ผู้ใช้:HirokiSpace/แบบจำลองนิรนัยและสมมติฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แบบจำลองนิรนัยและสมมติฐาน (hypothetico-deductive model) หรือ วิธีการ คือรูปแบบการพรรณาของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามแบบจำลองนี้การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากการสร้างสมมติฐานที่สามารถสามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ จากนั้นเริ่มการทดสอบกับข้อมูลที่สังเกตได้ โดยที่ไม่ทราบผลการทดสอบ สำหรับผลการทดสอบที่ให้ผลตรงข้ามกับการคาดการณ์ของสมมติฐานจะถือเป็นการทำให้สมมติฐานเป็นเท็จ ผลการทดสอบที่ไม่ขัดแย้งกับสมมติฐาน ถือว่าช่วยยืนยันทฤษฎี จากนั้นจึงนำสมมติฐานเหล่านั้นมาพิจารณาดูว่ามีลักษณะการอธิบายแบบใด คุณค่าการอธิบายทฤษฎีเป็นอย่างไร แล้วสมมติฐานนั้นมีน้ำหนักมากขนาดไหน โดยใช้ความสามารถในการทำนายผลการทดลองเป็นเกณฑ์

ตัวอย่าง[แก้]

หนึ่งในตัวอย่างวิธีคิดแบบวิธีการนิรนัยและสมมติฐานเป็นดังนี้

1. ใช้ประสบการณ์ของตัวเอง : พิจารณาปัญหาและพยายามทำให้ปัญหามีความเป็นเหตุผลเป็นผล รวบรวมข้อมูลและค้นหาสิ่งที่ผู้อื่นอธิบายไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่ถ้าเป็นปัญหาประเด็นใหม่ ให้ดูข้อ 2
2. สร้างการคาดการณ์ (สมมติฐาน) : หากยังไม่มีที่รู้เกี่ยวกับประเด็น ให้ลองหาวิธีการอธิบายเพื่อให้คนอื่นรับรู้ หรือเขียนหนังสือ
3. นิรนัยหาผลลัพธ์จากสมมติฐานที่สร้างขึ้น: ถ้าคุณรับไว้ก่อนว่าข้อ 2 จริง จะต้องมีสิ่งใดเกิดตามมาบ้าง
4. ทดสอบ(หรือ ทดลอง) : โดยดูจากหลักฐาน (ผ่านการสังเกต) ว่ามีหลักฐานใดข้ดแย้งกับสมมติฐานหรือไม่ เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าข้อ 2 เป็นเท็จ ต้องย้ำว่าเราไม่สามารถให้ผลลัพธ์แบบข้อ 3 เป็นข้อพิสูจนของสมมติฐานข้อ 2 ได้ เพราะจะเป็น เหตุผลวิบัติรูปนัย บางครั้งเรียกว่าตรรกะวิบัติของการยืนยันผล[1]

วิธีการที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งก็สามารถเริ่มต้นจาก 1, 2, 3, 4 หากผลการทดสอบของ 4 ยังไม่สามารถหาอะไรมาแย้งได้และ 3 ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ คุณสามารถดำเนินการต่อด้วย 3, 4, 1 และอื่น ๆ แต่ถ้าผลลัพธ์ของ 4 แสดงออกมาว่า 3 เป็นเท็จ คุณจะต้องกลับไปที่ 2 และพยายามสร้างสมมติฐาน 2 ใหม่ หาข้อสรุป 3 ใหม่ ทดสอบ 4 อีกครั้งไปเรื่อย ๆ

แต่ต้องจำไว้ว่าวิธีนี้ไม่สามารถตรวจสอบหรือพิสูจน์ความจริงสมมติฐาน 2 ได้อย่างแท้จริง [2] (นี่คือความหมายที่ไอน์สไตน์ต้องการสื่อ ตอนเขากล่าวว่า "ไม่มีการทดลองใดพิสูจน์ได้ว่าผมถูกต้อง แต่การทดลองเพียงครั้งเดียวกลับสามารถพิสูจน์ว่าผมผิดได้" [3] )

ข้อถกเถียง[แก้]

คาร์ล เฮมเพล (1905–1997) ได้ชี้ให้เห็นว่ามุมมองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียบง่ายแบบนี้ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ การคาดการ์ณสามารถใช้หลักการความน่าจะเป็นได้ ตัวอย่างเช่น ยามีประสิทธิภาพประมาณ 70% ณ เวลานั้น [4] ในกรณีนี้ต้องทำการทดสอบซ้ำเพื่อยืนยันการคาดการณ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเกี่ยวกับความน่าจะเป็น) ในกรณีนี้และในกรณีอื่น ๆ เราสามารถหาค่าความน่าจะเป็นเพื่อความมั่นใจในการคาดเดานั้นเองจากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์แบบเบย์ โดยผลการทดลองแต่ละครั้งจะเปลี่ยนความน่าจะเป็นขึ้นหรือลง ทฤษฎีบทของเบย์แสดงให้เห็นว่าความน่าจะเป็นจะไม่มีทางเป็น 0 หรือ 100% อย่างแน่นอน (ไม่มีความแน่นอนสัมบูรณ์ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง) แต่ก็ยังสามารถเข้าใกล้ระดับสุดขั้วได้ ดูเพิ่มเติมเรื่องการยืนยันองค์รวม

คุณสมบัติของหลักฐานที่ใช้ยืนยันบางครั้งกลายเป็นเป็นปัญหาทางปรัชญา ซึ่งปฏิทรรศน์อีกาเป็นตัวอย่างที่มีชื่อเสียง สมมติฐานที่ว่า 'กาทั้งหมดเป็นสีดำ' ดูเหมือนจะยืนยันได้จากการสังเกตของกาดำเท่านั้น อย่างไรก็ตาม 'กาทั้งหมดเป็นสีดำ' มีความสมมูลกันเชิงตรรกศาสตร์เท่ากับประโยคที่ว่า 'สิ่งที่ไม่ใช่สีดำทั้งหมดไม่ใช่กา' (นี่คือรูปแบบที่ขัดแย้งกันของนัยดั้งเดิม) ประโยค 'นี่คือต้นไม้สีเขียว' สามารถเกิดจากการสังเกตสิ่งที่ไม่ใช่สีดำซึ่งไม่ใช่กาได้ และยืนยันประโยคที่ว่า 'สิ่งที่ไม่ใช่สีดำทั้งหมดไม่ใช่กา' ปัญหาคือการสังเกตว่า 'นี่คือต้นไม้สีเขียว' กลับกลายเป็นหลักฐานยืนยันสำหรับสมมติฐาน 'กาทั้งหมดเป็นสีดำ' ซึ่งแปลกประหลาด ผู้ที่พยายามแก้ปัญหานี้อาจพยายามแยกความต่างระหว่าง:

  • ข้อสังเกตที่ไม่เป็นเท็จเกี่ยวกับการยืนยันว่ามีความหนักแน่นมาก ปานกลางหรือน้อย
  • การตรวจสอบที่ทำหรือไม่ได้ทำให้การทดสอบสมมติฐานที่อาจเป็นเท็จ [5]

หลักฐานที่ตรงกันข้ามกับสมมติฐานทำให้ตัวมันเองเป็นปัญหาทางปรัชญา หลักฐานดังกล่าวเรียกว่าการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จต่อสมมติฐาน อย่างไรก็ตามภายใต้ทฤษฎีการ ยืนยันองค์รวม เรายังสามารถรักษาสมมติฐานที่กำหนดไว้จากการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการสังเกตที่เป็นเท็จถูกฝังอยู่ในพื้นหลังทางทฤษฎีซึ่งสามารถแก้ไขได้เพื่อรักษาสมมติฐาน คาร์ล ป๊อปเปอร์ยอมรับเรื่องนี้ แต่ยืนยันว่าแนวทางที่สำคัญที่ทำตามระเบียบวิธีการที่หลีกเลี่ยงการเสริมเกราะป้องกันให้ทฤษฎี (immunizing stratagems) ดังกล่าวนั้นเอื้อต่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ [6]

นักฟิสิกส์ฌอน แครอล อ้างว่าวิธีการนิรนัยและสมมติฐานละเลยประเด็นเรื่อง หลักฐานไม่เพียงพอ [7]

แบบจำลองสมมุติฐานและนิรนัย (หรือแนวทาง) เปรียบเทียบกับแบบจำลองการวิจัยอื่น ๆ

วิธีการเชิงนิรนัยและสมมติฐานแตกต่างกับแบบจำลองการวิจัยอื่น ๆ เช่น แนวทางอุปนัย ในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการเชิงนิรนัยและสมมติฐานอยู่ในกระบวนทัศน์ของแนวคิดปฏิบัตินิยมซึ่งความสัมพันธ์สี่ประเภทระหว่างตัวแปรสามารถมีอยู่: เชิงพรรณนา เชิงอิทธิพล ตามยาวหรือเชิงสาเหตุ ตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มโครงสร้างและฟังก์ชันการจำแนกประเภทที่ขับเคลื่อนการกำหนดสมมติฐานและการทดสอบทางสถิติที่จะดำเนินการกับข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัย [8]

ดูสิ่งนี้ด้วย[แก้]

ประเภทของการอนุมาณ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Brody, Thomas A. (1993), The Philosophy Behind Physics, Springer Verlag, ISBN 0-387-55914-0. (Luis de la Peña and Peter E. Hodgson, eds.)
  • Bynum, W.F.; Porter, Roy (2005), Oxford Dictionary of Scientific Quotations, Oxford, ISBN 0-19-858409-1.
  • Godfrey-Smith, Peter (2003), Theory and Reality: An introduction to the philosophy of science, University of Chicago Press, ISBN 0-226-30063-3
  • Taleb, Nassim Nicholas (2007), The Black Swan, Random House, ISBN 978-1-4000-6351-2

[[หมวดหมู่:ปรัชญาวิทยาศาสตร์]] [[หมวดหมู่:ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์]]

  1. Taleb 2007 e.g., p. 58, devotes his chapter 5 to the error of confirmation.
  2. "I believe that we do not know anything for certain, but everything probably." —Christiaan Huygens, Letter to Pierre Perrault, 'Sur la préface de M. Perrault de son traité del'Origine des fontaines' [1763], Oeuvres Complétes de Christiaan Huygens (1897), Vol. 7, 298. Quoted in Jacques Roger, The Life Sciences in Eighteenth-Century French Thought, ed. Keith R. Benson and trans. Robert Ellrich (1997), 163. Quotation selected by Bynum & Porter 2005 Huygens 317#4.
  3. As noted by Alice Calaprice (ed. 2005) The New Quotable Einstein Princeton University Press and Hebrew University of Jerusalem, ISBN 0-691-12074-9 p. 291. Calaprice denotes this not as an exact quotation, but as a paraphrase of a translation of A. Einstein's "Induction and Deduction". Collected Papers of Albert Einstein 7 Document 28. Volume 7 is The Berlin Years: Writings, 1918-1921. A. Einstein; M. Janssen, R. Schulmann, et al., eds.
  4. Murzi, Mauro (2001, 2008), "Carl Gustav Hempel (1905—1997)", Internet Encyclopedia of Philosophy. Murzi used the term relative frequency rather than probability.
  5. John W. N. Watkins (1984), Science and Skepticism, p. 319.
  6. Karl R. Popper (1979, Rev. ed.), Objective Knowledge, pp. 30, 360.
  7. Sean Carroll. "What is Science?".
  8. Mesly, Olivier (2015), Creating Models in Psychological Research, United States: Springer Psychology, p. 126, ISBN 978-3-319-15752-8