ผักกาดขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผู้ใช้:Janine janny/กระบะทราย1)
ผักกาดขาว
Some nappa cabbages
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม大白菜
อักษรจีนตัวย่อ大白菜
Cantonese
ภาษาจีน黃芽白
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
배추
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ白菜
ฮิรางานะはくさい
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงhakusai
คุนเรชิกิhakusai
Chinese cabbage, raw
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน68 กิโลจูล (16 กิโลแคลอรี)
3.2 g
ใยอาหาร1.2 g
0.2 g
1.2 g
วิตามิน
วิตามินซี
(33%)
27 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(8%)
77 มก.
เหล็ก
(2%)
0.31 มก.
แมกนีเซียม
(4%)
13 มก.
โซเดียม
(1%)
9 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผักกาดขาว (Brassica rapa subsp. pekinensis) เป็นที่รู้จักว่า เป็นผักกาดชนิดหนึ่งของ ผักกาดจีน ถิ่นกำเนิดใกล้กับปักกิ่ง และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในอาหารเอเชียตะวันออก แต่ส่วนใหญ่ในโลกก็ ผักกาดชนิดนี้ก็เข้าใจว่า "ผักกาดจีน" ผักกาดจีนจะมีสีจางกว่าผักกาดจีนชนิดอื่น ๆ อย่างเช่น ผักกาดกวางตุ้ง ซึ่งก็ถูกเรียกว่าผักกาดจีนเช่นเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร ผักชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ "Chinese Leaf" ในนิวซีแลนด์รู้จักกันในชื่อ"Wong Bok" หรือ"Won bok" ในออสเตรเลียและฟิลิปปินส์รู้จักกันในชื่อ"wombok"[1]

ชื่อ "nappa" มาจากภาษาพูดและภาษาถิ่นในภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง ญี่ปุ่น: 菜っ葉โรมาจิnappa มักจะใช้เรียกใบของผักต่าง ๆ โดยเฉพาะใบผักที่ใช้ทำอาหาร[2] ชื่อในภาษาญี่ปุ่นที่เอาไว้เจาะจงผักกาดประเภทนี้ว่า ญี่ปุ่น: 白菜โรมาจิhakusai, lit. "ผักกาดขาว" โดยเป็นคำอ่านออกเสียงแบบจีน ในภาษาญี่ปุ่น

ผักกาดขาวถูกบริโภคอย่างแพร่หลายในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในจังหวัดกังวอน ทางตอนเหนือของเกาหลีใต้[3] ผัดกาดขาวถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญรุ่งเรืองในจีน[4] และในภาพลักษณ์นี้เองจึงมักพบเห็นรูปจำลองที่ทำจากแก้วและกระเบื้องเคลือบ รูปสลักผักกาดที่มีชื่อเสียง Jadeite Cabbage ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวัน ก็เป็นรูปสลักของผักกาดขาวด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีผู้อพยพจากไต้หวันนี้เอง จึงสามารถพบเห็นรูปสลักผักกาดได้ในหลายเมืองของ อเมริกาเหนือ ยุโรปและออสเตรเลีย

ในอาหารเกาหลี ผักกาดถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักของ baechu kimchi ที่เป็นชนิดของกิมจิ ทั่วไป แต่ก็ยังกินสด ๆ โดยเอาไปห่อเนื้อหมูหรือหอยนางรม แล้วจิ้มกับโกชูจัง[5] แต่คนทั่วไปก็มักใส่ใบที่แก่กว่าในซุป ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อเทียบกับผักกาดชนิดอื่น ๆ เช่น บ๊อกชอย หรือ กะหล่ำ และผักกาดขาวยังสามารถเอาไปผัดน้ำมันกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่นเต้าหู้ เห็ด หรือซูกินี ผักกาดขาวยังเป็นส่วนผสมพื้นฐานในการกินอาหารหม้อไฟอีกด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Afable, Patricia O. (2004). Japanese pioneers in the northern Philippine highlands: a centennial tribute, 1903-2003. Filipino-Japanese Foundation of Northern Luzon, Inc. p. 116. ISBN 978-971-92973-0-7.
  2. "Oxford English Dictionary nappa, n.2". สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
  3. Lee, Cecilia Hae-Jin (22 May 2012). Frommer's South Korea. John Wiley & Sons. p. 326. ISBN 978-1-118-33363-1.
  4. Klein, Donna (4 December 2012). The Chinese Vegan Kitchen: More Than 225 Meat-free, Egg-free, Dairy-free Dishes from the Culinary Regions of China. Penguin Group US. p. 30. ISBN 978-1-101-61361-0.
  5. Vongerichten, Marja (2 August 2011). The Kimchi Chronicles: Korean Cooking for an American Kitchen. Rodale. p. 37-42. ISBN 978-1-60961-128-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]