ผู้ใช้:Ninlada/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐฝรั่งเศส

République Française (ฝรั่งเศส)
ธงชาติฝรั่งเศส
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปารีส
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
การปกครองสาธารณรัฐเดี่ยว กึ่งประธานาธิบดี
ฟร็องซัว ออล็องด์
ฌ็อง-มาร์ก เอโร
การสร้างชาติ
พ.ศ. 1386 (สนธิสัญญาแวร์เดิง)
พ.ศ. 2501 (สาธารณรัฐที่ 5)
พื้นที่
• รวม
632,834 ตารางกิโลเมตร (244,339 ตารางไมล์) (43)
?
ประชากร
• 2550 ประมาณ
64,102,1401 (20)
112 ต่อตารางกิโลเมตร (290.1 ต่อตารางไมล์) (68)
สกุลเงินยูโร2 (EUR)

ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นาทางเศรษฐกิจอันดับที่ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่นและเยอรมันซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกับ สหราชอาณาจักรโดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ามากกว่า5%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศสคิดเป็นมูลค่า6% ของการค้าทั่วโลกมีผลทาให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกๆ เป็นผู้ส่งออกอันดับที่4ของโลก (ส่งออกผลผลิตภาคเกษตรและภาคบริการเป็นอันดับ 2 ,ส่งออกผลิตผลด้านอุตสาหกรรมเป็นอันดับ 4 , การส่งสินค้าออกของประเทศฝรั่งเศสคิดเป็น21%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงมากซึ่งรัฐบาลเป็นกลไกสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ดาเนินไปข้างหน้าโดยให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจในเช่น การบริหาร การจัดการทรัพยากร รวมถึงอำนาจทางการคลังไปสู่ท้องถิ่นเป็นหลัก[1]

ความเป็นมาของการคลังสาธารณะประเทศฝรั่งเศส[แก้]

ประเทศฝรั่งเศสมีสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงมีการพัฒนาสถาบันขึ้นมาหลายแห่งเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการทางานของสภาเพื่อให้สภามีความเข้มแข็งตั้งแต่ศตวรรษที่17กษัตริย์ฝรั่งเศสมีความต้องการใช้เงินจานวนมากและมีบุคคลมากมายต้องการมีตำแหน่งในสภาจึงนาไปสู่การซื้อตำแหน่งๆโดยซื้อขายผ่านกษัตริย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าจะได้รับตาแหน่งเหล่านั้นอย่างแน่นอนการกระทาดังกล่าวจะเป็นตำแหน่งของชนชั้นสูงหรือที่เรียกว่า อีลีท (Elite) ปีคศ. 1604 ได้มีการสร้างระบบภาษีใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่า ภาษีพอเล็ต (the paulette tax)ซึ่งจะสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาสามารถตั้งสานักงานจัดเก็บภาษีนี้ในนามของสภาได้เพื่อส่งเงินให้กับรัฐบาลกษัตริย์โดยถือว่าสิทธ์ในการตั้งสานักงานเก็บภาษีสามารถสืบทอดตระกูลโดยผู้ตั้งสานักงานจะจ่ายเงินจานวนหนึ่งสาหรับการจัดทาสานักงานวิธีการนี้ดาเนินมาจนถึงศตวรรษที่18 เจ้าของสานักงานในนามสภาจะได้รับสถานะทางสังคมผ่านการรับสิทธิในการแต่งงานกับตระกูลขุนนางกลุ่มโนเบิ้ล ที่เป็นตระกูลอันเก่าแก่อันเป็นกลุ่มที่ทาหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองสาเหตุนี้ปี ค.ศ.1700 สมาชิกของสภาส่วนใหญ่จึงกลายเป็นผู้ร่ารวย

ช่วงระยะเวลาการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่15 (ปกครองระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1715-1774) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ปกครองระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1774-1792)ได้มีที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีในปัจจุบันเพื่อกำหนดนโยบายของรัฐและเสนอโครงการต่างเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและบ้านเมืองแก่พระเจ้าแผ่นดินที่สมควรกล่าวถึงในที่นี้คือเทอร์เกอร์ (Turgot) และเน็คเคอร์(Necker)ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้ที่เสนอแนะให้มีการปฏิรูปปรับปรุงระบบภาษีของฝรั่งเศสใหม่โดยให้ทาการจัดเก็บภาษีจากชนชั้นสูงแต่วิธีนี้ไม่ความสำเร็จจึงทาการต่อต้านจากสภาหรือสภากฎหมายซึ่งสมาชิกของสภานี้ได้มาด้วยการซื้อตำแหน่งเพื่อได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ฝรั่งเศส

“การโจมตีของกองทหารปรัสเซีย”กองทัพของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศส

ปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับพระคลังทาให้กษัตริย์ฝรั่งเศสต้องขึ้นภาษีกษัตริย์ฝรั่งเศสได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้วางแผนดาเนินการทั้งหมดช่วงศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ฝรั่งเศสมีข้อบกพร่องในเรื่องการขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของประเทศและขาดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามนโยบายต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งดาเนินการมาตั้งแต่สมัยการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 นับตั้งแต่ ช่วงระยะเวลาสงครามกับสเปนหลังจากการสวรรคต ของกษัตริย์หลุยส์ที่14นับตั้งแต่ช่วงระยะเวลา สงครามกับสเปนหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์หลุยส์ที่14 ผู้นาฝรั่งเศสก็หันไปใช้นโยบายในการ หลีกเลี่ยงการขยายตัวของความขัดแย้งต่างๆที่จะนำไปสู่ความรุนแรงขนาดใหญ่ปี คศ. 1740 รัสเซีย บุกเข้าโจมตีออสเตรียฝรั่งเศสถูกดึงเข้าสู่สงครามเพื่อช่วยเหลือต้านทานกองกาลัง ปรัสเซีย เวียนนาและ อังกฤษ ที่ร่วมเป็นพันธมิตรและเป็นศัตรูกับราชวงศ์ฮับเบิร์ก (Habsburg) มาแต่เดิมการสงครามใช้เวลานานถึง 8 ปีโดยสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1748 ปีค.ศ. 1754 ฝรั่งเศสก็ทาสงครามอีกกับอังกฤษในบริเวณอเมริกาเหนือขณะเดียวกันบริเวณภายในทวีปยุโรป รัสเซียได้ทาสัมพันธไมตรีกับอังกฤษโดยร่วมมือกันบังคับกษัตริย์หลุยส์ที่ 15 ให้ยกเลิกวัฒนธรรมที่เคยมีมาในอดีตเพื่อเป็นพันธมิตรกับออสเตรียโดยการปฏิวัติทางการเมืองหรือที่เรียกว่า "diplomatic revolution" เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีคศ. 1756 ซึ่งนาไปสู่สงครามเจ็ดปี(Seven Years’ War”) กองทัพของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศสในขณะที่อังกฤษบุกเข้ายึดดินแดนฝรั่งเศสในคานาดา (Canada) บริเวณคาริบเบียนและอินเดียช่วงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ปกครองระหว่างช่วงปีคศ. 1715-1774) ยังคงมีสงครามเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอีกหลายครั้งถึงแม้ว่าบางอันจะมีมีผลกับการทาสัญญาสันติภาพแล้วก็ตามสาเหตุที่ทาให้ฝรั่งเศสต้องสูญเสียอินเดียและคานาดารวมทั้งสูญเสียตาแหน่งความเป็นผู้นาของยุโรปที่เคยเป็นมาในอดีตเหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นจากการทาสัญญาสงบศึกปารีสในปีคศ. 1763 ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงเริ่มเกิดการต่อต้านระบบการปกครองแบบกษัตริย์และวิธีการต่างๆที่ใช้ในการบริหารประเทศการปฏิวัติที่เริ่มต้นก่อตัวขึ้นในการเมืองส่วนหนึ่งมาจากความอ่อนแอของระบบศาลฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมาจากการไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและไม่มีศาลสูงสุดที่มีอานาจเด็ดขาดไม่มีรัฐธรรมนูญที่ทาหน้าที่ทบทวนพระราชบัญญัติต่างๆแต่จะใช้ระบบที่ประณีประนอมเข้าแทนการปฏิวัติฝรั่งเศสนาไปสู่การล่มสลายระบอบกษัตริย์หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการจลาจลมีกลุ่มการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นมากมายโดยแต่ละกลุ่มต่างมีความขัดแย้งกันต่อมามีการก่อตั้งศาลยุติธรรมเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary Tribunal) ณ กรุงปารีสได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทั่วไปขึ้นมาโดยใช้ตำรวจเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ

นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนในบทบาทของความเห็นของสาธารณะที่เรียกว่า “public opinion” ในประเด็นที่ว่ากลไกในการแสดงออกความคิดเห็นของประชาชนมีที่มาอย่างไรได้มีการสะท้อนความเห็นของสาธารณะต่อนโยบายของรัฐบาลคณะปฏิวัติ รัฐบาลฝรั่งเศสมีความพยายามที่จะทาระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นรายได้ให้แก่รัฐเพื่อนามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเรียกว่า ภาษีทัลลี (taille) เป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของราชวงศ์โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ได้แก่กลุ่มนักบวชชนชั้นสูง หรือที่เป็นพวกโนเบิ้ล และพนักงานที่ทางานให้กับมงกุฏราชกุมาร บุคลากรทางด้าน

โครงสร้างและระบบการคลัง[แก้]

ระบบภาษี[แก้]

แหล่งที่มาของรายได้[แก้]

สัดส่วนรายรับตามแหล่งที่มาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แหล่งที่มาของรายได้ สัดส่วนรายรับ (%)
ภาษีทางตรง 42%
เงินอุดหนุน 20%
รายรับอื่นๆ 12%
ภาษีทางอ้อมและอากรอื่นๆ 11%
เงินอุดหนุนเพื่อการกระจายอำนาจและอื่นๆ 10%
รายได้จากส่วนต่างในงบดุลบัญชี 5%

แหล่งที่มาของรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดแบ่งเป็น 3 ประเภทกว้างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1.ภาษีอากร รายได้จากภาษีอากรถือเป็นรายได้หลักขององค์กรปกครองท้องถิ่น และถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่จะเป็นหลักประกันความเป็นอิสระทางการคลังของท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองประเภท ดังต่อไปนี้

1.1. ภาษีอากรทางตรง

รายได้จากภาษีทางตรงมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถกำหนดอัตราภาษีส่วนนี้ได้เอง การจัดการภาษีท้องถิ่น จัดการโดยองค์กรของรัฐบาลกลางที่เรียกว่า สำนักเศรษฐกิจการคลัง สังกัดกระทรวงงบประมาณ โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเรื่องภาษีท้องถิ่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดฐานภาษีให้ท้องถิ่น แล้วส่งให้ท้องถิ่นกำหนดอัตราภาษีต่อไป แล้วจึงส่งข้อมูลดังกล่าวนั้นกลับมายังรัฐเพื่อทำการคำนวณภาษี ซึ่งรัฐก็จะส่งแบบเสียภาษีให้กับผู้เสียภาษีแต่ละราย และทำหน้าที่จัดเก็บและตรวจสอบภาษีโดยมีสำนักงานสรรพากรแห่งชาติ จากนั้นจึงจะจัดสรรคืนให้ท้องถิ่นแต่ละแห่ง อันได้แก่

1.1.1.ภาษีเพื่อการพักอาศัย (taxe d' habitation) จะเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือผู้ครอบครองโรงเรือนซึ่งมีเครื่องเรือนพร้อม และไม่ว่าบุคคลนั้นจะพักอาศัยอยู่ชั่วคราวหรือถาวรก็ตาม ซึ่งภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 26.2 ของรายได้จากภาษีทางตรงทั้งหมด อไป

การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยมีปฏิทิน ดังต่อไปนี้

  • ปลายเดือนธันวาคม รัฐบาลกลางจะพิจารณารัฐบัญญัติว่าด้วยงบประมาณประจำปี ซึ่งจะกำหนดเพดานภาษีไว้ เพื่อให้ท้องถิ่นกำหนดได้ไม่เกินอัตราภาษีนั้น
  • เดือนกุมภาพันธ์ แต่ละ อปท. จะได้รับบันทึกเอกสารจาก Public Finances General Directorate หรือ DGFiP ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบด้านนี้ โดยเป็นบันทึกเกี่ยวกับฐานภาษีที่ใช้คำนวณในแต่ละท้องถิ่น และส่วนที่เป็นเงินชดเชย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากส่วนกลางนี้ อปท.จะนำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดงบประมาณของ อปท. ว่าจะจัดเก็บอัตราภาษีจำนวนเท่าใด โดยในช่วงวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการออกเสียงงบประมาณของท้องถิ่นในสภาท้องถิ่น อปท. ก็จะส่งข้อมูลเหล่านี้คืนส่วนกลาง
  • เดือน เมษายน – พฤษภาคม หน่วยงานกลางจะทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของอัตราภาษีของแต่ละ อปท. ที่ส่งกลับคืนไปว่าอยู่ในเพดานที่รัฐกำหนดไว้หรือไม่
  • เดือน กรกฎาคม – สิงหาคม หน่วยงานกลางจะทำหน้าที่คำนวณภาษีของผู้เสียภาษีแต่ละราย
  • เดือนกันยายน รัฐจะส่งแบบเสียภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีแต่ละคน และวันสุดท้ายที่กำหนดให้เสียภาษี ที่อยู่อาศัย คือ วันที่ 15 พฤศจิกายน ซึ่งหลังจากนี้ ถ้าไม่ดำเนินการเสียภาษี จะได้รับจดหมายจากรัฐบาลกลาง และเสียเพิ่มร้อยละ 10 ซึ่งถ้ายังไม่จ่ายก็จะดำเนินการยึดเงินจากบัญชีธนาคาร โดยบัญชีธนาคารของทุกคนในฝรั่งเศสรัฐบาลกลางจะมีหลักฐานเก็บไว้
จากปฏิทินภาษีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า กว่า อปท. จะได้รับการจัดสรรเงินคืนมา ก็ต้องรอถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน ทั้งๆ ที่ อปท. ออกเสียงข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดอัตราภาษีตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม ถือเป็นช่องว่างของช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร จึงมีผลกระทบต่อระบบรายได้ การเงินการคลังของแต่ละ อปท. จึงได้มีการออกแบบ ระบบการให้เงินล่วงหน้า ขึ้นมา ระบบการเงินล่วงหน้าเป็นการที่รัฐบาลกลางจัดสรรเงินให้แก่ อปท.ไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้มีงบประมาณในการดำเนินงานในกิจการของ อปท.เอง

1.1.2.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (taxe fonciere des proprietes beties) จะเรียกเก็บจากเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยคำนวณจากการประเมินค่าเช่าเฉลี่ยของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 25.1

1.1.3.ภาษีบำรุงท้องที่ (taxe fonciere des proprietes non beties) จะเรียกเก็บจากเจ้าของที่ดินซึ่งไม่มีโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น โดยคำนวณจากราคาประเมินค่าเช่าเฉลี่ยของที่ดิน สัดส่วนของภาษีบำรุงท้องถิ่นจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.4

1.1.4.ภาษีวิชาชีพและธุรกิจ (taxe professionnelle) จะเรียกเก็บจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระต่างๆ ภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนสูงสุดคือประมาณร้อยละ 44.3

1.2. ภาษีอากรทางอ้อม

นอกเหนือจากภาษีทางตรงแล้ว ยังมีรายได้ทางอื่น ๆ จากทรัพย์สิน สาธารณูปโภค บริโภค และจากการประกอบพาณิชย์ ซึ่งเป็นรายได้ที่หน่วยการปกครองท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจเรียกเก็บในรูปแบบค่าเช่าและค่าอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ และในรูปลักษณะการให้บริการเพิ่มเติมได้ เช่น ค่าระวางขนส่ง, ค่าธรรมเนียมเพื่อการลงทุน, ค่าธรรมเนียมอาคารสูง, ภาษีป้าย, ค่าธรรมเนียมการต่อทะเบียนรถยนต์, ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเรียกเก็บในรูปของค่าบริการที่ท้องถิ่นหรือองค์กรความร่วมมือในรูปวิสาหกิจต่างๆ เป็นผู้จัดทำบริการ เช่น ค่าบริการกำจัดขยะและของเสีย, ค่าไฟฟ้า เป็นต้นรายได้ชนิดนี้ถือเป็นรายได้ที่อิสระที่สุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มักจะอยู่ในที่ห่างไกลจากส่วนกลาง เช่น เทศบาลชนบทที่มีป่าไม้ในครอบครอง นอกจากนี้รายได้ชนิดนี้ขิ้นอยู่กับทรัพย์สินขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีมากหรือน้อย แต่ส่วนใหญ่มักจะมีน้อย


2.เงินอุดหนุนจากรัฐ ในทุกปีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

2.1. เงินอุดหนุนเพื่อการดำเนินงาน (donation globale de fonctionnement - DGF) เงินอุดหนุนประเภทนี้มีลักษณะเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อชดเชยรายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นในบัญชีงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ซึ่งในแต่ละปีรัฐจะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนเงินอุดหนุนนี้ตามฐานการคำนวณต่างๆ เช่น อัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, จำนวนผู้อยู่อาศัยและสภาพของชุมชน เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขในปี ค.ศ.1995 หน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลจะได้รับเงินอุดหนุนส่วนนี้มากที่สุด (78.9%) รองลงมาได้แก่จังหวัด (16.9%) และภาค (4.2%) ตามลำดับ

2.2 เงินอุดหนุนเพื่อการลงทุน (donation globale d' equipement - DGE) เงินอุดหนุนประเภทนี้เป็นลักษณะของการสนับสนุนทางการเงินในรายจ่ายที่อยู่ในระบบบัญชีเพื่อการลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งฐานการจัดสรรเงินส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะและรูปแบบของหน่วยการปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาลที่มีประชากรมากกกว่า 2,000 คน และองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาล จะได้รับตามสัดส่วนของงบลงทุน ส่วนจังหวัดจะได้รับตามโครงการเพื่อการลงทุนโดยตรง โดยจะวางน้ำหนักการพิจารณาไปที่จำนวนผู้ยากไร้ในจังหวัดนั้นๆ รวมถึงความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เทศบาล เป็นต้น โดยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินอุดหนุนด้านนี้จะจัดสรรให้กับเทศบาล ส่วนจังหวัดและภาคจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

2.3. เงินอุดหนุนเพื่อการกระจายอำนาจ (donation globale de décentralisation - DGD) เงินอุดหนุนประเภทนี้ริเริ่มมีขึ้นภายหลังกระบวนการกระจายอำนาจ เพื่อให้ท้องถิ่นมีเงินงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการตามอำนาจและภารกิจหน้าที่ใหม่ๆ ที่ได้รับการกระจายอำนาจมา โดยมากจะเป็นเงินอุดหนุนด้านการใช้จ่ายในภารกิจใหม่ๆ การฝึกอบรมบุคลากร และการลงทุนในด้านโรงเรียน โดยจังหวัดถือเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ได้รับเงินอุดหนุนนี้มากที่สุด (เนื่องจากเป็นองค์กรที่รับภารกิจหน้าที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดภายหลังกระบวนการกระจายอำนาจ) คือประมาณร้อยละ 74.1 รองลงมาได้แก่ภาค ส่วนเทศบาลได้รับเงินอุดหนุนส่วนนี้น้อยมาก


3.เงินกู้ยืม (emprunts) ก่อนการกระจายอำนาจในปี ค.ศ.1982 ท้องถิ่นมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของตน แต่ในปัจจุบันท้องถิ่นสามารถดำเนินการกู้ยืมเงินได้อย่างอิสระตามเงื่อนไขที่ปรากฎในท้องถิ่นทั่วๆไป โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติหรือถูกกำหนดวงเงินกู้ยืมจากส่วนกลาง โดยแหล่งเงินทุนกู้ยืมที่สำคัญจะมาจากองค์กรที่รัฐจัดตั้งขึ้น คือ กองทุนเพื่อการออมทรัพย์และกู้ยืม (the Caisse des Dépots et Consignations) หรือ CDC โดยจะทำงานในลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินให้กับท้องถิ่น และทำงานประสานกับธนาคารออมทรัพย์และแหล่งทุนอื่นๆ ซึ่งที่สำคัญได้แก่ กองทุนเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แหล่งที่มาของรายจ่าย[แก้]


1.รายจ่ายตามลักษณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแบ่งแยกได้ 2 ส่วนคือ

1.1.รายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน เป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี เช่น รายจ่ายเพื่อนการบำรุงรักษาอาคารและสถานที่ ถนนหนทาง เงินเดือนและค่าจ้าง ค่าครุภัณฑ์ รายจ่ายประกันสังคม รายจ่ายเกี่ยวกับนักศึกษา เงินอุดหนุนที่จ่ายให้กับองค์กรอื่น ๆ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่องค์กรยืมมา เป็นต้น รายจ่ายนี้คิดเป็นร้อยละ 68.29 องรายจ่าทั้งหมดของเทศบาล

1.2.รายจ่ายเพื่อการลงทุน เป็นรายจ่ายที่จ่ายเป็นครั้งคราว เช่น รายจ่ายที่ใช้ซื้อที่ดินสิ่งปลูกสร้าง รายจ่ายที่ใช้เงินต้นของเงินกู้ เป็นต้น


2.รายจ่ายตามลักษณะทางกฎหมาย

2.1 รายจ่ายที่จำเป็น คือรายจ่ายที่จะต้องใช้หนี้ในทันที และรายจ่ายที่กฎหมายที่ระบุไว้ชัดเจน เช่น ค่าจ้างและเงินเดือน ค่าครุภัณฑ์ เป็นต้น รายจ่ายนี้จะต้องบรรจุไง้ในงบประมาณของตนและในจำนวนที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้น รัฐบาลกลางจะเข้ามาแทรกแซง การที่รายจ่ายจำเป็นมีจำนวนมาก ทำให้องค์กรมีอิสระในการตัดสินใจได้น้อย

2.2 รายจ่ายที่ต้องห้าม เป็นรายจ่ายที่กฎหมายที่บัญญัติห้ามไว้ หรือรายจ่ายที่ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของเทศบาล จังหวัด ภาคและมณฑล เช่น เงินที่องค์กรจ่ายให้กับศาสนาต่าง ๆ ถือว่าขัดกับมาตรา 2 แห่งกฎหมาย ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2448 หรือจ่ายให้กับเอกชนที่ไม่ผลประโยชน์กับองค์กร ถือว่าเป็นรายจ่ายที่ต้องห้าม

ระบบงบประมาณ[แก้]

กรอบงบประมาณ[แก้]


1 งบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.1.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน (Operating Expenditure) ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้างของบุคลากร ค่าครุภัณฑ์ ค่าประกันสังคม รายจ่ายเพื่อการศึกษา หรือเงินอุดหนุนที่ท้องถิ่นจ่าย เพื่อที่จะสามารถใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการดำเนินงานได้

1.2.งบประมาณรายรับเพื่อการดำเนินงาน (Operating Revenue) ได้แก่ ภาษีท้องถิ่น เงินช่วยเหลือของรัฐ รายรับที่มาจากการบริหารจัดการการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ใบแจ้งหนี้ค่าน้ำ ค่าธรรมเนียมการใช้สระว่ายน้ำ ค่าธรรมเนียมในการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ หรือคูปองค่าอาหารโรงเรียน

ตัวอย่างงบประมาณรายจ่ายและรายรับเพื่อการดำเนินงานของเทศบาล (ปี 2009)
รายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน รายรับเพื่อการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายพนักงาน 40% ภาษีท้องถิ่น 46%
การชำระเงินทางสังคมและเงินอุดหนุน 15% ภาษีอื่นๆ 11%
รายจ่ายการดำเนินงานอื่นๆ 29% เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 29%
การสนับสนุนทางการเงินในส่วนเงินทุน 16% รายได้อื่นๆ 14%


2.งบประมาณเพื่อการลงทุน มีลักษณะเดียวกับงบเพื่อการดำเนินงาน คือ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

2.1.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน (Capital Expenditure) ได้แก่ เงินที่เป็นรายจ่ายจริงจากการลงทุน ทั้งการซื้อสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ เพื่อการลงทุนที่จ่าย ให้กับ อปท.

2.2.งบประมาณรายรับเพื่อการลงทุน (Capital Revenue) ได้แก่ เงินกู้ เงินช่วยเหลือด้านการลงทุนที่รัฐให้ หรือเงินช่วยเหลือที่ได้จาก อปท.อื่น

ตัวอย่างงบประมาณรายจ่ายและรายรับเพื่อการลงทุนของเทศบาล (ปี 2009)
รายจ่ายเพื่อการลงทุน รายรับเพื่อการลงทุน
การชำระคืนเงินกู้ 18% รัฐบาลกลางและเงินอุดหนุน ภาษีท้องถิ่น 32%
เงินอุดหนุนการลงทุน 6% ภาษีอื่นๆ 11%
ค่าใช้จ่ายในการลงทุน 70% เงินกู้ 23%
รายจ่ายเพื่อการลงทุนอื่นๆ 16% การจัดหาเงินทุนจากส่วนปฏิบัติการ 36%


หลักการงบประมาณที่สำคัญ[แก้]


1. หลักความสมดุลระหว่างรายรับ – รายจ่าย (Equilibrium Rule)

ใช้ได้กับระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่สามารถใช้ได้กับระดับรัฐบาลกลางหรือ การประกันสังคม เนื่องจาก ในระดับรัฐบาลกลางหรือการประกันสังคม เป็นลักษณะของงบเกินดุลหรือขาดดุลหรือเท่าดุล ผลของหลักความสมดุล คือ ห้ามจัดทำหรืออนุมัติงบประมาณที่มีลักษณะเกินดุล รวมทั้ง แต่ละส่วนของงบประมาณจะต้องมีลักษณะเฉพาะหรือมีอิสระต่อกัน เช่น กรณีการห้ามกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้ในการให้เงินช่วยเหลือในส่วนของการลงทุนอื่นๆ ในลักษณะที่เป็น เงินค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนของบุคลากร

  • ข้อยกเว้น คือ สามารถอนุมัติงบประมาณเพื่อการดำเนินงานในลักษณะเกินดุล เพื่อนำไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อการลงทุนก่อสร้างสาธารณูปโภค
  • หลักการเฉพาะ คือ หลักการจัดการด้านการเงินด้วยตนเอง เป็นลักษณะการให้อำนาจแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเงินภาษีไปลงทุนใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทอื่นๆ ได้ กล่าวได้ว่า หลักความสมดุลระหว่างรายรับ – รายจ่าย

ถือเป็นหลักการสำคัญของหลักการจัดทำงบประมาณ


2.หลักการทองคำ (The Golden Rule)

ห้ามกู้เงินใหม่มาใช้คืนเงินกู้เก่า เป็นหลักการที่นำไปใช้ค่อนข้างเคร่งครัด ไม่อนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเงินที่กู้ยืมมาไปลงทุนในระบบสาธารณูปโภคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องคืนเงินที่กู้มา โดยจะต้องมีรายรับเฉพาะที่ถูกกำหนดไว้ แล้วนำเงินนี้ไปใช้คืน ไม่ใช่ไปกู้เงินใหม่ ซึ่งถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย[2]

กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี[แก้]

กระบวนการจัดทำงบประมาณ มีหลักสำคัญ คือ หลักระยะเวลา 1 ปีงบประมาณ หลักนี้ มีข้อพิจารณา คือ แต่ละปีงบประมาณจะต้องถูกจัดเตรียมและถูกเสนอโดยฝ่ายบริหาร เช่น นายกเทศมนตรี หรือประธาน อบจ. งบประมาณจำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากสภาของท้องถิ่นเพื่อจัดเก็บภาษี ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เช่น ในปีงบประมาณ 2011 ก็จะต้องได้รับการอนุมัติก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2011

การกำหนดว่าปฏิทินงบประมาณของ อปท. จะต้องเป็นก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เนื่องมาจาก อปท. จำเป็นต้องได้รับข้อมูล ข่าวสารจากรัฐ เพื่อจะได้เตรียมการจัดทำงบประมาณ จึงไม่สามารถกำหนดให้เป็นช่วงต้นปีหรือปลายปีได้ เช่น ในกรณีของงบประมาณ ปี 2011 ของรัฐบาลกลางจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ในวันที่ 29 ธันวาคม 2010 เพื่อเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการจัดเตรียมงบประมาณของ อปท. ซึ่งมีการอนุมัติก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2011 เป็นต้น

งบประมาณของ อปท. จะไม่ได้รับอนุมัติจากสภา อปท. ทั้งหมดในครั้งเดียว แต่จะแบ่งออก เป็น 2ขั้นตอน ได้แก่

  • ขั้นตอนที่ 1 การอนุมัติในรายละเอียด คือ อนุมัติแต่ละเภทของงบประมาณรายจ่าย
  • ขั้นตอนที่ 2 การอนุมัติในหมวดรายจ่าย ซึ่งเป็นงบประมาณที่มีนขนาดใหญ่กว่า โดยอนุมัติเป็นหมวดๆ ไป เช่น งบประมาณรายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน เช่น จะมีหมวด 011 ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ ค่าจ้าง เงินเดือนของบุคลากร เป็นต้น
  1. ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท วางแผนจัดทำเอกสารร่างงบประมาณรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยทำเอกสารคาดการณ์ล่วงหน้า
  2. ต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของปี
  3. ยื่นแผนงบประมาณรายรับ-รายจ่ายให้กับตัวแทนของรัฐบาล คือกระทรวงงบประมาณ เป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และการค้าต่างประเทศ
  4. มีการตรวจสอบงบประมาณรายรับ-รายจ่าย โดยศาลตรวจเงินแผ่นดิน
  5. ผ่านการพิจารณานาจากศาลตรวจเงินแผ่นดิน ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่าย
  6. สมุห์บัญชี เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงงบประมาณ มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน แต่ไม่ได้มีหน้าที่ควบคุม
  7. ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมงบประมาณรายรับ-รายจ่าย หรือผู้ที่ได้รับเงิน คือ สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท

การบริหารงบประมาณ[แก้]

การบริหารงบประมาณถือเป็นความเฉพาะของประเทศฝรั่งเศสในการจัดการกับงบประมาณที่ได้รับการบริหารงบประมาณ ในนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เช่น รัฐ อปท. ตัวแทนของมหาชน จำเป็นต้องดำเนินการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน และสมุหบัญชี ผู้มีหน้าที่จ่ายเงิน ต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ ไม่อย่างนั้นจะเกิดความไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่ เราเข้าใจกันแล้วว่าผู้มีอำนาจจ่ายเงิน คือ ผู้ตัดสินใจสั่งจ่ายเงิน แตกต่างจากผู้จ่ายเงิน คือ สมุห์บัญชีสาธารณะ มีอำนาจเพียงผู้เดียวในการจ่ายเงิน ซึ่งเป็นข้าราชการของกระทรวงงบประมาณ เห็นได้ชัดว่า มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ชัดเจนระหว่างผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินและผู้มีอำนาจในการจ่ายเงินในส่วนของผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงิน ก็มาดูตามแต่ละประเภทของ อปท.เห็นได้ว่าในระดับรัฐ ก็จะเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งจ่าย ในหน่วยงานท้องถิ่น ก็จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตัวแทนของรัฐในระดับท้องถิ่น ในส่วนของ อปท. ในระดับเทศบาลก็จะเป็นนายกเทศมนตรี ในเขตสหการ เป็นประธาน ในส่วนของ อบจ. เป็นประธาน ภาคก็เป็นประธานเช่นกัน ในส่วนของตัวแทนบริษัทมหาชนเป็นผู้อำนวยการที่มีอำนาจสั่งจ่าย เงินของ อปท. เป็นเงินที่ได้มาจากเงินช่วยเหลือ และรายได้ที่ อปท.เก็บได้ สมุห์บัญชี เป็นผู้จ่ายเงินจะเป็นข้าราชการ สังกัดกระทรวงงบประมาณ นี่คือ อีกส่วนหนึ่งที่พิจารณาว่า การควบคุมงบประมาณ มีทั้งภายนอกและภายในกรณีประเทศไทยการควบคุมภายในจะควบคุมโดยสำนักงบประมาณ หรือโดยกรมบัญชีกลางส่วนการควบคุมภายนอกจะควบคุมโดยสตง.แต่ที่พูดถึงท้องถิ่น ในส่วนของท้องถิ่นคือ สมุห์บัญชี เป็นผู้มีอำนาจจ่ายเงินแต่ไม่ได้เป็นผู้ควบคุม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง[แก้]

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณประจำปีของรัฐบาลฝรั่งเศส[แก้]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทจะต้องวางแผนงบประมาณรายรับ - รายจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจัดทำเป็นเอกสารคาดการณ์ล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้บังคับ ระบบบัญชีงบประมาณโดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการดำเนินการ (fonctionement) ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ - รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการด้านงบประจำ การจัดซื้อจัดจ้าง ค่าจ้างและค่าตอบแทนบุคลากร และการใช้จ่ายเพื่อจัดทำภารกิจโดยทั่วไป

2.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการลงทุน(investissement) ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ-รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการที่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือมีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน เช่น งานด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น โดยทั่วไป รายจ่ายเพื่อการดำเนินการจะเป็นสัดส่วนหลักของการใช้จ่ายในภาคท้องถิ่น กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 60 - 70 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน

หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศฝรั่งเศส[แก้]

ศาลตรวจเงินแผ่นดินภาค ซึ่งมีลักษณะเป็นการควบคุมให้ถูกต้องหรือชอบด้วยกฎหมายทั้งในด้านระบบบัญชี ระบบงบประมาณและการบริหารงบประมาณ ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการคลังให้กับท้องถิ่นเพื่อให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง

ภายหลังกฎหมายกลางเกี่ยวกับการกระจายอำนาจได้ออกบังคับใช้ในปี ค.ศ.1982 ได้มีการสร้างกลไกควบคุมทางการคลังขึ้นมาใหม่ โดยใช้ระบบการควบคุม "ความชอบด้วยกฎหมาย" เช่นเดียวกันกับประเด็นทางปกครองที่มีศาลปกครอง นั่นคือ ศาลตรวจเงินแผ่นดินภาค (la chambres régionales des comptes) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทดแทนอำนาจในการควบคุมโดยตรงของรัฐบาลที่ถูกยกเลิกไป ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 26 แห่ง กระจายอยู่ในทุกภาคของฝรั่งเศส มีอำนาจหน้าที่ใน 3 ประการ ดังต่อไปนี้

1.การควบคุมบัญชี(le contrôle comptable) ศาลตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบบัญชีรายรับ-รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ โดยจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายทุกชนิดของหน่วยการปกครองท้องถิ่น บทบาทในด้านนี้จึงคล้ายกับเป็น "ผู้สอบบัญชี" ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.การควบคุมงบประมาณ (le contrôle budgétaire) การควบคุมด้านนี้มีลักษณะเป็นการควบคุมระเบียบวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีการดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการควบคุมจำเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนของรัฐกับศาลตรวจเงินแผ่นดินภาค

3.การควบคุมการบริหารงบประมาณ (le contrôle de gestion) บทบาทในด้านนี้มีลักษณะคล้ายกับเป็น "ที่ปรึกษาทางการคลัง" ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างถูกต้อง[3]

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง[แก้]

รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1958 แต่ก็มีการแก้ไขหมวดที่จำเป็น การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 2003 มีผลกระทบโดยตรงต่อการกระจายอำนาจการคลังของฝรั่งเศสโดยเป็นการยกเลิกกฎหมายการคลังท้องถิ่นให้เป็นหลักการทางรัฐธรรมนูญซึ่งหลักการดังกล่าวจะมีผลผูกพันฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หลักการใหม่นี้เป็นการเพิ่มหลักการกระจายอำนาจทางการคลัง 4 ประการ คือ

1.หลักการความเป็นอิสระทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการถ่ายโอนอำนาจโดยรัฐให้อิสระกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายทางการคลังแต่รัฐบาลจะมีองค์กรคอยกำกับดูแลกล่าวคือรัฐบาลยึดหลักแทรกแซงให้น้อยที่สุด

2.หลักการกำหนดฐานภาษีและจำนวนภาษี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการกำหนดฐานภาษีและจำนวนภาษีซึ่งเรียกเก็บจาการดำเนินกิจกรรมต่างๆของประชาชนและนำรายได้ไปพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

3.หลักการถ่ายโอนอำนาจการคลังกับกรอบความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐให้งบประมาณสอดคล้องกับความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.หลักการขจัดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การได้งบประมาณไม่เท่ากันทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้าเกิดความขาดแคลนมาตรการขจัดความเหลื่อมล้ำมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับแนวราบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับสูงจะตั้งกองทุนช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้า
  • ระดับแนวตั้ง ให้จัดเงินบริจาคให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้า
  • ระดับใกล้ชิด ใช้ในกรณีกำหนดขอบเขตอำนาจใหม่เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็ว

ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับนี้เป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานการกระจายอำนาจทางการคลังเนื่องด้วยเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงประเภท ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ

ระบบคุ้มครองทางสังคม[แก้]

โดยหลักการแล้วจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ยกเว้นให้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลกลาง ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นเอกภาพระดับชาติ และเทศบาลอาจจะมีอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวกับอนามัย และหน่วยป้องกันโรค ระบบคุ้มครองทางสังคม

เป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนตกอยู่ในสภาวะความเสี่ยงในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในกระแสเศรษฐกิจโลก จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ทางสังคม เพื่อรองรับสภาวะการว่างงาน แรงงานผิดกฎหมาย การย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่ในเมือง รองรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นโยบายที่อยู่ในภาพรวม เป็นการจัดการบริการสังคม ครอบคลุมเป้าหมายต่างๆ การประกันสุขภาพ หลักประกันเมื่อเกษียณอายุ เหล่านี้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ มีการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมแบบสายกลางยังให้ความสำคัญกับทุนนิยมและไม่ละเลยระบบสวัสดิการสังคม ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทางสังคมในชนบท เมือง และรองรับสังคมผูสูงอายุ ซึ่งประเทศฝรั่งเศสได้มีสวัสดิภาพทางสังคม ได้แก่


1.การประกันสังคม

ระบบประกันสังคมของประเทศ เริ่มก่อตั้งในปี 1945 ผลประโยชน์ ตอบแทนยึดหลักการชำระเงินก่อนแล้วเบิกคืนทีหลัง ซึ่งกองทุนได้มาจากเงินสมทบของลูกจ้างและนายจ้าง 67% (29% ของ GDP) และอีก 16% ได้มาจากภาษี และผลประโยชน์จัดสรรเป็นบำนาญให้แก่ผู้เกษียณอายุ 49.2% สาธารณสุข 27.2% สงเคราะห์ครอบครัว 12.8% และสมทบกองเงินสงเคราะห์การจ้างงาน(คนว่างงาน การฝึกอาชีพ) 8.4% การที่จำนวนผู้เกษียณอายุราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบอาชีพ ประกอบกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ระบบประกันสังคมฝรั่งเศส ประสบภาวะขาดทุนสะสม และกองทุน ลดลง (609.8 ล้านยูโร ในปี 1999 เปรียบเทียบกับ 2.03 พันล้านยูโรใน ปี 1998)


2.สาธารณสุข

ในปี 1999 ฝรั่งเศสใช้จ่ายเงิน 132.7 พันล้านยูโร สำหรับการรักษาพยาบาล ซึ่ง 75% ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม (Sécurité Sociale) โดยภาคเอกชน และบริษัทประกันภัยมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่สืบเนื่องมาจาก ผลของความต้องการบริการทางการแพทย์ ระบบประกันสุขภาพสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสังคม ยังคงประสบภาวะขาดทุนสะสมถึง 0.91 พันล้านยูโร แม้ว่าจะมีการปฏิรูปไปแล้วก็ตาม[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

[5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29]


  1. www.ambafrance-th.org
  2. www.lawreform.go.th
  3. OECD, OECD in Figures: Statistics on the Member Countries,(OECE Observer 2002/Supplement 1)
  4. http://edufrance.bangkok.free.fr/chap18.html
  5. www.ambafrance-th.org
  6. www.lawreform.go.th
  7. OECD, OECD in Figures: Statistics on the Member Countries,(OECE Observer 2002/Supplement 1)
  8. http:/ / edufrance. bangkok. free. fr/ chap18. html
  9. OECD, OECD in Figures: Statistics on the Member Countries,(OECE Observer 2002/Supplement 1)
  10. Alan Norton,"International Handbook of Local and Regional Government: A Comparative Analysis of Advanced Democracies",(Hants: Edward Elgar,1994),pp. 121 - 128
  11. Vivien A. Schmidt,"Democratizing France ",(Cambridge: Cambridge University Press, 1990).
  12. [http://www.dgcl.interieur.gouv.fr/index.html"ข้อมูลจำนวนหน่วยการปกครองท้องถิ่นมีที่มาจาก Direction Générale des Collectivités Locale (DGCL) ","Direction Générale des Collectivités Locale (DGCL)"
  13. นันทวัฒน์ บรมานันท์, การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส (กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2544), หน้า 58.
  14. นันทวัฒน์ บรมานนท์,การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส,หน้า 112
  15. นันทวัฒน์ บรมานนท์,การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส,หน้า 121-124
  16. Alistair Cole,"From Territorial Administration to Local Governance? Sub-national
  17. Politics and Policy-making in France",Paper presented at the Political Studies
  18. Association-UK 50th Annual Conference, London,10 - 13 April 2000.
  19. F.F. Ridley and J. Blondel,Public Administration in France (London: Routledge & Kegan Paul, 1969),quoted in Alan Norton,International Handbook of Local and Regional Government: A Comparative Analysis of Advanced Democracies,p. 130
  20. Sonia Mazey,"French Regions and the European Union," in The End of the French Unitary State?,ed. John Loughlin and Sonia Mazey (London: New bury House,1995),pp.132 - 157.
  21. Patrick Le Galès,"Searching for a Post Jacobin State: European Restructuring and Pressures From Below",Paper presented at The Council of European Studies: 2002 Conference of Europeanists,Chicago,March 2002,p. 40. (Draft).
  22. Baecque,Antoine De.1994."From Royal Dignity to Republican Austerity: the Ritual for the Reception of Louis XVI in the French National Assembly(1789-1792)."Journal of Modern History 1994 66(4):671-696.JSTOR.org.
  23. Denis Tallon,John N.Hazard and George A.Bermann.1979.The Constitution and the Courts in France,The American Journal of Comparative Law,Vol.27,No.4
  24. Doyle,William.2002. The Oxford History of the French Revolution. UK: Oxford University Press.
  25. H.F.Hel, Molt.1907.The History of the world. A Survey of Man's Record, Volume ///. Western Europe- The Atlantic Ocean. New York: Dodd, Mead and Company
  26. John Hall Stewart. 1951.A Documentary Survey of the French Revolution. New York: Macmillan.
  27. Johnson,G. and Scholes,K.1993. Exploring Corporate Strategy-Text and Cases.Hemel Hempstead
  28. Kotter, J. and Schlesinger, L. 1991. Choosing strategies for change. Harvard Business Review
  29. การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสภายใต้แบบจาลองเพส (http:/ / www. eco. ru. ac. th/ eco/ necon6/ papers/ g2/ 22. 4. pdf)

Alan Norton, International Handbook of Local and Regional Government: A Comparative Analysis of Advanced Democracies, p. 124.