ผู้ใช้:Maywadee koppy/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวแบบของการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ[แก้]

ความหมาย[แก้]

ตัวแบบของการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ หมายถึง ตัวแบบของการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ หมายถึง การนำตัวแบบมาเป็นกรอบในจำลองลักษณะการวิเคราะห์นโยบาย โดยการกำหนดแต่ละแบบ เพราะตัวแบบบางตัวอาจจะเหมาะหรือไม่เหมาะกับแต่ละนโยบาย โดยผ่านการประเมินและกระบวนการอย่างเป็นระบบ[1]

ความเป็นมาของตัวแบบ[แก้]

โธมัส อาร์.ดาย (Thomas R.Day) ได้รวบรวมตัวแบบนโยบายสาธารณะไว้ทั้งหมด 9 ตัวแบบ ซึ่งแต่ละตัวแบบได้มีการพัฒนาและต่อยอดมาจากสาขาวิชาที่มีมาอยู่แล้ว แต่ละตัวแบบนั้นอาจวิเคราะห์ได้ดังนี้ ตัวแบบสถาบัน ตัวแบบผู้นำ และตัวแบบกลุ่ม พัฒนามาจากแนวคิดอันเก่าแก่จากทางรัฐศาสตร์ ส่วนตัวแบบระบบพัฒนามาจากแนวคิดรัฐศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่สองที่เพิ่งเกิดขึ้น สำหรับตัวแบบกระบวนการเป็นการพัฒนาต่อจากตัวแบบระบบ และนอกจากนั้นยังมีตัวแบบที่เหลือซึ่งมาจากอิทธิพลของสาขาอื่นๆ ได้แก่ ตัวแบบการตัดสินใจเฉพาะส่วนที่เพิ่มได้พัฒนามาจากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ตัวแบบเหตุผลมีรากฐานมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ ตัวแบบทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมาจากการประยุกต์ของหลักเศรษฐศาสตร์ การตลาด และการบริหารประชาธิปไตย และสุดท้ายคือตัวแบบทฤษฎีเกมพัฒนามาจากวิชาคณิตศาสตร์ และยังมีพื้นฐานจากหลักการเลือกอย่างมีเหตุผล ซึ่งได้ถูกนำไปใช้หลากหลายสาขา เช่น การบริหารธุรกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และด้านการเมืองระหว่างประเทศ

ประโยชน์[แก้]

  • ทำให้เข้าใจนโยบายสาธารณะง่ายขึ้น
  • สามารถมองเห็นลักษณะสำคัญชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • สามารถอธิบายและอภิปรายในตัวนโยบายได้
  • เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดโครงสร้างและทิศทางของการศึกษานโยบาย
  • เป็นแนวทางพัฒนาตัวแบบใหม่ๆต่อไป[2]

ตัวแบบมีทั้งหมด 9 แบบ[แก้]

ตัวแบบผู้นำ (elite model)[แก้]

ตัวแบบนี้จะเน้นความต้องการของผู้นำเป็นหลัก (policy as elite preference) ทฤษฎีนี้มาจากความชอบของผู้นำมากกว่ามาจากประชาชน ผู้นำมีสิทธิในการกำหนดค่านิยมในสังคมและยังเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ตามความต้องการ โดยจะเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ไม่นิยมเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน ทฤษฎีนี้เป็นสังคมแบบนโยบายไหลลงสู่ประชาชนโดยมีเจ้าหน้าที่นำไปปฏิบัติ ประชาชนไม่ใส่ใจในการเมืองการบริหารและขาดความรู้ มีหน้าที่เพียงปฏิบัติตามเท่านั้น อีกทั้งผู้นำยังไม่สนใจประชาชนที่เมินการเมืองและผู้นำยังสามารถปิดกั้นข่าวสารที่ไม่ต้องการให้ประชาชนรับรู้ได้อีกด้วย จึงเป็นสังคมที่เหมือนประเทศคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม

ตัวแบบตามทฤษฎีเกม (game theory model)[แก้]

ตัวแบบนี้จะเน้นตัวเลือกที่มีเหตุผลในสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน (policy as rational choice in competitive situations) เป็นการศึกษาการตัดสินใจที่มีเหตุผลในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันกันของ 2 ฝ่าย 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น ซึ่งนโยบายนี้ไม่ใช่นโยบายที่ดีที่สุดแต่เป็นนโยบายที่ให้ผลดีที่สุดซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้ามอีกด้วยและจะต้องคาดการณ์ได้ว่าฝ่ายตรงข้ามนั้นจะใช้กลยุทธ์ใดในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้สามารถนำไปใช้ในสงครามนิวเคลียร์ การเจรจาและสร้างสัมพันธภาพระหว่างประเทศ และการวิเคราะห์นโยบาย หากเกิดความขัดแย้งรุนแรงทฤษฎีนี้จะไม่เหมาะสมในการนำไปใช้ รวมถึงทฤษฎีนี้ไม่สามารถคำนวณประโยชน์สูงสุดได้[3]

ตัวแบบกลุ่ม (group model)[แก้]

เป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่หวังผลประโยชน์เหมือนกัน ซึ่งการรวมกลุ่มกันอาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เพื่อเข้าไปกดดันรัฐบาลให้รัฐบาลกำหนดนโยบายตามที่ตนต้องการ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสะพานระหว่างบุคคลกับรัฐบาล จึงกล่าวได้ว่า กลุ่มเหล่านี้ต่อสู้เพื่อให้มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและถ้าหากกลุ่มเหล่านี้มีความมั่งคั่ง แข็งแกร่งและมีสมาชิกในกลุ่มจำนวนมากก็จะทำให้นโยบายเอนเอียงมาทางกลุ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ได้มีการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มโดยกำหนดกติกาของการต่อสู้ การต่อรอง ผลของการประนีประนอมจะอยู่ในรูปแบบของนโยบายสาธารณะ เช่น เมื่อมีชาวเกษตรกรมาเรียกร้องให้ช่วยเหลือในเรื่องราคาข้าว รัฐบาลก็จะต้องกำหนดนโยบายมาช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องนี้ เป็นต้น ซึ่งอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดจุดสมดุลนี้ เมื่ออิทธิพลของกลุ่มเปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้จุดสมดุลนี้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย[4]

ตัวแบบสถาบัน (institutional model)[แก้]

ตัวแบบนี้มุ่งอธิบายถึงลักษณะโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ซึ่งสถาบันการเมืองของรัฐ เช่น สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ ถือว่ามีบทบาทอย่างมากในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้สถาบันการเมืองยังทำหน้าที่สร้างความชอบธรรมให้นโยบาย และทำให้นโยบายมีความเป็นสากล ตัวแบบสถาบันนี้จะนิยมใช้ในการศึกษานโยบายสาธารณะ เพราะมีความสะดวกและง่ายในการศึกษา

ตัวแบบระบบ (systems model)[แก้]

ตัวแบบนี้จะเน้นการเป็นระบบ (system) โดยตัวแบบจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและสภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ รวมถึงการที่ตัวแบบระบบจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยนำเข้า (inputs) อันได้แก่ การเรียกร้องและการสนับสนุนจากประชาชนอีกด้วย

ตัวแบบตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (public choice model)[แก้]

ความเห็นแก่ตัว การหวังผลประโยชน์ย่อมมีกับคนทุกคน แต่ในการเห็นแก่ตัวและการหวังผลประโยชน์นั้นพวกเขาเหล่านั้นก็สามารถมีผลประโยชน์ร่วมกันได้โดยอาศัยการตัดสินใจร่วมกัน ดังนั้นตัวแบบนี้จึงเน้นการตัดสินใจร่วมกันจากความต้องการของปัจเจกชน โดยนักทฤษฎีมุ่งให้เราเข้าใจถึงพื้นฐานผลประโยชน์ และเพิ่มทางเลือกให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่ตรงความต้องการของตนเองมากที่สุด อีกทั้งทฤษฎีทางเลือกสาธารณะนี้ยังเป็นหลักในการกำหนดให้รัฐบาลมีหน้าที่เข้าไปแทรกแซงตลาดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม พร้อมทำบริการสาธารณะซึ่งเอกชนและอื่นๆไม่สามารถทำได้ เช่น การสร้างถนน เพราะเป็นการลงทุนจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตามแม้ว่าแต่ละคนมีผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าหากทุกคนมุ่งประโยชน์เดียวกัน ก็จะทำให้ทุกคนมีจุดมาร่วมกันตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์เดียวกันเสมอ

ตัวแบบกระบวนการ (process model)[แก้]

ตัวแบบนี้เน้นนโยบายเป็นกิจกรรมทางการเมือง (policy as political activity) โดยทุกขั้นตอนของกระบวนการจะมีการเมืองเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การกำหนดปัญหา การเสนอนโยบาย การตรวจสอบความเป็นธรรมของนโยบาย การนำไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย เป็นต้น ตัวแบบนี้ยังมุ่งศึกษาพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มทางการเมืองต่างๆอีกด้วย

ตัวแบบการตัดสินใจเฉพาะส่วนที่เพิ่ม (incremental model)[แก้]

ตัวแบบนโยบายนี้เป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากอดีต (policy as variations on the past) ลินด์บลอม (Lindblom) เห็นว่าการตัดสินใจไม่จำเป็นต้องไปทบทวนสิ่งที่เกิดมาแล้วทุกครั้งและไม่ต้องทำตามตัวแบบทุกขั้นตอน เนื่องจากการตัดสินใจตามความจริงอาจเผชิญปัญหา ทำให้ไม่อาจคำนวณผลได้อย่างสมบูรณ์ ตัวแบบนี้จะเน้นการพัฒนามาจากอดีต จะเพิ่มหรือลดหรือปรับบางส่วนเท่านั้น จึงทำให้เกิดความขัดแย้งน้อยลง การคัดค้านน้อยกว่าและประชาชนยอมรับได้ง่ายขึ้น ซึ่งการคิดหรือสร้างนโยบายขึ้นมาใหม่จะทำให้ประสบปัญหามากกว่า ในทางวิชาการยังมองว่าตัวแบบเพิ่มเติมส่งผลดีในทางการเมืองอีกด้วย

ตัวแบบเหตุผล (rational model)[แก้]

ตัวแบบนี้จะเน้นนโยบายสาธารณะที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดของสังคม (policy as maximum social gain) จุดมุ่งหมายของตัวแบบนี้คือ รัฐบาลจะต้องเลือกนโยบายที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมเท่านั้น ต้องหลีกเลี่ยงการเลือกนโยบายที่เสียค่าใช้จ่าย และวิธีนี้ยังรวมถึงการคำนวณผลได้-ผลเสียในทุกๆด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ตัวแบบนี้ยังถูกนำไปใช้ในการคิดแผนงานของรัฐบาลและวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน ในการเลือกนโยบาย ผู้ตัดสินใจจะต้องคำนึงถึงความต้องการของสังคม ต้องรู้ทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทาง รวมถึงต้องเลือกทางที่เกิดผลดีที่สุดด้วย

แนวคิดของนักวิชาการกับการมองภาพรวม[แก้]

แนวคิดของเคลเลอร์ (Keller) และสไปเซอร์ (Spicer)[แก้]

เคลเลอร์ (Keller) และสไปเซอร์ (Spicer) บอกว่าการอาศัยพื้นฐานการวิเคราะห์ระบบมามองในแนวภาพรวมนั้น เป็นการมองแบบเก่า ไม่ค่อยใส่ใจบทบาทของค่านิยม สร้างกรอบรัฐศาสตร์ใหญ่เกินไป และยังเน้นการศึกษาแนวได้รับโดยตรงมากกว่าการเทียบเคียง การมองแบบนี้ดูค่อนข้างครอบคลุมอย่างมากในระดับ แต่ยังถูกมองเป็นประเด็นเรื่องการต่อต้านภาพรวม

แนวคิดของดรอร์ (Dror)[แก้]

ดรอร์ (Dror) พยายามอุดช่องว่าง โดยเสนอใช้ระเบียบวิธีวิทยาเชิงบูรณาการ และยังเคยเสนอตัวแบบเพื่อให้เกิดการปรับปรุงนโยบายอีกด้วย

แนวคิดของโอเรียน (Orion)[แก้]

เขาได้เสนอให้"สังเคราะห์การวิเคราะห์นโยบายแบบมหภาค(macro)กับแบบจุลภาค(micro)เข้าด้วยกัน” และยังเสนอให้มองภาพรวมของนโยบายเชิงการเมืองระดับสังคมลงมาจนถึงระดับย่อย เพื่อวิเคราะห์นโยบายและนำไปปฏิบัติ ในการมองภาพรวมของการวิเคราะห์นโยบายอาจมองได้หลายด้าน ซึ่งเราควรพิจารณาในการเลือกแต่ละด้านด้วยเช่นกัน[5]

  1. ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). นโยบายสาธารณะ:แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร. เสมาธรรม
  3. Tassanee Kumnurdsing. (2554). ตัวแบบนโยบายสาธารณะ. สืบค้นวันที่ 4 เมษายน,2560, จากhttps://www.gotoknow.org › หน้าแรก › tassanee › สมุด › นโยบายและการวางแผน
  4. มยุรี อนุมานราชธน. (2556). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร. แอคทีฟ พริ้นจำกัด
  5. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ.(2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. บพิธการพิมพ์