ผู้ใช้:DomeMyDome/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์[1][แก้]

อุปกรณ์ถ่ายภาพระยะไกล (Long-Range Reconnaissance Imager; LORRI)[แก้]

อุปกรณ์ถ่ายภาพระยะไกล (Long-Range Reconnaissance Imager; LORRI) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง มีเส้นผ่านศูนย์กลางของกระจกปฐมภูมิ 208 มิลลิเมตร มีมุมมองภาพที่แคบน้อยกว่าหนึ่งในสามขององศา มีอุปกรณ์รับภาพเป็นCCDขนาด 1024×1024 พิกเซล และไม่สามารถขยับเองได้ ต้องอาศัยการขยับของตัวยาน

มีหน้าที่ในการถ่ายภาพในระยะไกล ทำแผนที่ด้านไกลของดาวพลูโต ถ่ายภาพด้านธรณีวิทยาที่มีความละเอียดสูง และถูกใช้ในการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดี, ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี, ดาวพลูโต, ดวงจันทร์ของดาวพลูโต และวัตถุอาร์โรคอท

เครื่องวัดลมสุริยะรอบดาวพลูโต (Solar Wind Around Pluto; SWAP)[แก้]

เครื่องวัดลมสุริยะรอบดาวพลูโต (Solar Wind Around Pluto; SWAP) มีหน้าที่ในการวัดค่าลมสุริยะระหว่างเส้นทาง ที่ดาวพลูโต และนอกเหนือจากดาวพลูโต โดยที่ดาวพลูโตจะมีการเก็บข้อมูลปฏิสัมพันธ์ระหว่างลมสุริยะกับไอออนและ/หรือวัสดุที่เข้าสู่อวกาศจากชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต

อุปกรณ์สำรวจทางวิทยาศาสตร์อนุภาคพลังงานของดาวพลูโตด้วยสเปกโทรมิเตอร์ (Pluto Energetic Particle Spectrometer Science Investigation; PEPSSI)[แก้]

อุปกรณ์สำรวจทางวิทยาศาสตร์อนุภาคพลังงานของดาวพลูโตด้วยสเปกโทรมิเตอร์ (Pluto Energetic Particle Spectrometer Science Investigation; PEPSSI) เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับไอออนและอิเล็กตรอน โดยใช้หลักการเวลาของการเคลื่อนที่(Time-of-Flight)

PEPSSI มีหน้าที่ในการวัดมวล พลังงาน องค์ประกอบ และการกระจายของอนุภาคมีประจุรอบดาวพลูโต PEPSSI ยังสามารถวัดความหนาแน่นของพลาสมา(ไอออน) ที่หลุดพ้นจากชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต และยังสามารถแยกความแตกต่างระหว่างโปรตอน อิเล็กตรอน และไอออนหนัก ได้อีกด้วย

อลิซ (Alice)[แก้]

อลิซ (Alice) เป็นสเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพรังสีอัลตราไวโอเลต เป็นหนึ่งในสองส่วนประกอบของPEPSSI ALICEเป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยสเปกโตรกราฟ มีเป้าหมายในการระบุองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต หน้าที่หลักคือการระบุความเข้มข้นสัมพัทธ์ของธาตุและไอโซโทปต่างๆในชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต และมองหาชั้นบรรยากาศรอบๆแครอนและวัตถุแถบไคเปอร์

กล้องโทรทรรศน์ราล์ฟ (Ralph Telescope)[แก้]

กล้องโทรทรรศน์ราล์ฟ (Ralph Telescope) เป็นหนึ่งในสองส่วนประกอบของPEPSSI กล้องโทรทรรศน์ราล์ฟมีรูรับแสง 75 มม. สามารถถ่ายภาพได้สองย่านที่แยกออกจากกัน

กล้องถ่ายภาพในย่านสเปกตรัมมองเห็นได้แบบหลายสเปกตรัม (Multispectral Visible Imaging Camera; MVIC)[แก้]

เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพใรย่านสเปกตรัมมองเห็นได้โดยใช้CCD

แผงถ่ายภาพสเปกตรัมด้วยเอทาลอนเชิงเส้น (Linear Etalon Imaging Spectral Array; LEISA)[แก้]

เป็นสเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพในย่านใกล้อินฟราเรด

ในวันที่ 23 มิถุนายน 2017 นาซาประกาศว่าได้ทำการเปลี่ยนชื่อของLEISA เป็น "สเปกโทรมิเตอร์ทำแผนที่อินฟราเรดลิซา ฮาร์ดอะเวย์ (Lisa Hardaway Infrared Mapping Spectrometer)" เพื่อเป็นการให้เกียรติ ลิซา ฮาร์ดอะเวย์ ผู้จัดการโปรแกรมของกล้องโทรทรรศน์ราล์ฟ ที่เสียชีวิตในปี 2017[2]

เครื่องวัดฝุ่น เวเนเทีย เบอร์นีย์ โดยนักศึกษา (Venetia Burney Student Dust Counter; VBSDC)[แก้]

เครื่องวัดฝุ่น เวเนเทีย เบอร์นีย์ โดยนักศึกษา (Venetia Burney Student Dust Counter; VBSDC) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ถือว่าเป็นอุปกรณ์แรกในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์ของนาซาแรกที่สร้างโดยนักศึกษา ประกอบไปด้วยสองชิ้นส่วนหลัก คือ แผงตรวจจับฝุ่น และกล่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำมีการทำงานเมื่อฝุ่นเข้าไปกระทบกับแผงโพลีไวนิลิดีน ไดฟลูออไรด์(PVDF) ที่อยู่ภายในแผงตรวจจับฝุ่น

VBSDCมีการใช้งานเป็นครั้งคราวเพื่อใช้ในการตรวจฝุ่น โดยมีเป้าหมายในการตรวจจับอนุภาคฝุ่นขนาดในระบบสุริยะ แถบไคเปอร์ แต่ไม่ได้ทำการตรวจจับฝุ่นขณะบินโฉบดาวยูเรนัส ข้อมูลที่วัดได้คาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการทำความเข้าใจสเปกตรัมฝุ่นของระบบสุริยะ สเปกตรัมฝุ่นสามารถเปรียบเทียบได้กับสเปกตรัมจากการสังเกตดาวฤกษ์ดวงอื่น ทำให้ได้เบาะแสใหม่ว่าสามารถพบดาวเคราะห์คล้ายโลกได้ที่ใดในเอกภพ

ในเดือนมิถุนายน 2006 ได้ทำการตั้งชื่อเครื่องวัดฝุ่นนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติ เวเนเทีย เบอร์นีย์ ผู้เสนอชื่อ"พลูโต" ตั้งแต่อายุ 11 ปี เมื่อครั้งที่ ไคลด์ ทอมบอ ค้นพบดาวดวงใหม่ที่ หอดูดาวโลเวลล์ เมื่อปี 1930 โดยชื่อดังกล่าวก็คือชื่อของดาวพลูโตในปัจจุบัน

การทดลองวิทยาศาสตร์วิทยุ (Radio Science Experiment; REX)[แก้]

การทดลองวิทยาศาสตร์วิทยุ (Radio Science Experiment; REX)

  1. Talbert, Tricia (2015-03-25). "Spacecraft and Instruments". NASA.
  2. Gipson, Lillian (2017-06-23). "NASA's New Horizons Mission Honors Memory of Engineer Lisa Hardaway". NASA.