ผู้ใช้:Chalisa2209/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมาย[แก้]

ความหมาย ค่านิยม (Value) คือ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สังคมส่วนมากกระทำกันก็จะเกิดเป็นค่านิยม ค่านิยมจะดีหรือไม่ดีจะอยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล การยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามที่คนหรือกลุ่มคนมีต่อสิ่งต่างๆ ค่านิยมเกิดขึ้นเนื่องจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล จึงทำให้ค่านิยมแตกต่างกันออกไปถึงแม้ว่าจะอยู่ในสังคมหรือวัฒนธรรมเดียวกัน ดังนั้นค่านิยมจึงไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงของค่านิยมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ[1]

-ดร.ก่อ สวัสดิพานิช ได้ให้ความหมายของคำว่าค่านิยมไว้ว่า หมายถึง ความคิด  พฤติกรรมและสิ่งอื่นที่คนในสังคมเห็นว่ามีคุณค่า จึงยอมรับและนำมาปฏิบัติตามไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมจะมักเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามกาลเวลาและความเห็นของคนในสังคม[2]
-ดร.ไพฑูรย์ เครือแก้ว กว่าวว่า ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่ผู้คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ เป็นที่ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่บังคับ ต้องทำและปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง ค่านิยมจึงเป็นวิธีการจัดรูปความที่มีความหมายต้อบุคคล และเป็นต้อนแบบของความคิดที่ใช้ยึดถือปฏิบัติตัวของคนในสังคม[3]
-Kilpatrick ให้ความหมายของคำว่าค่านิยม หมายถึง ความต้องการที่จะได้รับการประเมินค่าอย่างรอบคอบ และปรากฏว่ามีค่าควรแก่การเลืกไว้เป็นคุณสมบัติของตน[4]


ค่านิยมพื้นฐาน[แก้]

ค่านิยมพื้นฐาน คือ ค่านิยมที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน เป็นค่านิยมที่เข้าใจและยอมรับแล้ว ปฏิบัติแล้ว พอใจแล้ว ซึ่งจะถือว่าเป็นค่านิยมที่สำคัญในการทำให้มนุษย์พัฒนา จากคำว่า"ค่านิยมพื้นฐาน" Hall(1973) ไ้อธิบายว่า มี 2 ค่านิยมได้แก่

  1. ค่านิยมที่เกี่ยวกับตนเอง คือ ยอมรับตนเองว่ามีค่าสำหรับผู้อื่น
  2. ค่านิยมที่เกี่ยวกับผู้อื่น คือ คนอื่นมีค่าเท่ากับตนเอง[5]

ลักษณะของค่านิยม[แก้]

ลัษณะ 3 ประการของค่านิยม มีดังนี้คือ

  1. ลักษณะของสิ่งใด ที่ทำให้มนุษย์หรือคนเรามีความต้องการและชอบใจ
  2. ลักษณะของสิ่งใด ที่ทำให้มนุษย์เกิดความต้องการและตั้งใจกระทำ และทำแล้วต้องเกิดความสำเร็จให้ได้
  3. ลักษณะของที่ส่งเสริมคุณธรรมโดยมุ่งมั่นให้มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ มีจิตใจดีและอารมณ์ดี [6]

หลักการของค่านิยม[แก้]

หลักการของค่านิยมมีอยู่ 2 แบบ คือ

  1. ค่านิยมที่เป็นเครื่องมือ(Instrumental values) เช่น ค่านิยมในเรื่องเงิน เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คนได้รับค่านิยมในลักษณะที่สูงขึ้น เช่นมีความสุขมากขึ้น
  2. ค่านิยมที่ฝังราก(Root values) เช่น ชีวิตที่สะดวกสบาย โลกแห่งความสวยงาม เป็นต้น[7]

คุณสมบัติของค่านิยม[แก้]

  1. สิ่งที่ให้แนวความคิดทางสร้างสรรค์ เช่น ชาวยุโรปและชาวอเมริกัน ชอบออกผจญภัยในที่ต่างๆ ต่าจากชาวเอเชียที่จะชอบอยู่เฉยๆ ชอบความสงบ
  2. สิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ทั้งทางดี ทางร้าย เช่น เสียใจก็ร้องไห้ พอใจก็ยิ้มและหัวเรา เป็นต้น
  3. เป้าประสงค์ของการกระทำ เช่น ถ้าพอใจในตัวเพื่อนก็จะพูดด้วยและทักทาย หากไม่ชอบก็จะไม่ทักและไม่คุยด้วย
  4. แนวดำรงชีวิตปฏิบัติตามประเพณี การกินอยู่ เช่น ความสะอาด [8]

แขนงและประเภทของค่านิยม[แก้]

แขนงของค่านิยม[แก้]

  1. แขนงที่ว่าด้วยจริยธรรม (Ethical value) เป็นแขนงที่พิจาราณาถึงคุณค่าด้านความประพฤติของมนุษย์ทางด้านจริยธรรม คำสอนของศาสนาส่วนใหญ่จะเพ่งเล็งถึงด้านจริยธรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ
  2. แขนงที่ว่าด้วยสุนทรียภาพ (Esthetical value) เป็นแขนงที่พิจารณาถึงคุณค่าในด้านความงามที่แสดงออกมาโดยสื่อต่างๆ
  3. แขนงที่ว่าด้วยสังคม-การเมือง(Socio-political value)เป็นแขนงที่พิจารณาถึงคุณค่าทางด้านสังคมและการเมืองรวมไปถึงเศรษฐกิจที่มีอยู่ในแต่ละสังคม เป็นแขนงที่เรามักจะเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก มีลักษณะที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในเรื่องการพิจารณาค่านิยมอยู่เสมอ

ประเภทของค่านิยม[แก้]

  1. ประเภทมีคุณค่าในด้านการใช้สอยหรือเป็นเครื่องมือ หมายถึง คุณค่าที่เกิดจากการที่เราจะใช้เพื่อให้เกิดผลอย่างอื่นสืบตามมา
  2. คุณค่าภายใน หมายถึง คุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองของสิ่งต่างๆ ค่านิยมนั้นๆมีอยู่ในตัวมันเอง ไม่ได้พึ่งสิ่งอื่นและมีลักษระโดยเฉพาะของมัน[9]

ปัญหาค่านิยมในสังคมไทย[แก้]

ปํญหาส่วนตัวและปัญหาสังคมในปัจจุบันมีผลมากจากความขัดแย้งในด้านค่านิยม ปัญหาอาชญากรรม การหย่าร้าง การฆ่าตัวตาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่น ล้วนแต่เป็นปัญหาที่สังคมเผชิญอยู่ นักวิชาการและครูสังคมส่วนมากถือว่าเรื่องที่กล่าวมานั้นเป็นปัญหาที่เกี่วข้องกับค่านิยม ค่านิยมที่ขัดแย้งกัน เราจะพบได้ทั้งในตัวบุคคลและในสังคม ส่วนใหญ่ปัญหาด้านค่านิยมพบมากในวัยรุ่น สภาพสังคมในปัจจุบัน อิทธิพลของสื่อและวัฒนธรรมตะวันตกมีผลต่อการสร้างระบบความเชื่อและชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กวัยรุ่นไทย ปัญหาของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากถูกคาดหวังจากสังคมให้เติบโตเป็นผู้ใหย่เร็วเกิดไป ทำให้เกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติตัวในสังคมและไม่สามารถตัดสินใจได้เมื่อต้องประสบกับปัญหาด้านค่านิยม[10]

ค่านิยมในสังคมไทย[แก้]

ค่านิยมในสังคมเมือง[แก้]

จะกล่าวเฉพาะที่สำคัญ บางประการ ดังค่าไปนี้

  1. เชื่อในเรื่องเหตุและผล เช่น เชื่อว่าน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องของเคราะห์กรรม เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ ซึ่งเป็นความคิดที่เชื่อว่าปรากฏการณ์ต่างๆนั้น สามารถหาที่มา ผลและวิธีที่จะแก้ไขได้
  2. ขึ้นอยู่กับเวลา ชาวเมืองเป็นทาสของเวลาโดยแท้ เพราะเวลาคือจอมบงการชีวิตที่จะเป็นไปตามเวลาที่กำหนด เช่น ต้องตื่นเวลาใด ไปทำงานเวลาใด
  3. แข่งขันมาก คนในเมืองอยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อต่อกัน ชีวิตดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดตลอดเวลา มีความกดดันทางจิตมาก
  4. นิยมตะวันตก หรือมีกิริยามารยาทที่แปลกวิเศษไปกว่าที่ชาวบ้านใช้และมี เพื่อจะได้เน้นศักดิ์ศรีที่แตกต่างกันได้ชัดเจน ในสมัยปัจจุบันค่านิยมแบบนี้ แสดงออกด้วยการนิยมใช้ของต่างประเทศและทันสมัย
  5. ชอบจัดงานพิธี เป็นการทำเพื่อความมีหน้ามีตา มีชื่อเสียง มีเกียรติและเพื่อสถานภาพ เช่น งานเลี้ยงรุ่น งานวันเกิด
  6. ฟุ่มเฟือยหรูหรา ใครจะมีเงินมีเกียรติมากกว่ากันอยู่ที่การจัดเลี้ยงหรูหราใหญ่โตแค่ไหน
  7. นิยมวัตถุ เช่น เพชร รถคันใหญ่ราคาแพง เพราะสิ่งที่กล่าวมาเป็นเครื่องบบอกถึงฐานะของแต่ละคนว่ามั่งมีหรือยากจนเพียงไร
  8. ชอบทำอะไรเป็นทางการ ส่วนมากเวลาจะมีการงานอะไรก็ตามมักจะแจกบัตรเชิญ เพราะอาจมีปัญหาต่างๆเช่น การจราจรติดขัด ไม่สามารถบอกด้วยวาจาไม่สะดวก
  9. ยกย่องผู้มีอำนาจมีตำแหน่ง ออกมาในรูปแบบการให้เกียรติ ยกย่องสรรเสริญ ให้ความเคารพ มีความเกรงกลัว โดยไม่กล้าคัดค้านไม่ว่าจะผิดหรือถูก
  10. ขาดระเบียบวินัย มักจะทำอะไรรีบร้อนและเพื่อให้เสร็จๆไป
  11. ไม่รักของส่วนรวม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง ทำลายป่าเพื่อหวังความร่ำรวยของตนเอง ซึ่งเป็นการเสียหายต่อส่วนรวม
  12. พูดมากกว่าทำ ซึ่งการพูดมากนี้จะออกมาในรูปประชุม ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีกรรมการมากมาย โดยเฉพาะในหน่วยราชการ
  13. ไม่ชอบให้ใครเหนือกว่า
  14. เห็นแก่ตัวไม่เชื่อในใคร ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะสังคมที่ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อการอยู่รอดมาก หรือความก้าวหน้าของตัวเอง ตลอดจนเป็นสังคมที่มีคนมารวมอยู่กันเป็นจำนวนมากซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี จึงเกิดความไม่คุ้นเคยกันและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน[11]

ค่านิยมของสังคมชนบท[แก้]

  1. ยอมรับบุญรับกรรมไม่โต้แย้ง มีความเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การที่ประสบโชคร้ายก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่าต้องยอมรับในชาตินี้ ถ้ามีวาสนาก็จะมีเงินทอง
  2. ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ เช่น ถ้ามีฝนก็ปลูกข้าวได้ หากแล้งก็ทำไม่ได้ มาตรฐานของเศรษฐกิจจึงไม่มั่นคง
  3. เชื่อถือโชคลาง จึงมีการเซ่นไหว้ บวงสรวง บูชาและหาฤกษ์ยาม ความรู้สึกในเรื่องสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือธรรมชาติเช่น ลูกเจ็บป่วยก็ขอให้ภูติผีออกไป มีการเสดาะเคราะห์เป็นต้น
  4. ชอบเสี่ยงโชค มักชอบเล่นการพนัน โดยเฉพาะยามว่างจากการทำนประกอบกับเวลาว่างมีมากเพราะทำนาเพียงปีละครั้ง
  5. นิยมเครื่องประดับ โดยเฉพาะทอง เวลามีเงินก็จะชอบซื้อเครื่องประดับ เครื่องประดับนั้นเป็นการแสดงถึงความมีหน้ามีตาหรือฐานะของบุคคล
  6. นิยมคุณความดี ถ้าใครทำดีจะเป็นที่รักใครและเลื่อลือ ซึ่งคนดีมีไม่น้อยในชนบทที่ชาวบ้านนับหน้าถือตาและนิยมชมชอบ
  7. นิยมพิธีการและการทำบุญเกินกำลัง การทำบุญเกินกำลังมีพฤติกรรมคล้ายกับการจัดพิธีเกิดกำลัง นอกจากจะเป็นการโอ้อวดแล้วยังเป็นการหวังผลตอบแทนในชาติหน้า เป็นแนวคิดที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องการเวียนไหว้ตายเกิด เชื่อในกฎแห่งกรรม
  8. พึ่งพาอาศัยกัน ประเภทช่วยกันทำช่วยกันกิน เช่น บ้านใครปลูกข้าวหรือมีงานใดๆ ขาดแคลนอะไรถ้าอีกฝ่ายมีก็จะช่วยเหลือในส่วนที่ขาด
  9. รัญาติพี่น้อง มีอะไรต้องเกื้อกูลกันระหว่างญาติ หรือแม้แต่ในหมู่บ้านเดียวกันก็อาจจะนับเป็นญาติด้วยเช่นกัน
  10. มีความสันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ไม่ชอบไปยุ่งเกี่ยวเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับตน โดยเฉพาะส่วนรวม ชอบเชื่อฟังมากกว่าคัดค้าน โดยเชื่อว่าวิธีนี้จะสนองความต้องการที่ดี
  11. หวังควมสุขชั่วหน้า ส่วนใหญ่จะสนใจสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนั้นไม่ค่อยหวังอะไรที่เกินเลยไปกว่าที่เป็นอยู่และมักจะไม่สนใจหรือตั้งคำถามอะไรที่นอกเหนือจากความสามารถ เช่น ข้าวที่ปลูกขอให้มีพอใช้หนี้และเหลือพอกินตลอดปีก็พอ ส่วนภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไรยังไม่คิดในขณะนี้[12]
  1. พนัส หันนาคินทร์, ค่านิยม, การสอนค่านิยม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ พิษณุโลก, พ.ศ.2521, น.17-18.
  2. ก่อ สวัสดิพานิช, "วัยรุ่นกับค่านิยมและระบบศีลธรรม", เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการศึกษา, กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ.2518, น.46-58
  3. ไพฑูรย์ เครือแก้ว, ลักษณะสังคมไทยและการพัฒนาชุมชน, การพิมพ์เกื้อกูล, พ.ศ.2506, น.6.
  4. Killpatrick, William Heard, Philosophy of Education, New York, The MacMillan Co., 1954, P.15
  5. วัชรี ธุวธรรม. 2525. ค่านิยมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ. บุญส่งการพิมพ์
  6. สมบัติ มหารศ. 2530. ลักษณะของค่านิยม. มหาวิทยาลัยศรนครินทร์วิโรฒ
  7. นาตยา ภัทรแสงไชย. 2524. หลักการของค่านิยม. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
  8. สมบัติ มหารศ. 2530. คุณสมบัติของค่านิยม. มหาวิทยาลัยศรนครินทร์วิโรฒ. น.2-3
  9. พนัส หันนาคินทร์. 2521. ประเภทและแขนงของค่านิยม. พิษณุโลก. แผนกเอกสารและการพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ พิษณุโลก
  10. นาตยา ภัทรแสงไทย. 2524. ปัญหาค่านิยมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. น.1-2
  11. สุพัตรา สุภาพ. 2518. ค่านิยมของสังคมเมือง. กรงเทพฯ. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. น.18
  12. สุพัตรา สุภาพ. 2518. ค่านิยมของสังคมชนบท. กรงเทพฯ. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. น.16