหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู

g0Akxk’8e มหาปราชญ์นักปกครอง นักภาษาศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่จารึกอักษรไทยอีสานโบราณในวรรณกรรมเรื่องสินไซ หรือ สังข์ศิลปชัย

              พยัญชนะอักษรไทยอีสานโบราณ   มี  27  รูป

พยัญชนะควบกล้ำ

              พยัญชนะควบกล้ำ หรือพยัญชนะตัวนำและพยัญชนะตัวตาม มี  6  รูป

สระ สระอักษรไทยอีสานโบราณ มี 23 รูป สระพิเศษ 2 ตัวคือ

    1.  P  ตัว ย เฟื้อง ใช้เขียนแทนสระเอีย เมื่อมีตัวสะกด เช่น  dP;  (เกี่ยว)  lP’  (เสียง)
    2.  V  ตัวยอหยาดน้ำใช้เท่ากับเสียง สระออ สะกดด้วย ย (ออย) เช่น  8V (คอย)   oV  (น้อย) 

ตัวสะกด

              ตัวสะกดในอักขร วิธีอักษรไทยอีสานโบราณ   มี  8  ตัวแม่สะกด
วรรณยุกต์
              วรรณยุกต์ในอักษรไทยอีสานโบราณ  ไม่มีรูปเหมือนกับ อักษรธรรมไทยอีสาน แต่ มีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง   5   เสียง

นิยมสะกดด้วยพยัญชนะเต็ม

เครื่องหมาย

              เครื่องหมายในอักษรไทยอีสานโบราณ  มีดังนี้
  1.       y     ใช้เป็นไม้หันอากาศ ในคำที่ประกอบด้วยสระอะ ที่มีตัวสะกด
                             oyo  (นั้น)     vyo  (อัน)
                  ใช้ประกอบคำประสมด้วยสระ เอะ เอ ที่มีตัวสะกด
                             gsyL, gsyf  (เหตุ)     gxyo  (เป็น)
                  ใช้ประกอบกับสระ เอีย ที่ไม่มีตัวสะกด
                             g,uP  (เมีย)     glyP  (เสีย)
   2.       Y     ใช้แทนเสียงสระ ออ ไม่มีตัวสะกด
                     dY  (ก็)     rY  (พ่อ)     [Y  (บ่)
   3.        A     ไม้กง,ไม้ก่ม เขียนแทนสระโอะ ลดรูป
                     9Ao  (ต้น)     8A,  (คม)
   4.      #     ไม้ยมก ใช้เขียนซ้ำคำหรือซ้ำความ
                             okok  (นานา)     9k’#  (ต่างๆ)
     5.       เครื่องหมายควง คล้ายเครื่องหมายปีกกา อ่านประสมคำบนก่อนแล้วอ่านประสมคำล่าง
                                       fu
                             8Ao               (คนดี  คนเลว)
                                       g]y;
      6.
           ชั่ง

ตำลึง บาท เฟื้อง สลึง

          ไพ


                      ข่า	         ๑	


ตัวเลข

              ตัวเลขในอักษรไทยอีสานโบราณ   มี  10  รูป

วัดมหาชัย มีเจดีย์ชำรุดปรากฏอยู่องค์หนึ่งชาวบ้านเรียกว่า ดอนโนนธาตุ หรือ เดิมเรียกชื่อวัดว่า วัดมหาธาตุเจดีย์ ปี พ.ศ.2436 พระวิชโยดมกมุทธเขต เจ้าเมืองกมุทธาสัย ( หนองบัวลำภู ) ได้อาราธนาพระภิกษุแสง หรือ พระอาจารย์แสง หรือ ญาท่านแสง หรือ ญาครูแสง ธมฺมธีโร มาจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาชัยรูปแรก ในปี พ.ศ.2440 วัดมหาชัยได้รับแต่งตั้งให้เป็น วัดธรรมยุต วัดแรกของมณฑลอุดรธานี ญาท่านแสง ธมฺมธีโร ช่วงปี พ.ศ.2450 ได้ดำริสร้างหอสมุดขึ้นเรียกว่า “ หอไตร ” เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อักษรธรรมไทยอีสานโบลาน อักษรไทยอีสานโบราณ หรือ อักษรไทน้อย หรือ อักษรลาวโบราณ เช่น พระไตรปิฏก นิทานชาดก วรรณกรรรมไทยอีสาน ฮีต12 คอง14 สินไซ กฎหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู ฯลฯ หอไตรมีความงดงามปรากฏในกลอนลำ ขับร้องกันว่า

               “ ฟังเด้อเจ้าแม่เฒ่าสายไหม สิเว่าเรื่อง หอไตรวัดธาตุ งามสะอาดในทีปชมพู ญาครูแสงเป็นผู้ก่อสร้าง   ”
            จากโครงการสำรวจเอกสารโบราณอีสาน วิทยาลัยครูอุดรธานี ( มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปัจจุบัน ) ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2529  ผลการสำรวจเอกสารโบราณวิทยาลัยครูอุดรธานี  ปี พ.ศ.2528-2529 ( หอไตรวัดมหาชัย ) วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ( อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ได้รับสถาปนาเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ.2536 ) จำนวนเรื่อง  762    จำนวนผูก  1,568    จำนวนลาน  33,183  ควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลรักษาอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติ ให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบต่อไป
              นอกจากนี้ ญาครูแสง ยังได้ “ การสร้างโบสถ์น้ำ ” ซึ่งใช้เป็นที่ให้การบรรพชาอุปสมบทเป็นครั้งแรกในถิ่น ภายในบริเวณหนองซำช้าง หรือ หนองบัว ด้านหน้าวัดมหาชัย แต่ ปัจจุบันนี้ หาไม่มีแล้ว ( พระครูปทุมธรรมาภิบาล,2552 : 11 )
             พระยามหาอำมาตยาธิบดี,พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ฉบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร      ( ม.ร.ว.ปฐมคเนจร ), ( คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และ ภูมิปัญญาจังหวัดหนองบัวลำภู,2544 ), ( บำเพ็ญ   ณ อุบล,2559 ), ( จิตร ภูมิศักดิ์ ,2556 ), ( สิลา  วีระวงส์,2552 ) กล่าวถึงเจ้านางแพง สรุปได้ว่า     
             เจ้านางแพง ได้ปกครองเมืองนครกาลจำบากนาคบุรีศรี ต่อจากพระมารดา เป็น          บุตรี (  เจ้านางเภา ซึ่งเป็นกษัตริย์หญิงนครกาลจำบากนาคบุรีศรี ( เมืองจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน  ) กับ เจ้าปางคำ เจ้าเมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน เมืองหนองบัวลำภูในอดีต ( จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย ในปัจจุบัน ) ) เจ้านางแพง          ได้อาราธนาพระครูโพนสะเม็ก สร้างกุฏิและเสนาสนะถวายให้จำพรรษาอยู่ที่วัดสระหัว            คนทั้งหลายจึงเรียกวัดนั้นว่า วัดหลวง ( บัดนี้เรียกว่า วัดหลวงเก่า ) และ ทราบว่ามีเชื้อพระวงศ์พระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช  ที่เป็นพระญาติฝ่ายเจ้าปางคำ พระราชบิดาของตน เจ้านางแพงพร้อมด้วยมุขมนตรีประชาราษฎรทั้งปวงจึงพร้อมกันมอบพุทธจักร อาณาจักร ถวายพระครู    โพนสะเม็ก ทำนุบำรุงสมณพราหมณาจารย์ ท้าวพระยา อาณาประชาราษฎร์ในเมืองนครกาล     จำบากนาคบุรีศรี  จึงพิจารณาเห็นว่าเจ้าหน่อกษัตริย์เป็นโอรสเชื้อสายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคณหุตเวียงจันทน์จะปกครองราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ทำพิธีอภิเษก เจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ถวายพระนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ครองราชย์สมบัติมีอำนาจสมบูรณ์ตามราชประเพณี เมื่อจุลศักราช ๑๐๗๕ ( พ.ศ.๒๒๕๖ ) เป็นนามเมืองใหม่จาก กาละจำบากนาคบุรีศรี เป็น นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี แต่นั้นมา
                 สรุป เจ้าปางคำ Z g0Akxk‘8e X Chaopangkham หรือ ท้าวปางคำ Z mAk;xk‘8e X Taopangkham  เป็นเจ้าเมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน หรือ เจ้าเมืองหนองบัวลำภูในอดีต เชื้อพระวงศ์เจ้านครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้ามีพระญาติที่เมืองหลวงพระบาง ( เจ้าปางคำ พระมเหสี     มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดา ในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ) เจ้าปางคำ เป็นนักประพันธ์เอกแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต แห่งเวียงจันทน์ ( พ.ศ.2193 ) ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช ( พ.ศ.2181-2238 ) และในปี พ.ศ.2184,พ.ศ.2185 มีความสัมพันธ์อันดีกับ เจ้านางเภา ซึ่งเป็นกษัตริย์หญิงแห่งนครกาลจำบากนาคบุรีศรี   ( เมืองจำปาศักดิ์ในปัจจุบัน ) มีบุตรีหนึ่งคนคือ เจ้านางแพง 
              g0Akxk’8e ได้แสดงออกถึงความรักที่มีต่อเจ้านางเภา ท่านได้แต่งวรรณกรรมเรื่อง สารลึบพะสูน ( สารลึพพระสูนย์,สารลึปสูญ,สารลึบบ่สูญ ) ฉบับพรชัย  ศรีสารคาม ,ดวงไซ  หลวงพะสี ( นักเขียนลาว ) ได้กล่าวไว้ว่า “ ท่านหลวงพ่อพระอริยานุวัตร ได้กล่าวว่าเรื่องนี้     ท้าวปางคำ ผู้ครองเมืองหนองบัวลำภูได้แต่งขึ้นเพื่อแสดงความรักความห่วงใยคิดถึงที่มีต่อ       เจ้านางเภา กับ เจ้านางแพง ”  ( พรชัย  ศรีสารคาม,2528 ) แสดงให้เห็นว่าเจ้าปางคำ มีความรักความห่วงใย ความผูกพันต่อ เจ้านางเภากับเจ้านางแพงอย่างยิ่งใหญ่ 
              g0Akxk’8e เป็น “ มหาปราชญ์   นักปกครอง ”  เป็นนักกวีเอกแห่งล้านช้าง หรือ นักภาษาศาสตร์ของชาวอุษาคเนย์ คุณูปการอันนี้กลายมาเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ ฮีต-คอง ” อันเป็นธรรมนูญชีวิต ของชาวไทยอีสาน ท่านเป็นบุคคลแรกที่จารึกอักษรไทยอีสานโบราณ หรือ อักษรไทน้อย หรือ อักษรลาวโบราณ ในวรรณกรรมเรื่องสินไซ     ( สังข์ศิลปชัย ) และวรรณกรรมไทยอีสานทั้งหมด รวมถึงกฎหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู ท่านมีความชำนาญพิเศษในคชบาล ที่วัดมหาชัย ยังมีพระพุทธรูปสำคัญนอกจากพระบางคู่ คือ พระพุทธมหาชัยมงคล (หลวงพ่อพระเจ้าปางคำ) หอเจ้าปู่ปางคำและชมรมลูกหลานเจ้าปางคำ หนองบัวลำภู, อักษรไทยอีสานโบราณ,กฏหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู, หอไตรกลางน้ำ          ญาท่านแสง ธมฺมธีโร พ.ศ.2450  ณ วัดมหาชัย 
               ในปี พ.ศ.2551 คุณตาเพชร วิชชุดากร มาตุภูมิเป็นชาวหนองบัวลำภู ( ชาวหนองบัวลำภูทุกคน ชาวไทยอีสานล้วนถือเป็นลูกหลานเจ้าปู่ปางคำ รวมถึงลูกหลานในภูมิภาคอารยธรรม    ลุ่มน้ำโขง ) ได้มอบถวายหลวงพ่อพระเจ้าปางคำหรือพระพุทธมหาชัยมงคล ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพชนถวายให้กับวัดมหาชัย เพื่อที่จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีผลงานของท่านเรื่องภาษาศาสตร์ อักษรไทยอีสานโบราณ วรรณกรรมไทยอีสานทั้งหมดฮีต-คองเมือง (ฮีต12 คอง14 ) กฎหมายโบราณเมืองหนองบัวลำภู กฏหมายโบราณไทยอีสาน ที่ฝากไว้เป็นมรดกไว้ให้ลูกหลาน

มีความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษและบรรพชน รู้รากเหง้าของตน ก่อนหน้านี้คุณตาเพชรท่านได้บริจาคที่ดินมรดกจากบิดามารดาของท่านให้กับ วัดมหาชัยส่วนที่เป็นผืนดินด้านหลัง วัดมหาชัยปัจจุบัน ท่านยังร่วมกับคณะจากกรุงเทพฯ นำกฐินสามัคคีทอดถวายเพื่อสมทบทุนสร้างหอ พระบางคู่ วัดมหาชัย คุณตาเพชร พร้อมคณะยังได้หล่อพระบางคู่ ( ขนาดเท่าองค์จริง) มอบถวายให้กับ วัดมหาชัย ซึ่งองค์พระบางคู่ จำลองประดิษฐานที่หอพระบางคู่ ในวันที่ช่างมาถอดหล่อพิมพ์พระบางคู่ จากองค์จริงผู้หมวดรัช ได้มาช่วยดูแลความเรียบร้อยเนื่องจากทางท่านเจ้าอาวาส ( พระครูสุทัศน์ธีรธรรม ) ห่วงมากกลัวสูญหายหรือถูกสับเปลี่ยนเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปโบราณ ( พระครูปทุมธรรมาภิบาล,2560 )

                 จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดลำดับที่  75  ของราชอาณาจักรไทย  ประกอบด้วย     6  อำเภอ 1.อำเภอเมืองหนองบัวลำภู  2.อำเภอโนนสัง 3.อำเภอศรีบุญเรือง 4.อำเภอนากลาง        5.อำเภอสุวรรณคูหา และ 6.อำเภอนาวัง ( ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งแต่          วันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110             ตอนที่ 125  ลงวันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช  2536   เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน )
                 ในบริบทพื้นที่ g0Akxk’8e ท่านมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์  กับ 5 เมืองใหญ่ 3 ประเทศในอุษาคเนย์ คือ 1.เมืองเชียงรุ้ง ( เขตปกครองตนเองของชนชาติไท สิบสองปันนา ) มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน,2.เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, 3.นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, 4.เมืองจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, 5.เมืองเวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทยในปัจจุบัน 
                 ซึ่งการศึกษาศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ตำนาน g0Akxk’8e เจ้าเมือง             เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน หรือเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในอดีต จะช่วยทำให้ชาวจังหวัดหนองบัวลำภู ชาวไทยอีสาน และพี่น้องในแถบอารยธรรมลุ่มน้ำโขงหรือในอุษาคเนย์                 รู้บรรพบุรุษและบรรพชนของตน ถึงผลงานที่เป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ฝากไว้ให้ลูกหลาน เกิดการสร้างสมานฉันท์ในสังคมวัฒนธรรม เกิดเอกภาพทางการรับรู้ขึ้นแก่ประชาคม ทำให้รู้รากเหง้า สร้างจิตสำนึกความเป็นชาติ ภาคภูมิใจในบรรพบุรุษและบรรพชน มีความรักความภูมิใจ        ดำรงความเป็นไทย