ผู้ใช้:Masanee/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ดร. อลิศรา เรืองแสง (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เป็นภาคีสมาชิกประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา และเป็นนักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ได้รับรางวัลด้านงานวิจัยต่างๆหลายรางวัล อาทิเช่น รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ปี 2563  เมธีวิจัยอาวุโส สกว.ประจำปี พ.ศ. 2562 และ 2559 นักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2563 เป็นต้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป็นนักวิจัยชาวไทยและเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโค้ชการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ กลุ่ม 6 ภาคอีสาน (Multi Mentoring System, MMS 6 ภาคอีสาน) ประจำปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ในปี พ.ศ. 2563

ไฟล์:ศาสตราจารย์อลิศรา เรืองแสง.png
ศาสตราจารย์อลิศรา เรืองแสง เกิดเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2509 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรคนแรกของนายบุญเลิศ และนางฉอ้อน ศรีวัฒนา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (B.Sc. (Biotechnology)) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2532 ปริญญาโท สาขาเภสัชศาสตร์ (จุลชีววิทยา) (M.Sc. (Pharmacy)) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาเอก สาขา Water Resources (Ph.D. (Water Resources)) จาก Iowa State University เมืองเอมส์ มลรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2543 ได้ทำงานวิจัยในระดับหลังปริญญาเอก (Post doctorate) เป็นเวลา 1 ปี ณ Department of Urban Engineering, University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2548 ภายใต้ทุน Hitachi Research Fellowship

ในด้านครอบครัว ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิพัธน์ เรืองแสง สังกัดสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบุตรชาย 1 คน คือ นิสิตแพทย์ ภูมิ วัฒนา เรืองแสง และบุตรสาว 1 คน คือ ด.ญ. พราว เรืองแสง

ประวัติการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2523 ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. 2534 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัขศาสตร์ (จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2543 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ/วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, Iowa State University, Iowa, USA

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กร[แก้]

  • ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ตั้งแต่ 5 สิงหาคม 2563
  • พ.ศ. 2563 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
  • พ.ศ.  2559 และ 2562 เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
  • นักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2563
  • ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552-2553 และ 2557-2558
  • 2 กันยายน 2534 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๒๙๙๐/๓๔ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๔
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๑๒๒๑/๔๕ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๕
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๒๙๖๔/๔๘ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๘         
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๔๔๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙     
  • ให้ข้าราชการออกจากราชการเพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๑๕๐๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙

ผลงานวิชาการ[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับ[แก้]

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2563[2]
  • ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
  • นักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2563[3]
  • เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี พ.ศ. 2562[4]
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2562[5]
  • นักวิจัยดีเด่นระดับเพชร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2562[6]
  • รางวัลศิษย์เก่าแห่งความภาคภูมิใจ จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พศ. 2560 [7]
  • เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี พ.ศ. 2559
  • รางวัลเชิดชูเกียรติประเภทบุคลากรสายวิชาการดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2560[8]
  • รางวัลเชิดชูเกียรติประเภทบุคลากรสายวิชาการดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2559[9]
  • นักวิจัยดีเด่นระดับทอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2557[10]
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำคณะเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2556[11]
  • รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประจำปี พ.ศ. 2554[12]
  • รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประจำปี พ.ศ. 2553[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

  1. อลิศรา เรืองแสง. 2562. เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมีภัณฑ์โดยจุลินทรีย์. ขอนแก่น: คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  2. นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2563
  3. นักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2563
  4. เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี พ.ศ. 2562
  5. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2562
  6. นักวิจัยดีเด่นระดับเพชร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2562
  7. รางวัลศิษย์เก่าแห่งความภาคภูมิใจ จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2560
  8. รางวัลเชิดชูเกียรติประเภทบุคลากรสายวิชาการดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2560
  9. รางวัลเชิดชูเกียรติประเภทบุคลากรสายวิชาการดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2559
  10. นักวิจัยดีเด่นระดับทอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2557
  11. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำคณะเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2556
  12. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประจำปี พ.ศ. 2554
  13. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประจำปี พ.ศ. 2553
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๒๗ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๗๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข , ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๗๐