ผู้ใช้:Econbot6205027/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระชายดำ[แก้]

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Kaempferia
สปีชีส์: K. parviflora
ชื่อทวินาม Kaempferia parviflora Wall. ex Baker

กระชายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) หรือกระชายม่วง ว่านเพชรดำ ขิงทราย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่าๆกัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ แทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ เกสรตัวผู้เป็นหมันมีสีขาว ส่วนกลีบปากมีสีม่วง[1]

กระชายดำขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าหรือแยกหน่อปลูกลงดิน โดยสามารถปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคมและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม[1] การเตรียมเหง้ากระชายดำสำหรับปลูก เหง้ากระชายดำเหง้าหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้หักออกมาเป็นแง่งๆ ถ้าแง่งมีขนาดเล็กก็ใช้ประมาณ 2 – 3 แง่ง ถ้าแง่งที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ก็เพียงหนึ่งแง่ง เมื่อกระชายดำโตขึ้น จะแตกหน่อแล้วเกิดหัวใหม่ขึ้นมา แล้วจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ดังนั้นก่อนนำไปปลูก จึงควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราแล้วผึ่งในที่ร่มจนแห้ง[1] แล้วจึงนำไปปลูก กระชายดำเป็นพืชที่ชอบที่ร่มสามารถปลุกได้ดีในดินที่ร่วนซุยและการระบายน้ำดี แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่าย ส่วนในดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก[1]

มูลค่าทางเศรษฐกิจ[แก้]

ตลาดหลักของกระชายดำไทยญี่ปุ่น-CLMV

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานว่า ตลาดสมุนไพรไทยของประเทศไทย มีมูลค่ารวมการส่งออกรวมในปี 2562 มากกว่า 146,605 ล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้า 280,164 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวสูงในทุกปี ส่วนตลาดสมุนไพรในโลกมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดหลักได้แก่ ญี่ปุ่น ตลาดกลุ่ม CLMV ที่ประกอบไปด้วยประเทศ กัมพูชา ลาว สหภาพเมียนมา และเวียดนาม ส่วนตลาดรอง ได้แก่ ตลาดจีน และอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เป็นต้น

ขณะที่ผู้ประกอบการไทยที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ได้แก่

1. บริษัท ห้าตะขาบ จำกัด (ผลิตภัณฑ์ตราห้าตะขาบ)

2. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด

3. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

4. บริษัท โกลด์คลอส จำกัด (น้ำมันเหลือง)

5. บริษัท วิเศษ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ผลิตภัณฑ์หมอเส็ง)

6. บ้านสวนสมุนไพรชัยศิขริน

สำหรับประเทศที่มีการนำเข้าสมุนไพรสูงสุดอันดับหนึ่งได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมา เยอรมนี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ ส่วนประเทศที่มีการส่งออกอันดับหนึ่งจีน รองลงมา สหรัฐอเมริกา อินเดีย เยอรมนี และฝรั่งเศส ตามลำดับ[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เหง้า - มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกันและมักมีขนาดเท่าๆกัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าโดยเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย[1]

ใบ - ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแทงออกจากใต้ดิน มีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ หลังและท้องใบเรียบมีสีม่วงแดง ขอบก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก[1]

ดอก - ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร ส่วนกลีบปากมีสีม่วง[1]

ประวัติศาสตร์การใช้งานประโยชน์[แก้]

ในการใช้กระชายดำแบบพื้นบ้านในสมัยก่อนนั้น จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน คือ เอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้งและปั้นเป็นลูกๆ หรือนำมาดองเหล้า (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9 – 15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1 – 2 เป๊กกระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ระยะเวลาการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรกขึ้นได้)หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ใช้เป็นยาบำรุงอย่างดีเป็นสมุนไพรที่ใช้ได้ทั้งชายและหญิงเพราะมีสรรพคุณเฉพาะตัวสำหรับเพศชายและเพศหญิง [2]

Etymology[แก้]

Kaempferia parviflora ประกอบขึ้นจากคำว่า Kaempferia ซึ่งเป็นชื่อสกุลหนึ่งภายในวงศ์ Zingiberaceae หรือวงศ์ของขิงซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในพืชที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายโดยพืชสกุล Kaempferia มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน อินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3]

ส่วนคำว่า parviflora เป็นคำที่มาจากคำว่า parviflorus ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาละตินโดยเกิดจากการรวมคำว่า parvus ที่แปลว่า "เล็ก" กับ flōs ที่แปลว่า "ดอกไม้" เมื่อรวมคำเข้าด้วยกันจะมีความหมายว่า "ดอกไม้ขนาดเล็ก"[4]

ดังนั้นเมื่อรวมคำว่า Kaempferia เข้ากับ parviflora จะมีความหมายว่าพืชในสกุล Kaempferia ที่มีดอกขนาดเล็ก

ตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ[แก้]

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย อาจสร้างความวิตกกังวลและกระทบต่อความสัมพันธ์ชีวิตคู่ได้ จึงได้มีการนำกระชายดำซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรหลายๆชนิดที่คนเชื่อว่าอาจมีประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศได้มารับประทานเป็นเครื่องดื่มและสมุนไพรมากมาย[5]

ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของกระชายดำต่อหนูทดลองออกมามากมาย โดยจากงานวิจัยเหล่าพบว่ากระชายดำมีผลต่อการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศและแรงขับทางเพศของหนูทดลองได้ ซึ่งกระชายดำอาจช่วยเพิ่มสมรรถทางภาพทางเพศในมนุษย์เพศชายได้ หากใช้กระชายดำร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แม้ผลการทดลองแสดงถึงสรรพคุณของกระชายดำที่อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพเพศชายได้[5]

แต่เนื่องจากเป็นเพียงการทดลองในสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงไม่อาจสรุปประสิทธิผลที่ชัดเจนในมนุษย์ได้ ผู้ที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหรือสมุนไพรใด ๆ เพื่อกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ[5]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ในปัจจุบันนอกจากจะใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาสมุนไพรทั้งแบบเหง้าสดและแบบแห้งแล้ว ยังมีสามารถนำไปประกอบอาหาร เป็นเครื่องดื่ม นำไปแปรรูป หรือจะใช้เป็นสมุนไพรแบบเดิมก็ได้โดย

• อาหาร - ซุปเปอร์ตีนไก่กระชายดำ ใช้กระชายดำตากแห้งเป็นเครื่องสมุนไพร แต่เนื่องจากกระชายดำเมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วมักจะทำให้อาหารมีรสชาติออกขมๆจึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการนำมาประกอบอาหารนัก[6]

• เครื่องดื่ม - น้ำกระชายดำ ไวน์กระชายดำ[1]

• สมุนไพร - แคปซูลกระชายดํา กระชายดําผง และ ยาน้ำกระชายดำ[1]

• แปรรูป - กาแฟกระชายดํา[1]

ข้อควรระวังในการรับประทานกระชายดำ[แก้]

• อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ ถ้ารับประทานกระชายดำในปริมาณมากจนเกินไป

• การรับประทานกระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เหงือกร่น

• ห้ามใช้กระชายดำในเด็ก และในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ

• แม้จะมีงานวิจัยกระชายดำในสัตว์ทดลองที่ระบุว่ากระชายดำไม่พบว่ามีความเป็นพิษ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผล ของการใช้สารสกัดกระชายดำในคนจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อความปลอดภัย[1]

สารสำคัญที่พบ[แก้]

• สาร 5,7-DMF สกัดได้จากเหง้ากระชายดํา[1]

• สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ -tetramethoxyflavone สกัดได้จากเหง้ากระชายดํา[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระชายดำ[แก้]

• สารสกัดจากกระชายดำด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศของหนูเพศผู้และสุนัข และยังมีผลช่วยเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ และเพิ่มระดับ Testosterone แต่ไม่ทำให้พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนไป นอกจากนี้หนูขาวที่ได้รับสารสกัดแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงในขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยป้องกันภาวะผสมไข่ไม่ติดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสารสกัดดังกล่าวยังส่งผลทำให้ตับโตขึ้นด้ว[1]

• สารสกัดจากกระชายดำด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ ลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูขาว และยังช่วยยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดในคน[1]

• สาร 5,7-DMF ที่สกัดได้จากเหง้ากระชายดํามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาว และมีฤทธิ์ลดไข้[1]

• สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ -tetramethoxyflavone ที่สกัดได้จากเหง้ากระชายดํามีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย อีกทั้งยังมีสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อนด้วย[1]

• กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งเชื้อ Streptococcus aureus และ Bacillus subtilis[1]

• จากการศึกษาทางพิษวิทยาในหนูทดลองเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าหนูทดลองที่ได้รับสารสกัดจากกระชายดำในปริมาณ 20-2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วหนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และหนูที่ได้รับกระชายดำในขนาด 2,000 มก./กก./วัน มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุม มีเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ สำหรับหนูเพศเมียจะมีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุม และทุกกลุ่มไม่พบว่ามีความเป็นพิษเมื่อตรวจอวัยวะภายในด้วยวิธีทางจุลพยาธิวิทยา[1]

ส่วนอ้างอิง[แก้]

https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3/[1]

https://www.disthai.com/16484907/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3[2]

https://www.bangkokbanksme.com/en/opportunities-smes-develop-krachai-dam-products-to-world-market[1]

https://en.wikipedia.org/wiki/Kaempferia#:~:text=Kaempferia%20is%20a%20genus%20of,%2C%20India%2C%20and%20Southeast%20Asia.[3]

https://www.wordsense.eu/parviflora/[4]

https://www.pobpad.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3-%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5[5]

https://www.foodietaste.com/recipe_detail.asp?id=2239[6]

1.[1] กระชายดํา สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายดำ 45 ข้อ ! www.medthai.com

2.[2] กระชายดำ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย https://www.disthai.com/

3.[1] โอกาส SMEs พัฒนาผลิตภัณฑ์กระชายดำเจาะตลาดโลก https://www.bangkokbanksme.com/

4.[3] Kaempferia https://en.wikipedia.org/

5.[4] parviflora https://www.wordsense.eu/parviflora/

6.[5] กระชายดำ บำรุงร่ายกาย และเพิ่มสมรรถภาพเพศชายได้จริงหรือ ? https://www.pobpad.com/

7.[6] ซุปเปอร์ตีนไก่กระชายดำ https://www.foodietaste.com/recipe_detail.asp?id=2239


ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

กลับหน้าสอนการใช้งาน
  1. 1.0 1.1 1.2 https://www.bangkokbanksme.com; https://www.bangkokbanksme.com. "โอกาส SMEs พัฒนาผลิตภัณฑ์กระชายดำเจาะตลาดโลก". www.bangkokbanksme.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last2= และ |last= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "กระชายดำ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย". ชื่อเว็บไซต์.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Kaempferia", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2021-09-23, สืบค้นเมื่อ 2022-05-10
  4. 4.0 4.1 4.2 "parviflora - WordSense Dictionary". www.wordsense.eu (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "กระชายดำ บำรุงร่ายกาย และเพิ่มสมรรถภาพเพศชายได้จริงหรือ ?". Pobpad. 2018-01-17.
  6. 6.0 6.1 6.2 "ซุปเปอร์ตีนไก่กระชายดำสูตรและวิธีทำโดย ครัวคุณวาสน์| FoodieTaste". www.foodietaste.com.