ผู้ใช้:Phra Thavatxai Zamie 6101504044

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ วัดใหม่ทองเสน
ที่ตั้ง [1] 74 ถนน ทหาร แขวงถนนนครไชยศรี เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10200
พระประทาน พระป่าเลไลยก์
เวลาทำการ เปิดทุกวัน เวลา 08:00-17:00 น.
กิจกรรม บวชชีพราหมณ์ทุกวันพระใหญ่
ปูชนียวัดถุที่สำคัญ หอพระไตรปิฎก.พระอุโบสถและหลวงพ่อพระป่าเลไลยก์

วัดใหม่ทองเสน[แก้]

ประวัติวัดใหม่ทองเสน[แก้]

   วัดใหม่ทองเสนนี้พระธรรมอุดม(ถืก)ได้สร้างเพื่ออุทิศให้โยมบิดาชื่อว่า ทอง และโยมมารดาชื่อว่า เสน ปัจจุบันพื้นที่วัดใหม่ทองเสนซึ่งเคยมีอยู่หลายพันไร่ได้เป็นที่ตั้งของกองพลปตอ.และกรมทหารม้ายานเกราะ มีหลักฐานในแผนกการเงินกรมการศาสนาบัทึกว่า หมายเหตุ เงินค่าแลกเปลี่ยนที่ดินของวัดกับกระทรวงกลาโหม ฝากเป็นทุนนอน ๑๖,๐๐๐ บาท บัญชี ๑/๔๐ ดอกผลใช้ปฏิสังขรพระอาราม จนเนื้อที่ของวัดปัจจุบันเหลืออยู่ ๘ ไร่เศษ

อุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์

อุโบสถวัดใหม่ทองเสน[แก้]

    อุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์สมัยนิยมสมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ก่ออิฐถือปูนมีประตูทางเข้าด้านหน้า ๒ บาน ด้านข้าง ๒ บาน หน้าต่างด้านละ ๕ บาน เหนือบานประตูและหน้าต่างตกแต่งลายปูนปั้นเป็นช่อดอกไม้รอบอุโบสถ ประดิษฐานในเสมาคู่อยู่ในซุ้มจตุรมุขทรงโปร่ง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยทรวดทรงเรียวสร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ พุทธลักษณะงดงามมาก พระพักตร์แย้มเบิกบานและมีพระพุทธรูปรายรอบอีกหลายองค์  บานประตูด้านในของอุโบสถยังปรากฎภาพเขียนสีฝุ่นชัดเจน เป็นภาพเทพทวารบานในคติจีนรอบลานประทักษิณอุโบสถ มีกำแพงแก้วออกแบบซุ้มประตูงามแปลกตาผสมผสานศิลปะตะวันตก แสดงถึงการก่อสร้างว่าไม่ใช่งานชาวบ้าน

วัดใหม่ทองเสนพระพุทธรูปและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ[แก้]

หอไตรอายุกว่า ๑๐๐ ปี

    ด้านหน้าอุโบสถมีเจดีย์มอญ ๒ องค์ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมซึ่งทางวัดรักษาไว้ในสภาพเดิม เหนือกำแพงแก้วด้านหลังอุโบสถมีหอไตรอายุกว่า ๑๐๐ ปี สภาพทรุดโทรมซึ่งกรมศิลปากรได้อนุรักษ์ไว้ ด้านข้างภายนอกประตูกำแพงแก้ว มีเจดีย์ย่อมุมไม้ ๑๒ ๒ องค์ ตกแต่งลวดลายคล้ายศิลปะมอญ  สุดสนามหญ้าจากองค์เจดีย์มีกุฏิไม้สักหลังน้อยซึ่งมีผู้สร้างถวายพระ

พระพุทธรูปปูนขาวผสมทรายและน้ำอ้อย

   สิ่งสำคัญที่ดึงดูดผู้คนให้มายังวัดใหม่ทองเสนคือพระป่าเลไลย์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปด้านหน้า เป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยปูนขาวผสมทรายและน้ำอ้อย ลงรักปิดทอง ความสูง ๙ เมตรจำลองแบบมาจากพระป่าเลไลย์จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านหน้ามณฑปเป็นลานเอนกประสงค์ สำหรับทำบุญและถวายไทยทาน ขณะนี้ทางวัดได้ขยายพื้นที่ไปอีกส่วนหนึ่งซึ่งใช้สร้างอาคารที่พักสงฆ์ ๓ ชั้นเพื่อรองรับพระภิกษุที่มากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ไปกราบพระและร่วมสร้างเสนาสนะครั้งนี้ด้วย

ทำเนียบเจ้าอาสวัดใหม่ทองเสน

รูปที่ ๑ พระธรรมอุดม (ถึก)[แก้]

รูปที่ ๒ พระอธิการปั้น พ.ศ.๒๔๓๐ -๒๔๗๓

รูปที่ ๓ พระอธิการบุ่ง เปสโล พ.ศ.๒๔๗๓-๒๕๑๓

รูปที่ ๔ พระมหาสุวิชา สฌฺญโม พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๗

รูปที่ ๖ พระครูศรีปัญญาภิวัฒน์ (พระมหาทองคำ ปณฺญาทีโป) พ.ศ ๒๕๒๐-๒๕๔๕

รูปที่ ๗ พระครูโสภณวิริยคุณ (พระมหาประเสริฐ ถิรธมฺโม) พ.ศ.๒๕๔๕-ปัจจุบัน

วัดให่มทองเสน[Homework 1]Google. "Phra Thavatxai Zamie 6101504044" (Map). Google Maps. Google. ไม่ได้ป้อน URL

  1. ข้อมูล จาก วัดให่มทองเสน โดย Phra Thavatxai Zamie
  1. https://www.google.co.th/maps/place/Wat+Mai+Thongsen/@13.7941456,100.5216797,15z/data=!4m5!3m4!1s0x0:0x79464357ed39262c!8m2!3d13.7941456!4d100.5216797