ผู้ใช้:PreeyapornSK/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref></ref>

ชื่อสามัญ : ตำแยแมว, ตำแยตัวผู้, ตำแยป่า, หญ้าแมว, หญ้ายาแมว, หานแมว, ลังตาไก่, อเนกคุณ

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Acalypha Indica L. (อาคาลิฟาอินดิคา) English : Indian copperleaf, Indian acalypha, Indian-nettle, Tree-seeded mercury

ลักษณะต้นและใบ : ตำแยแมวเป็นไม้เล็ก ๆ จำพวกต้นหญ้า ต้นสูงประมาณ 2 ฟุตเศษ ๆ ลำต้นตรงใบกลมโต ปลายใบแหลมเล็กน้อย มีจักเล็ก ๆ ตามริมใบโตกว่าใบพุทรานิดหน่อย มีดอกออกตามต้น ดอกเป็นดอกช่อ ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับหุ้มห่อดอก 2-6 ดอก ผลแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด ชอบขึ้นตามที่ดินเย็น ๆ ตามที่รกร้างทั่วๆ ไป และที่มีอิฐปูนเก่า ๆ ผุ ๆ

สรรพคุณในทางยา : ราก – ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เป็นยาถ่าย ใบ – ขับพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะในโรคหอบหืดเป็นยาถ่าย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน (รับประทานปริมาณมาก) ใบแห้งป่นโรยรักษาแผลเนื่องจากนอนมาก ยาระบาย แก้หืด ขับเสมหะ ทั้งต้น – ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ถอนพิษของโรคแมวได้ดี ไม่ระบุส่วนที่ใช้ – ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน แก้ไอ ขับพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ทำให้ทางเดินอาหารระคายเคือง ถอนพิษโรคของแมว

สรุปโดยรวม เป็นยาที่ทำให้อวัยวะช่องทางเดินของอาหารระคายเคือง ใช้เป็นยาขับเสมหะ แต่ถ้ากินมากเกินไป จะทำให้เกิดอาเจียน ต้นตำแยแมวนี้ถอนเอาขั้นมาทั้งดินรากโยนทิ้งไว้ แมวเห็นเข้า จะตรงเข้ากลิ้งเกลือกแล้วรับประทานราก เป็นยาถอนพิษโรคของแมวดี ใบสด ๆ ปรุงเป็นแกงเลียงให้เด็กรับประทาน เป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายออกดี

[1]

  1. https://kaijeaw.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7/