ผู้ใช้:Chittavan.ct/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในการดำรงชีวิตของประชาชนในสังคมทุกวันนี้ เห็นได้ว่าล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษา เศรษฐกิจ การคมนาคม ฯลฯ ที่รัฐกำหนดได้กำหนดให้ปฏิบัติในรูปแบบของนโยบายสาธารณะ โดยนโยบายสาธารณะจะมีรากฐานมากจากสภาพปัญหาต่างๆของสังคมและปัญหาที่ประชาชนคาดหวังที่อยากให้ให้รัฐเข้ามาแก้ไข ทำให้ปัญหาเหล่านี้ต้องเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง นโยบายสาธารณะจึงเป็นผลผลิกของระบบการเมือง เพราะเหตุนี้นโยบายสาธารณะจึงส่งผลต่อวิธีการดำรงชีวิตของประชาชน[1]

ความหมาย[แก้]

นโยบายสาธารณะ public policy หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง[2]

  นิยาม แนวทางการกระทำของรัฐบาล ในการวางแผน/ตัดสินใจ เพื่อให้ที่กิจกรรมต่างๆ ที่กระทำบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน การวางแผนต่างๆ

ซึ่งมีนักวิชาการจำนวนมาก ได้ให้นิยามแนวคิดของนโยบายสาธารณะ สามารถจำแนกออกเป็น3กลุ่มแนวคิด ดังนี้

1.แง่ของกิจกรรมหรือการกระทำของรัฐ James Anderson นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางการกระทำของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง "ซึ่งนโยบายดังกล่าวรัฐบาล ต้องกระทำจริงๆไม่เพียงแต่ ตั้งใจที่จะทำ"

Thomas Dye นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ "สิ่งที่รัฐบาลสามารถ เลือกที่กระทำ หรือ ไม่กระทำ"

2.แง่การตัดสินใจของรัฐบาล   William Greenwood นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ การตัดสินใจขั้นต้น จะเป็นการกำหนดแนวทางไว้กว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและ บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้"

Lynton Caldwell นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ การตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่สังคมอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้กระทำ"

3.แง่ของแนวทางในการกระทำของรัฐบาล

Charles Jacop นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่างๆ"

Harold Lasswell และ Adraham Kaplan นิยามว่า "นโยบายสาธารณะ คือ แผนหรือโครงการที่กำหนดขึ้น ประกอบไปด้วยเป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่างๆ[3]

องค์ประกอบและประเภทของนโยบายสาธารณะ[แก้]

องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ[แก้]

มีนักวิชาการหลายท่านให้คำอธิบาย องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ ซึ่งนักวิชาการท่านแรก ได้ให้คำอธิบายคือ R.Lineburry ซึ่ง Lineburry จำแนกองค์ประกอบ ของนโยบายสาธารณะได้ 5 ประการ

1.นโยบายสาธารณะ ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ชัดเจน และเป็นนโยบายที่ต้องทำเพื่อส่วนรวม

2.จะต้องมีแผนในการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน

3.มีการกำหนดหลักการปฏิบัติต่างๆในนโยบาย ซึ่งต้องสอดคล้องกับกาลเวลา และ สภาพแวดล้อมในสังคม

4.ในการที่จะนำนโยบายต่างๆไปปฏิบัติจะต้องมีการประกาศให้ ประชาชนในสังคมนั้นๆรับรู้ทั่วกัน

5.นโยบายต้องมีการดำเนินงานเป็นลำดับขั้นตอน

   และมีอีกการให้คำอธิบาย ขององค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ แต่เป็นการเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐบาล และ ปัจจัยต่างๆในสังคม ผู้ที่ได้ให้คำอธิบายนี้ คือ H.Lasswell และ A.Kaplan ได้อธิบายไว้ดังนี้

  • แผนงานที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด คือ แผนงานที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน เป็นผู้กำหนดแผนไว้ หรือแผนงานที่ถูกนำมาสานต่อจากแผนงานของรัฐบาลชุดเก่า
  • มีการกำหนดแผนงาน หรือ โครงการต่างๆไว้ก่อนล่วงหน้า
  • แผนงานดังกล่าวต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมของสังคม องค์ประกอบนี้ทำเห็นว่าในการกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำ[4]

ประเภทของนโยบายสาธาณะ[แก้]

นักวิชาการได้ศึกษาการปฏิบัติงานของรัฐบาล เพื่อแบ่งประเภทของนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีการแบ่งนโยบายที่ได้รับความยอมรับ คือ การแบ่งนโยบายของ Theodore Lowi ซึ่งท่านได้ แบบนโยบายออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.นโยบายบังคับ คือ จำพวกนโยบายในการออกกฎหมาย หรือ กฎระเบียบต่างๆ เพื่อนโยบายนี้สามารถสถานะ ของบุคคลว่าเมื่ออยู่ในสังคมเรา ต้องปฏิบัติตนอย่างไร บ่งบอกว่าประชาชนมีสิทธิอย่างไรบ้าง

2. นโยบายกระจายทรัพยากร คือ นโยบายที่จัดสรรสินค้า รวมไปถึงบริการในแก่ประชาชน นโยบายสวัสดิการ และ การในบริการสุขภาพต่างๆ

3.นโยบายจัดทรัพยากรใหม่ คือ การนำนโยบายเดิมที่มีมาก่อนหน้านี้ แล้วนำมาจัดทำใหม่หรือจัดทำนโยบายเพิ่มเติมขึ้นจากนโยบายพื้นฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของสังคม อย่างเช่น นโยบายการเก็บภาษีก้าวหน้า ที่จะเก็บภาษีคนรวยมากกว่าคนจน ซึ่งแน่นอนว่านโยบายนี้ มีผลกระทบต่อคนรวยโดยตรง ฉะนั้น นโยบายแบบนี้มักจะมีปัญหาในการปฏิบัตินโยบาย และ เกิดความขัดแย้งขึ้น

นอกจากนักวิชาการอย่าง Fred M.Frohock ได้เพิ่มเติมประเภทของนโยบายสาธารณะ เข้ามาอีก 2 ประเภท คือ

1.นโยบายสะสมทุน นโยบายนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับนโยบายกระจายทรัพยากร ของTheodore Lowi แต่นโยบายสะสมทุน จำแนกเพื่อระบุอย่างชัดเจน ให้เห็นว่าไม่ได้กระจายเพื่อไปบริโภค แต่ต้องการที่จะให้เงินสนับสนุน เพื่อเป็นการสะสมทุน อย่างเช่น เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

2.นโยบายจริยธรรม คือ นโยบายที่ต้องปฏิบัติตามความถูกต้อง ถูกหลัก ของศีลธรรม อย่างเช่น กฎหมายที่ห้ามไม่ให้ทำแท้ง หรือกฎหมาย ในเรื่องที่ทำแล้วมันไม่ดี ขัดกับศีลธรรม[5]

การก่อตัวของนโยบาย[แก้]

ขั้นตอนของการก่อตัวของนโยบาย คือขั้นที่มีการกำหนดหรือระบุปัญหา ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งที่มาของนโยบายสาธารณะ แท้จริงแล้วเกิดมาจากปัญหา เมื่อมีปัญหานโยบายสาธารณะจึงเกิด อธิบายได้ว่าหากเกิดปัญหาขึ้น ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงทำให้ต้องมีการแสวงหาวิธีการที่จะมา บรรเทา และ แก้ไขปัญหานั้น ซึ่งการบรรเทา และ แก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การจัดตั้งนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะจึงได้ถือกำเนิด [6]

ประเภทของปัญหา[แก้]

ประเภทของปัญหา ในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั้น มีการจำแนกตามแนวคิดของ Theodore Lowi ที่จำแนกประเภทของปัญหา ออกเป็น 3 ประการ คือ

1.ปัญหาจำพวกการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ เช่น ปัญหาในการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ หรือ จะเป็นปัญหาในส่วนของการทุจริตคอรัปชัน

2.ปัญหาจำพวกการจัดสรรทรัพยากร หรือ การกระจายทรัพยากร เช่น ปัญหาในเรื่องของรัฐบาลมีการจัดสรรให้มีการกระจายบริการสาธารณะในด้านต่างที่อาจจะมีกรกระจายไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในประเทศ

3.ปัญหาจำพวกการจัดสรรทรัพยากรใหม่ เช่น ปัญหาโครงสร้างภาษีอากรในการที่จัดเก็บภาษีจากบุคคล กลุ่มต่างๆ[7]

การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย[แก้]

หลังจากที่ได้มีการทราบและกำหนดปัญหา ที่จะนำมากำหนดเป็นนโยบายแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การกำหนดเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ของนโยบาย ซึ่งในการที่จะกำหนดเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์นั้นควรที่จะคำนึงถึง ความเป็นจริง ความเป็นได้ที่จะบรรลุผลและปฏิบัติ โดยจะอาศัยการสำรวจทัศนคติจากประชาชนเพื่อดูว่าประชาชนคาดหวังจะได้อะไรจากนโยบายนั้นๆ แต่เนื่องจากรัฐบาลมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ งบประมาณ บุคลากร หรือ เทคโนโลยี จึงทำให้รัฐบาลต้องเลือกที่จะทำแค่บางปัญหาโดยพิจารณาจากการที่ข้าราชการชั้นสูงจะนำปัญหาต่างๆที่เห็นว่าควรแก้ไขจริงๆเสนอให้แก่รัฐมนตรีพิจารณาหากปัญหานั้นผ่านก็จะนำมาทำเป็นนโยบาย อีกประการหนึ่ง ปัญหาที่จะนำมาเป็นนโยบายสาธารณะ ต้องเกิดจากความต้องการของประชาชนเป็นปัญหาสาธารณะ เมื่อปัญหาเหล่านี้ถูกยกมาเป็นวาระนโยบายและผ่านกระบวนการการยอมรับจากสังคมแล้ว ซึ่งนำไปสู่การพัฒนานโยบาย[8]

กำหนดนโยบาย[แก้]

เมื่อทราบแล้วว่าจะทำนโยบายอะไร พัฒนาอะไร หรือแก้ไขปัญหาส่วนไหน ก็จะเข้าสู่ช่วงกำหนดนโยบาย โดยการกำหนดนโนยายนั้น คือการกำหนดรายละเอียดให้กับนโยบายสาธารณะ ซึ่งผู้กำหนดรายละเอียดของนโยบายต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะนั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ ข้าราชการประจำที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดรายละเอียดที่ค่อนข้างละเอียดและต้องสมเหตุสมผล และต้องสามารถตอบสนองความพึงพอใจของประชาชน ซึ่งนโยบายที่ได้การรับรองจะต้องประกอบด้วย อำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ ผู้รับชอบไปดำเนินการ รายละเอียดการดำเนินการ และงบประมาณ หากเมื่อมีการกำหนดรายละเอียดต่างๆของนโยบายครบถ้วนสมบูรณ์แล้วจึงจะถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยผ่านการรับรองจากรัฐสภา ในระดับท้องถิ่นต้องมีการผ่านการรับรองจากสภาองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นๆ[9]

ผู้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย[แก้]

ผู้มีส่วนรวมกำหนดนโยบายแบบเป็นทางการ

ผู้มีส่วนรวมกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นทางการ

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย[แก้]

  • ค่านิยม ค่านิยมต่างๆ เช่น ค่านิยมขององค์การ ค่านิยมด้านวิชาชีพ ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมด้านนโยบาย ของผู้กำหนดนโยบายมีผลต่อความเชื่อในการตัดสินใจตัดที่จะกำหนดนโยบายนำออกมาใช้
  • ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง ในเรื่องความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อพรรคการเมืองของนักการเมืองแต่ละพรรค ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในการตัดสินใจเลือกนโยบายของนักการเมืองในที่นี้ คือ สมาชิกรัฐสภา ซึ่งสมาชิกรัฐสภาจะสามารถออกเสียงการสนับสนุนร่างกฎหมายของพรรคที่เข้าสู่การพิจารณารัฐสภาหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์และจงรักภัคดีของสมาชิกรัฐสภาต่อพรรคของตนเอง
  • ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง ในส่วนปัจจัยด้านผลประโยชน์ของประชาชนในเขตเลือกตั้ง มีส่วนสำคัญมากในการตัดสินใจของนักการเมือง เพราะ ประชาชนสามารถเลือกหรือไม่เลือกนักการเมืองเข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภาอีกก็ได้ตามความพึงพอใจของประชาชน ฉะนั้น นักการเมืองจึงต้องตัดสินนโยบายตามผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจ
  • มติมหาชน มติมหาชนถือว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบายเป็นอย่างมาก ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องให้ความสำคัญต่อมติมหาชน ในการที่จะกำหนดจะกำหนดนโยบายขึ้นที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ
  • ประโยชน์ของสาธารณชน ประโยชน์ของสาธารณชนถือเป็นจุดมุ่งหมายของนโยบาย ฉะนั้น ในการตัดสินนโยบายจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณชน[11]

การนำนโยบายไปปฏิบัติ[แก้]

      การนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ การนำการตัดสินใจกำหนดนโยบายที่ได้กระทำไว้ ที่อยู่ในรูปของ กฎหมายหรือคำสั่งของรัฐบาล ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อาจเป็นในเรื่องของแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ เมื่อนโยบายได้รับความเห็นชอบให้นำไปปฏิบัติ ผลลัพธ์ของนโยบายนั้นจะส่งผลโดยตรงแก่ประชาชนที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นที่พึ่งพอใจหรือไม่พึ่งพอใจ ก็ขึ้นอยู่ที่ความประสบผลสำเร็จของนโยบาย[12]

ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ[แก้]

การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีหลากหลายปัจจัย ดังนี้

  • เวลาและทรัพยากรที่เพียงพอในการดำเนินตามแผนงาน
  • การวางแผนจัดสรรทรัพยากรเหมาะสม
  • นโยบายที่อยู่ในเหตุผลและผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้
  • ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบาย
  • การดำเนินแผนงานหรือกิจกรรมของนโยบายตามความเหมาะสม
  • มีการติดต่อประสานงานอย่างสม่ำเสมอและชัดเจน
  • ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการนำนโยบายไปปฏิบัติต้องเป็นที่ยอมรับ[13]

กระบวนการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ[แก้]

ในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะเป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติแบบบนลงล่าง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นตอนระดับมหาภาค

รัฐบาลแบบรวมอำนาจ จะมีการรวมอำนาจรัฐไว้ที่หน่วยงานในระดับมหาภาค ซึ่งในการนำนโยบายไปปฏิบัติประเภทนี้ ผู้ควบคุมมีการควบคุมแบบแผนนโยบายหรือโครงการต่างๆ โดย องค์การที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการแบ่งหน้าที่กันทำเป็นลำดับ แต่ในการควบคุมและตัดสินใจโดยแท้จริงในการที่นำนโยบายไปแปลงเป็นแผนงาน จะถือเป็นการปฏิบัติในระดับมหาภาค

  • ขั้นการแปลงนโยบายให้เป็นแผนงาน

เมื่อฝ่าย รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ได้มีการกำหนดขอบเขตในการนำนโยบายไปปฏิบัติในรูปของกฎหมายต่างๆ จากนั้นจะมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่แต่ละแผนงานต่างๆ จากนั้นจะแจงนโยบายไปยังหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งหน่วยงานส่วนกลางจะนำนโยบายนั้นมาแปลงเป็นแผนงานและกระจายไปในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งในการแปลงนโยบายให้เป็นแผนงานนั้น จะต้องยึดถือตามจุดประสงค์ของนโยบายไว้ ซึ่งผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติควรที่จะ เข้าใจวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของผู้กำหนดนโยบายอย่างแท้จริงของนโยบาย และต้องมีความร่วมมือของหน่วยงานต่อนโยบายที่ได้รับมอบหมายด้วย

  • ขั้นการยอมรับแผนงาน

เมื่อหน่วยงานส่วนกลางได้ทำการแปลงนโยบายมาเป็นแผนงานแล้ว หน่วยงานส่วนกลางจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแผนงาน ต่อภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อให้ภูมิภาคและท้องถิ่นยอมรับและนำไปปฏิบัติ โดยจะต้องเข้าใจในสภาพต่างๆของภูมิภาคและท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเกิดความยอมรับก็จะนำไปสู่การนำนโยบายไปปฎิบัติ

2.ขั้นตอนระดับจุลภาค

ในระดับขั้นนี้ คือการที่หน่วยงานในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นยอมรับในตัวของแผนงานแล้ว โดยได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติจากที่หน่าวยงานส่วนกลางมอบหมายให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและวิธีปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนระดับจุลภาค ดังนี้

  • ขั้นการระดมพลัง

ตัวหน่วยงานเกิดความยอมรับในแนวทางที่ส่วนกลางมอบหมาย เพราะแผนงานสนองความต้องการ ตรงวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้

  • ขั้นการปฏิบัติ

มีการปรับเปลี่ยนในการปฏิบัติงานของสมาชิกในหน่วยงานเพื่อให้เข้ากับแผนงานหรืออาจมีการปรับแผนงานเพื่องานเข้ากับการปฏิบัติงานของสมาชิกในหน่วยงาน

  • ขั้นการสร้างความต่อเนื่อง

แผนงานของนโยบายเมื่อถูกปรับเปลี่ยนจนเป็นกลายเป็นหน้าที่ประจำของผู้ปฏิบัติงานและยอมรับแล้ว ผู้บริหารจะต้องสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปฏิบัติยอมรับแผนงาน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ต่อแผนงาน[14]

การประเมินผลนโยบาย[แก้]

ขั้นตอนนี้ คือ คอยติดตามผลลัพธ์ของนโยบาย หลังจากที่ได้นำนโยบายไปปฏิบัติในระยะหนึ่ง โดยประเมินว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร ซึ่งการประเมินนโยบายนี้ถือเป็นเครื่องมือสำหรับผู้จัดทำหรือผู้รับผิดชอบนโยบายในการปรับปรุงแก้ไข เรียนรู้ นโยบายให้ดีขึ้น ทำได้จากการที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย โดยนำไปเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เพื่อให้เห็นว่าควรที่แก้ไขปรับปรุงนโยบายอย่างไรให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้[15]

หน้าที่ของการประเมินผลนโยบาย[แก้]

มีหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่

1. การให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ในผลของการปฏิบัติงานของนโยบาย เพื่อให้ทราบถึงความจริงและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

2. สร้างความชัดเจนและวิจารณ์ค่านิยมของวัตถุประสงค์นโยบาย โดยทำการตั้งทำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างไร

3. การประเมินผลเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์นโยบายวิธีอื่น โดยการประเมินนโยบายสาธารณะหนึ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการโครงสร้างหรือให้คำแนะนำแก่ นโยบายอื่นๆ

ลักษณะของการประเมินนโยบาย[แก้]

ลักษณะสำคัญๆของการประเมินนโยบาย มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้

1.เน้นค่านิยม

เป็นการประเมินผลที่เน้นในเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาว่า ผลของนโยบายที่นำมาปฏิบัตินั้นมีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด มีประโยชน์ต่อสังคมแค่ไหน โดยการรวบรวมข้อมูลในส่วนของผลลัพธ์นโยบาย โดยการประเมินนี้เป็นการเน้นประเมินในเรื่องของจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์

2. การพึ่งพิงกันระหว่างค่านิยมและความจริง การประเมินผลนโยบายลักษณะนี้ ต้องอาศัยค่านิยมและความจริงในการประเมินผล ดังนั้นในการประเมินผลนโยบายจะต้องยึดข้อเท็จจริงมาประกอบกับผลของนโยบาย

3.เน้นปัจจุบันและอดีต

ในการประเมินผลเป็นการประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ของนโยบายที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและปัจจุบัน โดยจะเป็นการประเมินผลที่เป็นการมองย้อนกลับหลังและเกิดหลังจากที่มีการกระทำขึ้นแล้วมีเป็นคู่ๆ เพราะต้องมองในลักษณะที่เป็นเป้าหมาย และวิธีการ

4.การมีค่านิยมเป็นคู่ๆ

ค่านิยมที่เป็นพื้นฐานของการประเมินผล[16]

ประเภทการประเมินนโยบาย[แก้]

ประเภทของการประเมินนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทประเมินผลทางการบริการ และ ประเภทประเมินผลทางการเมือง 1. การประเมินผลทางการบริการ

เกี่ยวข้องกับการติดตามและตรวจสอบนโยบายที่เกี่ยวกับกลไกรัฐและภาคเอกชน โดยสามารถแบ่งประเมินเป็นหลายประเด็น ดังนี้

  • ประเมินทรัพยากรในองค์กร เพื่อถือเป็นข้อมูลในการดูประสิทธิภาพและคุณภาพของการจัดบริการสาธารณะ
  • การประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อตัดสินเกี่ยวกับการผลิตนโยบาย
  • การประเมินกระบวนการ เพื่อพัฒนาวิธีการทำงานของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติมีคุณภาพขึ้น
  • การประเมินประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบว่าวิธีใดสามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ากว่า
  • การประเมินประสิทธิผล เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าผลการดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่

2. การประเมินผลทางการเมือง ในการประเมินแบบผลทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลมากมายแบบการประเมินผลทางการบริการ การประเมินนี้จะเกี่ยวข้องกับสื่อมวนชน พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น มีขึ้นเพื่อดูว่าควรจะสนับสนุน/ต่อต้านรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบาย[17]

  1. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นโยบายสาธารณะ:แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ, เสมาธรรม,2546, หน้า3
  2. เอกสารการเรียนการสอนวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน ,สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
  3. มยุรี อนุมานราชธน, นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด กระบวนการ และการวิเคราะห์, เชียงใหม่, คนึงนิจการพิมพ์, 2547, หน้า4
  4. สมพร เฟื่องจันทร์, นโยบายสาธารณะ:ทฤษฎีและการปฏิบัติ, กรุงเทพฯ, โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2539, หน้า16
  5. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, นโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ, บพิธการพิมพ์, 2550,หน้า9
  6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นโยบายสาธารณะและการวางแผน, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555,หน้า116
  7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นโยบายสาธารณะและการวางแผน, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555,หน้า117
  8. มยุรี อนุมานราชธน, นโยบายสาธารณะ Public Policy, กรุงเทพฯ, เอ็กซเปอร์เน็ท, 2556,หน้า110
  9. อรุณี สัณฐิติวณิชย์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ, อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2558, หน้า44-46
  10. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นโยบายสาธารณะและการวางแผน, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555,หน้า131-136
  11. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นโยบายสาธารณะ:แนวความคิด และกระบวนการ, เสมาธรรม, 2546,หน้า377-383
  12. มยุรี อนุมานราชธน, นโยบายสาธารณะ Public Policy, กรุงเทพฯ, เอ็กซเปอร์เน็ท, 2556,หน้า227-228
  13. ศุภชัย ยาวะประกาษ, นโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550,หน้า92
  14. มยุรี อนุมานราชธน, นโยบายสาธารณะ:แนวความคิด กระบวนการ และการวิเคราะห์,เชียงใหม่, คนึงนิจการพิมพ์, 2547,หน้า109-122
  15. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, การประเมินผลนโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ, บพิธการพิมพ์, 2555,หน้า73
  16. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, นโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ, บพิธการพิมพ์, 2550,หน้า381-383
  17. อรุณี สัณฐิติวณิชย์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ, อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2558,หน้า80-81