ผู้ใช้:Nonphisutmetha/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐบาล รัฐบาล องค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง รัฐบาลเป็นองค์การที่ควบคุม ดูแล และบริหาร รวมถึงการออกแบบและสามารถบังคับใช้กฎหมาย สำหรับพื้นที่ปกครองหรือประเทศนั้นๆ แต่ในบางพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ระบบการปกครองแบบรัฐบาลหรือเรียกอีกชื่อคือ การปกครองแบบ “คอมมิวนิสต์” ในปัจจุบันเหลือการปกครองแบบนี้อยู่ 5 ชาติ คือ

  1. สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
  2. สาธารณะรัฐประชาชนจีน
  3. สาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  4. สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  5. สาธารณะรัฐสังคมนิยมคิวบา

ในแต่ละประเทศจะนิยามคำว่ารัฐบาลออกไปตามการปกครองของแต่ละประเทศ ซึ่งคำนี้ถูกตั้งความหมายขึ้น 2 ความหมาย คือ

  1. กิจกรรมการปกครอง
  2. กลุ่มบุคลที่มีอำนาจในการปกครอง

แต่ตามหลักความหมายของคำว่ารัฐบาลที่แท้จริงก็คือ กลุ่มคนหรือองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการบริหาร และปกครองประเทศ

ความหมาย รัฐบาล ( Government )[แก้]

รัฐบาลเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการมีอำนาจอธิปไตยมากำหนดนโยบายเพื่อบริหารประเทศแล้วนำนโยบายนั้นมาทำให้เกิดผล ซึ่งอำนาจรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ปกครองประเทศหรือบริหารประเทศจาการเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียงของประชาชนซึ่งรัฐบาลจะทำหน้าที่ตามนโยบายการบริหารประเทศที่ตอบสนองความต้องการหรือเจตนารมณ์ของสาธารณชนรัฐบาลเผด็จการ คือ รัฐบาลที่มีการปกครองโดยไม่คำนึงถึงความต้องการหรือเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งการปกครองแบบนี้แบ่งออกเป็นหลายชื่อเรียก เช่น การปกครองเผด็จการ การปกครองเผด็จการทรราช การปกครองเผด็จการฟาสซิสต์ หรือการปกครองเผด็จการนาซีและรัฐบาลแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งการปกครองแบบนี้เป็นการปกครองที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนมาก และเป็นการปกครองที่ประชาชนจะไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นที่การเมืองแต่อย่างใด หรือแสดงความคิดเห็นที่น้อยมาก ความหมายที่กล่าวมานั้น รัฐบาลถือเป็นส่วนสำคัญของประเทศ ที่ซึ่งรัฐทุกรัฐจะต้องมีรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการปกครองแบบ รัฐบาลประชาธิปไตยหรือรัฐบาลแบบเผด็จไว้เพื่อให้มีการปกครองหรือการบริหารประเทศให้มีความก้าวหน้าขึ้นอยู่ตลอด ซึ่งรัฐบาลนั้นถือเป็นองค์กรที่รวมไปถึงการทำงานของหลายฝ่าย เช่น กระทรวงต่างๆ กรมต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นกล่าวได้ว่ารัฐบาล คือ คณะบุคลที่มีอำนาจในการบริหารหรือปกครองประเทศซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ซึ่งการมีอำนาจที่กล่าวมานั้นจะได้มาด้วยการเลือกตั้ง การแต่งตั้ง หรือรวมไปถึงการสืบสายโลหิตตามทำเนียมที่มนุษย์เคยใช้ในสมัยก่อนก็ตาม หากบุคคลเหล่านี้ทำให้เกิดการปกครองได้สำเร็จ กลุ่มบุคคลเหล่านั้นถือมีฐานะเป็นรัฐบาลโดยทันที ซึ่งรัฐบาลนั้นก็จะสามารถตั้งข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ตามแบบของรัฐบาลผู้ซึ่งมีอำนาจการปกครองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ในการปกครองรัฐหรือประเทศนั้นๆ [1]

องค์ประกอบของรัฐบาล[แก้]

องค์ประกอบของรัฐบาลนั้นจะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันในแต่ละดินแดนหรือประเทศนั้นๆขึ้นอยู่กับระบบการปกครองของประเทศนั้นๆด้วย โดยองค์ประกอบที่จะมีนั้นได้กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญแล้วและในแต่ละประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่จะปกครองแบบใช้ส่วนประกอบเพียง 2 ส่วน คือส่วนที่ประจำและส่วนที่ไม่ประจำ เปรียบคือส่วนประจำคือพระมหากษัตริย์ และ ส่วนที่ไม่ประจำคือคณะรัฐมนตรี


1. พระมหากษัตริย์(ส่วนประจำ) พระมหากษัตริย์นั้นเป็นส่วนที่มีสำคัญและถาวรต่อรัฐบาลซึ่งพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ในการบริหารงานของประเทศโดยไม่ได้ทำงานอยู่ในรัฐสภาหรือสถานที่ราชกาลใดๆ แต่จะบริหารกิจการประเทศจากเบื้องบนในฐานะ “ประมุขของรัฐ” ซึ่งประมุขของรัฐนั้นไม่ได้มีหน้าที่แค่บริหารกิจการประเทศแต่ประมุขของรัฐนั้นเปรียบเสมือนผู้แทนหรือบุคคลที่คอยเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศต่างๆและประเทศเพื่อนบ้าน และประมุขของรัฐนั้นเปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์ของประเทศที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของประชาชนในประเทศ และประมุขของรัฐนั้นยังเป็นประมุขของฝ่ายบริหารอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆได้มอบอำนาจทางการบริหารให้แก่พระมหากษัตริย์หลายประการ เช่น การมีอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย , มีอำนาจในการสั่งใช้หรือยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก , มีอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ , มีอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนตำแหน่งของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่นประเทศไทย , ประเทศญี่ปุ่น , ประเทศมาเลเซีย ,กัมพูชา , บรูไน และอีกหลายประเทศนั้น พระมหากษัตริย์ มีฐานะของการเป็นที่เคารพสักการะหรือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนประชาชนในประเทศและในทางการเมืองพระมหากษัตริย์นั้นจะอยู่เหนือความรับผิดชอบในงานทั้งสิ้น และทั้งหมดนี้เพราะพระมหากษัตริย์นั้นประประมุขของประเทศ พระมหากษัตริย์จะไม่มีความคิดข้างทางการเมือง ไม่เลือกว่าจะอยู่ในลัทธิใด จะนับถือศาสนาใด หรือไม่ว่าจะมีฐานะอะไร ก็พระมหากษัตริย์จะเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าข้างรัฐบาลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดๆ เพราะจะทำการดำเนินงานใดๆตามคำแนะนำและยินยอมจากทางคณะรัฐมนตรีหรือรัฐสภา ตามหลักรัฐธรรมนูญที่มีการกำหนดไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำความผิดไม่ได้โดยปกติแล้วพระมหากษัตริย์นั้นมีอำนาจในการทำงานหลายอย่าง แต่จะไม่ใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายมอบให้ แต่จะใช้อำนาจที่มีนั้นทำตามคำแนะนำของของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง และสถาบันนั้นต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายและในทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ 2. คณะรัฐมนตรี(ส่วนไม่ประจำ) คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นส่วนที่ไม่ประจำ เพราะคณะรัฐมนตรีสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามเวลาหรือวิถีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ คณะรัฐมนตรีนั้นจะประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตั้งคณะรัฐมนตรีและมีรัฐมนตรีในแต่ละด้านแบ่งแยกกันตามหน้าที่แต่คณะรัฐมันตรีนั้นจะมีจำนวนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีจะมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงตั้งขึ้นมาก่อน ตามวิธีการในรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งจะมีข้อกำหนดอยู่ 2 ข้อ คือ พระมหากษัตริย์จะมีการแต่งตั้งนายกขึ้นมาก่อนโดยมีการปรานสภาจากตัวแทนผู้แทนราษฎรเป็นผู้ที่ต้องมารับตำแหน่ง เมื่อมีการแต่งตั้งนายกขึ้นมาแล้วนายกคือผู้ที่เลือกรัฐมนตรีอื่นๆโดยเลือกจากบุคคลที่มีความเหมาะสมและเห็นสมควรเพื่อเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรี แล้วทูลเกล้าฯถวายรายชื่อต่อพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธย โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่ลงนามรับสนองพระราชโองการของพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นการประกาศแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้นนอกจากนายกรัฐมนตรีแล้วองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรีต้องประกอบไปด้วยรัฐมนตรี 6 ประเภท

  1. รองนายกรัฐมนตรี
  2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. รัฐมนตรีว่าการประทรวง
  4. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
  5. รัฐมนตรีว่าการทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

6 ประเภทข้างต้นนั้นจะไม่มีอำนาจที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะที่จะกระทำการใดๆ แต่จะมีอำนาจในบางกรณีเท่านั้นเช่นนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ปฏิบัติน้าที่ทางราชการแทนจึงจะมีอำนาจในงานส่วนนั้น กล่าวคือนายกจะเป็นผู้มอบอำนาจนั่นเอง


อำนาจหน้าที่ของรัฐบาล[แก้]

รัฐบาลจะมีอำนาจหน้าที่ในการทำงานบริหารงานของทางราชการแผ่นดิน เป็นฝ่ายที่กำหนดนโยบายในการวงแผนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารหรือปกครองประเทศ รัฐบาลมีแค่หน้าที่ในการออกนโยบายแต่ฝ่ายที่ปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงตามนโยบายนั้นคือ ฝ่ายปกครอง ซึ่งฝ่ายปกครองมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานในส่วนนี้เพราะว่ากำลังคนที่มากและมีพร้อมในส่วนของเครื่องมือในการดำเนินการในรายละเอียดส่วนต่างๆเป็นประจำทุกวัน โดยการปฏิบัติงานนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และประโยชน์ส่วนรวมหรือเรียกกันอีกอย่างว่าบริการสาธารณะ (Public Service) ดังนั้นการกล่าวข้างต้นของอำนาจของรัฐบาล ไม่ได้มีแต่หน้าที่แค่ปกครองประเทศแต่ส่วนของรัฐบาลนั้นยังมีฝ่ายปกครองที่เป็นส่วนประกอบในการบริหารประเทศด้วยเพราะ ฝ่ายปกครองนั้นมีจำนวนคนที่มากและเหมาะแก่การทำงานในส่วนนี้ลำพังแล้วรัฐบาลที่ซึ่งเมื่อพิจารณาจากส่วนประกอบแล้ว จะมีพระมหากษัตริย์หนึ่งองค์ และมีนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน มีรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน ซึ่งทำให้ไม่สามารถบริหารหรือปกครองประเทศได้อย่างเท่าถึง ดังนั้นรัฐบาลจำกระจายอำนาจในการทำงานโดยกำหนดนโยบายเพื่อให้ฝ่ายต่างๆทำโดยมอบหมายให้ฝ่ายปกครองเป็นผู้รับไปดำเนินการเป็นส่วนมาก[2]

  1. http://www.baanjomyut.com/library_4/politics/02_1_3.html
  2. https://www.facebook.com/DroitAdministrative/posts/543728328976415