ผู้ใช้:Boonsuebbj/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรพล ชามาตย์
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้ช่วยปลัดกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(นายสุชาติ นวกวงษ์สภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขประจำตัว 218)
บุพการีนายสมัย ชามาตย์
นางประทิน ชามาตย์


ประวัติ[แก้]

สุรพล ชามาตย์ เกิดเมื่อวันที่1 มกราคม พ.ศ.2506 ณ บ้านเลขที่ 62 หมู่ 1 ตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายสมัย ชามาตย์ ประกอบอาชีพพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย กับนางประทิน ชามาตย์ ประกอบอาชีพค้าขาย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม และปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในสาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร โดยได้รับทุนจากกระทรวงพลังงาน และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์เพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม ตลอดจนจบหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน จากสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารวัสดุเหลือใช้จากโรงงานและชุมชน ณ ศูนย์ The Association for Overseas Technical Scholarship (AOTS) เมือง Yokohama ประเทศญี่ปุ่น โดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ในด้านการบริหารจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรม และได้รับปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 54) จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ตามลำดับ

การทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนวิศวการรถไฟ รุ่นที่ 39 เมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้บรรจุเข้ารับราชการ ณ กองซ่อมรถจักร โรงงานมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ทำงานได้ 9 ปี 7 เดือน ในเดือนมิถุนายน และปีพ.ศ. 2535 ได้ลาออกมาทำงานที่การประปานครหลวง กระทรวงมหาดไทย เป็นระยะเวลา 2 เดือน จึงได้ลาออกมาทำงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในตำแหน่ง วิศวกรตรวจโรงงาน 3 กองตรวจโรงงาน นายสุรพล ชามาตย์ ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ใน พ.ศ. 2547 อุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภูใน พ.ศ. 2548 อุตสาหกรรมจังหวัดอ่างทองในปี พ.ศ. 2551 อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรีใน พ.ศ. 2552 อุตสาหกรรมจังหวัดระยองใน พ.ศ. 2556 และได้เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตามลำดับ ส่วนในด้านงานที่นอกเหนือจาการรับราชการที่กระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ได้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ อีก เช่น นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล [1] นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ[2] ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ (นายสุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขประจำตัว 218) คณะอนุกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย และยุทธศาสตร์การบริหารกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยในคณะกรรมการประจำสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ภาคตะวันออก กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยากรพิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเป็นวิทยากรรับเชิญ ให้กับ องค์กร บริษัท และสถานศึกษาต่างๆ ในการบรรยายเรื่องมลพิษจากโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อการสาธารณสุขของไทย

รางวัล เกียรติยศ[แก้]

นายสุรพล ชามาตย์ ได้รับการยกย่องให้รับใบประกาศเกียรติคุณข้าราชการพลเรือนดีเด่น ระดับจังหวัดของจังหวัดหนองบัวลำภู ๒ ปี ซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๘ - พ.ศ. ๒๕๔๙ ) รางวัลเกียรติบัตรยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประจำปี ๒๕๕๒ ให้เป็นผู้ที่มีผลการประเมินดีเด่นตามมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม และค่านิยมสร้างสรรค์จังหวัดอ่างทอง รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการเป็นผู้ริเริ่มสนับสนุนและดำเนินการก่อตั้งให้เกิดการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่ ๗๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ และเข็มเชิดชูเกียรติ (ครุฑทองคำ) ให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ ในการสนับสนุน พันธุ์สัตว์น้ำ ตามโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัว (สองล้านตัว) คืนสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จาก หม่อมราชวงศ์สมลาภ กิติยากร เลขานุการในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ จากคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาด้านสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่สาธารณะและสังคม ประจำปี ๒๕๕๒ นายสุรพล ชามาตย์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี ๒๕๕๒ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาบริหารราชการ ประจำปี ๒๕๕๒ [3] รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทบริหาร ประจำปี ๒๕๕๕

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล[1]
  2. นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ[2]
  3. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริหาร ประจำปี ๒๕๕๓[3]
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
  8. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
  9. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]