ผู้ใช้:HirokiSpace/การอธิบาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การอธิบาย คือชุดของข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อ อธิบาย ชุดของข้อเท็จจริง (fact) เพื่อชี้แจง สาเหตุ บริบท และ ผลที่ตามมา ของข้อเท็จจริงเหล่านั้น คำอธิบายนี้อาจกลายเป็น หลักการ หรือ กฎ และทำให้เข้าความสัมพันธ์ระหว่างหลักการหรือกฎที่มีอยู่แล้วกับวัตถุต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ที่ถูกตรวจสอบ [1]

ในทางปรัชญา การอธิบาย คือชุดของข้อความที่อธิบายให้เข้าใจถึงการมีอยู่หรือการเกิดขึ้นของวัตถุเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยรูปแบบการอธิบายที่พบบ่อยที่สุดคือการอธิบายเชิงสาเหตุ เช่น การอธิบายตามกฎและนิรนัย ที่เป็นการอธิบายโดยการรวมข้อความบรรยายปรากฏการณ์ที่ได้รับการอธิบาย (explanandum) ย่อยต่าง ๆ มาจับกลุ่มรวมกันภายใต้กฎหนึ่งกฎ แล้วใช้การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยเพื่อหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์นั้น (เช่น “แก๊สทุกชนิดขยายตัวเมื่อถูกความร้อน แก๊สนี้ถูกทำให้ร้อน ดังนั้นแก๊สนี้จึงขยายตัว”) และ การอธิบายเชิงสถิติ ที่เป็นการอธิบายโดยการรวมข้อความบรรยายปรากฏการณ์ที่ได้รับการอธิบาย (explanandum) ย่อยต่าง ๆ มาจับกลุ่มรวมกันภายใต้ข้อความเชิงสถิติแล้วใช้การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยเพื่อหาคำอธิบาย (เช่น “คนส่วนใหญ่ที่ใช้ยาสูบเป็นมะเร็ง บุคคลนี้ใช้ยาสูบ ดังนั้นบุคคลนี้จึงเป็นมะเร็ง”) ในส่วนของการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์มักจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อและความปรารถนาของผู้ทดลอง ตลอดจนข้อเท็จจริงอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ทดลองคนนั้น และอธิบายไปโดยสันนิษฐานว่าพฤติกรรมที่กำลังสังเกตนั้นมีเหตุผลให้กระทำเช่นนั้น ดังนั้นคำอธิบายว่าเหตุใดผู้ถูกทดลองจึงถอดเสื้อคลุมของเขาออก จึงอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ทดลองรู้สึกร้อน เขาต้องการรู้สึกเย็นขึ้นและผู้ถูกทดลองเชื่อว่าเขาจะรู้สึกเย็นขึ้น ถ้าเขาถอดเสื้อคลุม

การอธิบายทางวิทยาศาสตร์[แก้]

ปัจจุบันมีการถกเถียงและตั้งสมมุติฐานว่า บางครั้งวิทยาศาสตร์ใช้การอธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติ (แทนที่จะเป็น "เพียงการบรรยาย" ปรากฏการณ์) โดยใช้ "ทฤษฎี" หรือ "แบบจำลอง" ของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์เพื่อกำหนดลักษณะโครงสร้างของการอธิบายดังกล่าว ดังนั้นจึงอาจคิดได้ว่ามีการอธิบายบางประเภทหรือบางรูปแบบที่เป็น "วิทยาศาสตร์" โดยเฉพาะ ทำให้แนวคิดของ “การอธิบายทางวิทยาศาสตร์” แสดงนัยว่ามีความแตกต่างระหว่าง “การอธิบาย” ที่มีลักษณะเป็น “วิทยาศาสตร์” กับการอธิบายที่ไม่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ และอีกประการคือความแตกต่างระหว่าง “การอธิบาย” กับสิ่งอื่น ๆ อย่างไรก็ตามงานเขียนทางปรัชญาในปัจจุบันเชื่อว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างการอธิบายในรูปแบบต่าง ๆ ที่พบในงานวิทยาศาสตร์ กับรูปแบบการอธิบายบางรูปแบบที่พบในบริบทที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ทั่วไป จึงต้องมีทฤษฎีของการอธิบายเพื่อระบุว่าสิ่งใดที่มีความเหมือนกันระหว่างการอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการอธิบายในรูปแบบธรรมดา [2]

ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ก่ แบบจำลองการอธิบายตามกฎและนิรนัยของเฮมเพล แบบจำลองนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังคงเป็นจุดเริ่มต้นของการอภิปรายเกี่ยวกับทฤษฎีการอธิบายส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

การอธิบายกับการอ้างเหตุผล[แก้]

คำถามถึงความแตกต่างระหว่าง "การอธิบาย (explanation)" และ "การอ้างเหตุผล (argument)" สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของสองสิ่งนี้ ในกรณีของการอ้างเหตุผล เราเริ่มต้นจากข้อเท็จจริงที่สงสัย ซึ่งเราพยายามสนับสนุนหรือโต้แย้งโดยการหาเหตุผลมาอธิบาย ในกรณีของการอธิบายเราเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้ว คำถามคือเหตุใดข้อเท็จจริงนี้จึงจริงและอะไรทำให้มันเกิดขึ้น การตอบคำถามเหล่านี้เรียกว่าเป็นการอธิบาย [3]

ในขณะที่การอ้างเหตุผลพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าบางสิ่งเป็นหรือควรเป็นเช่นนั้น การอธิบายพยายามที่จะแสดงให้เห็นทำไมหรือเพราะอะไรบางสิ่งจึงเป็นหรือควรจะเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น หากเฟร็ดและโจพูดถึงประเด็นที่ว่าแมวของเฟร็ดมีหมัดหรือไม่ โจอาจกล่าวว่า "เฟร็ดแมวของคุณมีหมัด ดูตอนนี้สิ แมวกำลังเกาเลย” โจใช้การอ้างเหตุผลว่าแมวมีหมัด อย่างไรก็ตามหากเฟร็ดและโจเห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่าแมวมีหมัดจริง พวกเขาอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นโดยการอธิบายว่า "สาเหตุที่แมวมีหมัดเกิดจากอากาศชื้น"

ความแตกต่างระหว่างการอ้างเหตุผลกับการอธิบายคือการอธิบายจะไม่ตัดสินว่าข้อความนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่จะพยายามแสดงให้เห็นว่าเหตุใดจึงเป็นจริง ในแง่นี้อาจมองได้ว่าการอ้างเหตุผลมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ ในขณะที่การอธิบายมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ[ต้องการอ้างอิง]


การอ้างเหตุผลกับการอธิบายส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันในการใช้วาทศิลป์ ทำให้เกิดเป็นความยากลำบากในการคิดวิเคราะห์ หา ข้ออ้าง ต่าง ๆ ในการอ้างเหตุผล โดยสาเหตุหลายประการดังนี้

  • ผู้คนมักไม่ชัดเจนว่าพวกเขากำลังอ้างเหตุผลเพื่อสิ่งหนึ่ง หรือกำลังอธิบายบางสิ่งบางอย่าง
  • มีการใช้คำและวลีประเภทเดียวกันในการอธิบายและการอ้างเหตุผล
  • คำว่า "อธิบาย" หรือ "การอธิบาย" และอื่น ๆ มักใช้ในการอ้างเหตุผล
  • การอธิบายมักถูกนำมาใช้ในการอ้างเหตุผลและนำเป็นส่วนหนึ่งของ เหตุผลที่ใช้อ้าง

การอธิบายกับการให้เหตุผลว่าจริง[แก้]

คำว่า "การอธิบาย" บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในบริบทของ การให้เหตุผลว่าจริง (justification) เช่น การอธิบายว่าเหตุใดความเชื่อจึงเป็นจริง การให้เหตุผลอาจเข้าใจได้ว่าเป็นการอธิบายอย่างหนึ่ง โดยอธิบายว่าเหตุใดความเชื่อจึงเป็นเรื่องจริง หรืออธิบายว่าทำคน ๆ หนึ่งจึงรู้สิ่ง ๆ หนึ่ง สิ่งสำคัญคือต้องระวังคือในบางกรณีการอธิบายไม่ใช่เรื่องการให้เหตุผลว่าจริง ผู้บันทึกประวัติอาชญากรรมอาจเขียนอธิบายพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัยเช่น เป็นคนตกงาน เป็นคนที่ถูกขับไล่ ฯลฯ ข้อความดังกล่าวอาจช่วยให้เราเข้าใจว่าเหตุใดบุคคลนั้นจึงกระทำความผิด แต่ข้อความเหล่านั้นไม่ได้ให้เหตุผลที่จริงแท้ว่าทำไมเขาจึงลงมือกระทำความผิด[ต้องการอ้างอิง]

ประเภท[แก้]

มีเหตุการณ์ วัตถุและข้อเท็จจริงมากมายที่ต้องได้รับการอธิบาย ดังนั้นการอธิบายก็มีหลายประเภทเช่นกัน อริสโตเติล ได้กล่าวไว้อย่างน้อย สี่ประเภท คำอธิบายประเภทอื่น ๆ ได้แก่ คำอธิบายเชิงหน้าที่, เชิงประวัติศาสตร์, เชิงจิตวิทยา, เชิงการลดทอน, เชิงวิธีการ [1]

การอธิบายอภิมาน[แก้]

แนวคิดของการอธิบายอภิมาน (meta-explanation) หรือคำอธิบายที่สูงกว่า มีความสำคัญการทำความเข้าใจการอธิบายในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับบุคคลที่มีความขัดแย้งกัน ในสถานการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ความขัดแย้งทั้งแบบมีเลศนัยและแบบชัดแจ้ง อาจเกิดจากผลประโยชน์ของบุคคลมีความขัดแย้งกัน โดยแต่ละคนก็อาจมีการอธิบายว่าเหตุใดพวกเขาจึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น โดยขาดความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของการอธิบายในหลาย ๆ กรณี เราต้องวิเคราะห์องค์ประกอบสองส่วนต่อไปนี้ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร (1) การอธิบายในระดับออบเจ็กต์ (การอธิบายในตัวเอง) และ (2) การอธิบายในระดับที่สูงกว่า (การอธิบายอภิมาน) การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของทั้งสองสิ่งนี้เพื่อให้เห็นความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อในวิธีที่บุคคลนั้นอธิบายสถานการณ์ของตัวเอง [4] การอธิบายระดับออบเจ็กต์จะประเมินความน่าเชื่อถือของข้ออ้าง โดยอาศัยวิธีการดั้งเดิมจากการนำข้ออ้างมาจัดเป็นโครงสร้างการอ้างเหตุผล การอธิบายอภิมานจะเชื่อมโยงสถานการณ์ปัจจุบันกับสถานการณ์หลาย ๆ สถานการณ์ที่ได้เรียนรู้ก่อนหน้านี้จากการพูดของคนหลาย ๆ คนมาจัดเป็นโครงสร้างเพื่อหาความเชื่อมโยงกัน โครงสร้างสถานการณ์จำลองประกอบด้วยอากัปกิริยาการสื่อสารของบุคคลนั้น และการอ้างเหตุผลเชื่อมโยงการกระทำเหล่านี้ ข้อมูลสำหรับการอธิบายทั้งระดับออบเจ็กต์และระดับอภิมานสามารถระบุได้เป็นภาพอย่างชัดเจน และสามารถอธิบายพฤติกรรมของแต่ละบุคคลในสถานการณ์ได้อย่างที่ปรากฎตามสายตา

การอธิบายอภิมานสามารถเสริมด้วยคำอธิบายแบบเดิมโดยการค้นหาการอ้างเหตุผลในรูปแบบของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของข้ออ้างของบุคคลเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความน่าเชื่อถือ [5]

อาจกล่าวได้ว่าการพิจารณาระหว่างการอธิบายระดับออบเจ็กต์กับระดับอภิมาณเป็นความถูกต้องแบบสัมพัทธ์ของการประเมินความน่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากแหล่งที่มาหลายแหล่งทั้งในอดีต จากนั้นจึงจัดกลุ่มของสถานการณ์ตามอัตราส่วน ด้วยเหตุนี้อัตราส่วนดังกล่าวจึงเป็นตัวแปรสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายบางสิ่งกับมนุษย์คนอื่น ๆ [1]

ทฤษฎีการอธิบาย[แก้]

ดูสิ่งนี้ด้วย[แก้]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Moore, Brooke Noel and Parker, Richard. (2012) Critical Thinking. 10th ed. Published by McGraw-Hill. ISBN 0-07-803828-6.
  • Traill, R. R. (2015). Reductionist Models of Mind and Matter: But how valid is reductionism anyhow? (PDF). Ondwelle Melbourne.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Drake, Jess (2018). Introduction to Logic. EP TECH PRESS. pp. 160–161. ISBN 978-1-83947-421-7.
  2. 2.0 2.1 Zalta, Edward N. (บ.ก.). "Scientific Explanation". Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  3. Mayes, Gregory (2010). "Argument-Explanation Complementarity and the Structure of Informal Reasoning" (PDF). Informal Logic. 30: 92. doi:10.22329/il.v30i1.419.
  4. Galitsky, Boris, de la Rosa, Josep-Lluis and Kovalerchuk, Boris Assessing plausibility of explanation and meta-explanation in inter-human conflict Engineering Application of AI V 24 Issue 8, pp 1472-1486, (2011).
  5. Galitsky, B., Kuznetsov SO Learning communicative actions of conflicting human agents J. Exp. Theor. Artif. Intell. 20(4): 277-317 (2008).

[[หมวดหมู่:ทฤษฎี]] [[หมวดหมู่:ญาณวิทยาของวิทยาศาสตร์]] [[หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางตรรกศาสตร์]] [[หมวดหมู่:การคิดวิเคราะห์]] [[หมวดหมู่:Category:ความเป็นสาเหตุ]]