ผู้ใช้:LuporumĀter/ทดลองเขียน 2
ส่วนหนึ่งของชุดธรรมชาติ |
สภาพอากาศ |
---|
ฤดูหนาว หรือ เหมันตฤดู เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส
สาเหตุ
[แก้]การเอียงของแกนโลกนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการก่อตัวของสภาพอากาศในรูปแบบต่าง ๆของโลกเป็นอย่างมาก แกนโลกนั้นมีการเอียงออกจากแนวแกนอยู่ที่ 23.44 องศา จึงเป็นผลทำให้เขตละติจูดที่แตกต่างกันบนโลก ได้รับแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน จากความแตกต่างนี้ จึงทำให้เกิดฤดูกาลขึ้น[1] ในช่วงที่เป็นฤดูหนาวนั้น แนวแกนโลกจะเอียงออกจากแสงอาทิตย์ ทำให้ได้รับพลังงานลดลง โดยพลังงานที่ได้รับนั้นจะน้อยลงเรื่อย ๆตามละติจูดที่สูงขึ้น เนื่องจากแนวองศาของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบนั้นมีค่าสูงขึ้น แต่พลังงานที่ได้รับนั้นลดลงไปตามการเพิ่มขึ้นขององศาตกกระทบของแสงอาทิตย์ รวมทั้งการที่แสงอาทิตย์มีระยะการเดินทางที่มากขึ้น ทำให้ชั้นบรรยากาศมีการดูดซับพลังงานความร้อนออกไปมากขึ้นด้วย เป็นเหตุทำให้อุณหภูมิอากาศโดยรวมลดลง[2]
แต่ก็ยังมีปัจจัยเพิ่มเติม ที่ส่งผลทำให้อุณหภูมิของอากาศนั้นลดลงมากขึ้นหรือน้อยลง นั่นก็คือ อิทธิพลของกระแสน้ำในมหาสมุทร โดยในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้กับทะเลในบริเวณที่มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ก็จะทำให้อุณหภูมิลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ทะเลในบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ ที่อยู่ห่างจากทะเล เข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น อุณหภูมิก็มักจะลดลดมากกว่าพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ทะเล[3] นอกจากนี้แล้ว ความสูงจากระดับน้ำทะเลก็มีผลเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง มักมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าบริเวณพื้นราบ
ผลกระทบ
[แก้]มนุษย์
[แก้]สัตว์
[แก้]พืช
[แก้]ปีที่อากาศหนาวเป็นพิเศษในฤดูหนาว
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เขตภูมิอากาศโลก". LESA. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "What Causes the Seasons?". NOAA. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "มหาสมุทรกับสภาพอากาศ (Weather and the sea)". กรีนเนท. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)