ผู้ใช้:Aomsushar19/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดใหม่พิเรนทร์ เป็นวัดเล็ก ๆ วัดโบราณวัดหนึ่ง ได้สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๑๑ ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพทำข้าวหลามขาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดใหม่บ้านข้าวหลาม”ครั้นต่อมาทางการ ได้ตัดถนนผ่านหน้าวัด (ถนนอิสรภาพ) ทำให้การคมนาคมไปมาสะดวกขึ้นประกอบกับอยู่ใกล้กับสามแยกโพธิ์สามต้น ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดใหม่โพธิ์สามต้น”

วัดใหม่พิเรนทร์

ในอดีตนั้น พระพิเรนทรเทพ และญาติพี่น้องในฐานะผู้สร้างและทำให้วัดมีหลักฐานมั่นคงเพื่อเป็นเกียรติประวัติจึงได้ขนานนามวัดตามบรรดาศักดิ์ท่านว่า “วัดใหม่พิเรนทร์”มาจนถึงปัจจุบัน โดย วัดใหม่พิเรนทร์ มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๔๖ ตารางวา อาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินเอกชน ความยาว ๗๕.๓๐ เมตร ทิศใต้ ติดต่อกับที่ดินเอกชน ความยาว ๑๓๗.๐๐ เมตร ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนอิสรภาพ ความยาว ๑๒๖.๑๐ เมตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง ความยาว ๙๓.๙๐ เมตร

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีกำแพงคอนกรีตกันเขตวัด หน้าวัดอยู่ทางทิศตะวันออก มีถนนอิสรภาพผ่าน อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถ กว้าง ๘.๘๐ เมตร ยาว ๒๓.๘๐ เมตร แต่เดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ด้านหน้าและด้านหลังเป็นแบบมีกันสาด ได้ทำการซ่อมแซมดัดแปลงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นแบบหลังคาคอนกรีตสองชั้นมีซุ้มประตูด้านหน้า มีกุฏิสงฆ์ ๙ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบ หอสวดมนต์ เป็นเสาคอนกรีต ฝาและพื้นเป็นไม้สักมี สามจั่ว ศาลาเอนกประสงค์ เป็นตึกสองชั้น ตรีมุข มีช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์ ที่นห้าบันจารึกพระพุทธรูปไว้ทั้งสามด้าน นอกจากนี้ยังมี ศาลาการเปรียญ ชื่อศาลาพร้อม ศิริวัฒนกุล หอระฆัง ฌาปนสถาน ศาลาบำเพ็ญกุศล เมรุ สุสาน พระพุทธรูปปูนปั้นแบบสุโขทัย ๒ องค์ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ และห้ามสมุทร รวม ๗ องค์ พระประธาน ๑ องค์ จึงเป็นพระพุทธรูปทั้งหมด ๑๐ องค์

วัดใหม่พิเรนทร์ ถูกสร้างขึ้นมานานแล้วในทางประวัติศาสตร์น่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งของพระราชวังเดิม (สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี) มีเรื่องเล่าว่า บริเวณวัดใหม่พิเรนนทร์มีต้นโพธิ์ยืนตระหง่าน เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชไทย พ.ศ. ๒๓๑๐ พระองค์ท่านได้ล่องเรือพาทหาร และข้าราชบริภาร ล่องเรือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งมาทางใต้ และได้มาถึงบริเวณวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ในรุ่งขึ้น พระองค์ก็อธิฐานจติที่จะตั้งเมืองใหม่บริเวณที่แห่งนี้เพื่อสร้างเมืองก็คือ กรุงธนบุรี บริเวณที่แห่งนี้มีแม่น้ำล้อมรอบคือ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางด้านทิศตะวันออก คลองบางหลวงอยู่ทางด้านทิศใต้ คลองมอญอยู่ทางด้านทิศเหนือ และคลองบางกอกใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก บริเวณที่แห่งนี้มีวัดที่สร้างมาแล้ว แต่เป็นวัดทรุดโทรม และมีพระภิกษุสามเณรพำนักจำพรรษาน้อย วัดที่ว่านี้มี ๗ วัด คือ

๑. วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

๒. วัดโมลีโลกยาราม

๓. วัดหงส์รัตนาราม

๔. วัดราชสิทธาราม

๕. วัดนาคกลาง

๖. วัดเครือวัลย์ ๗. วัดใหม่บ้านข้าวหลาม (วัดใหม่พิเรนทร์) จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้ง ๗ วัดนี้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กันโดยมีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ และประชาชนผู้ศรัธธาในพระพุทธศาสนาสร้างขึ้นมาไว้เป็นที่ปฏิบัติศาสนธรรมตามพุทธประเพณี โดยวัดที่กลาวมาทั้ง ๗ วัดนั้น ปัจจุบันนี้มีวัดที่ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ๖ วัด คือ

๑. วัดอรุณราชวราราม

๒. วัดโมลีโลกยาราม

๓. วัดหงส์รัตนาราม

๔. วัดราชสิทธาราม

๕. วัดนาคกลาง

๖. วัดเครือวัลย์

มีเพียงวัดใหม่พิเรนทร์ เพียงวัดเดียวที่เป็นวัดราษฎร์ มีเรื่องเล่าขานทางประวัติศาสตร์ว่าวัดใหม่พิเรนทร์นี้ บริเวณที่ตั้งรอบ ๆ มีต้นใผ่ขึ้นปกคลุมบริเวณชุมชนรอบวัดและมีคลองเล็ก ๆ ผ่านทางด้านทิศตะวันตกหากจะกล่าวถึงชัยภูมิการตั้งเมืองกรุงธนบุรี ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชพระองค์ท่านตงคิดว่าบริเวณเหล่านี้น่าจะเป็นสถานที่อันเป็นมงคลที่จะสร้างเป็นราชธานี เพราะมีวัดล้อมรอบ และมีคลองล้อมรอบด้วย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการป้องกัน และรักษาเมืองมิให้อริราชศัตรูเข้ามาทำลายได้ยากยิ่ง

ต่อมา วัดใหม่พิเรนทร์ หรือชื่อเดิมว่า วัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือ วัดใหม่บ้านข้าวหลาม ตามีที่ชาวบ้านเรียกกันก็สุดแต่ใครจะเรียก เพราะทั้งสามชื่อก็คือวัดเดียวกันตามหลักฐานการสร้างวัดและบูรณะวัด ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระพิเรนทรเทพ (ขำ ณ ราชสีมา) เป็นบุตรของ เจ้าพระยากำแหงสงครามหรือ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ อินทรกำแหง) ในสมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่งกรมพระตำรวจหลวง รัชกาลที่ ๓ ท่านได้เดินทางมาสักการะพระราชวังเดิม (วัดอรุณราชวราราม) ได้มาเยี่ยมญาติในบริเวณนี้ และท่านได้เห็นวัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือวัดใหม่บ้านข้าวหลาม ที่มีเสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงปรารภกับญาติ ๆและผู้ติดตามว่า จะสร้างวัดแห่งนี้ไว้เป็นที่ให้พระภิภษุ-สามเณร ได้ปฏิบัติศาสนธรรมทางพระพุทธศาสนา หลังจากท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดพระพิเรนทร์ (วัดขำเขมการาม) เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๙ และได้มาปฏิสังขรณ์วัดใหม่โพธิ์สามต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔

ที่ชื่อว่า วัดใหม่ขี้หมู นั้นเรียกตามภาษาชาวบ้านเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่าเดิมก่อนสร้างวัดก็ดีหรือสร้างวัดแล้วก็ดี เป็นที่ ๆ มีหมูป่าอยู่เป็นจำนวนมาก และหมูเหล่านี้ได้ถ่ายเอาไว้เหม็นทั่วไปหมด ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดใหม่ขี้หมู ทั้งนี้เพราะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่และแม้ว่าภายหลังจะมีประชาชนมาอยู่มากขึ้น ทำให้หมูป่าสูญพันธุ์ไป แต่ก็มีผู้เอาหมูมาเลี้ยงปล่อยไว้ตามใต้ถุนกุฏิพระเป็นจำนวนมาก หลังน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๔๘๕ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีผู้เอาหมูมาเลี้ยงปล่อยไว้ใต้ถุนกุฏิพระเป็นสิบ ๆ ตัว เวลาเข้าไปหาเศษแก้ว ขวดแตกเศษเหล็กขายเหม็นขี้หมูจนไม่อยากเข้าไป

ที่ชื่อว่า วัดใหม่บ้านข้าวหลาม นั้นก็เรียกตามภาษาชาวบ้านเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเหตุว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ ณ บ้านข้าวหลาม ชาวบ้านจึงนิยมเรียกตามชื่อบ้านเพราะจำง่ายหาง่าย และเรียกจนติดปาก เด็ก ๆ รุ่นเราไม่รู้จัก รู้จักแต่ชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ชาวบ้านรู้จักชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ มากขึ้นก่อนปี ๒๕๐๐ เล็กน้อยและคนที่ยังเรียกว่าวัดใหม่บ้านข้าวหลามก็ค่อย ๆ ล้มหายตายจากไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน คนวัดใหม่พิเรนทร์ไม่รู้จักชื่อวัดใหม่บ้านข้าวหลาม เช่นเดียวกับวัดชิโนรสาราม กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงสร้างไว้ที่ริมคลองมอญ ก็เรียกว่า วัดใหม่คลองมอญ และถึงแม้ว่าภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ จะพระราชทานชื่อให้ว่าวัดชิโนรสาราม เพื่อถวายพระเกียรติองค์ผู้สร้างวัด แต่ชาวบ้านก็เรียกว่าวัดใหม่คลองมอญอยู่ดี คนรุ่นก่อนเรียกกันจนติดปากเวลาจะเล่นน้ำก็จะชวนกันไปเล่นที่ท่าวัดใหม่คลองมอญเป็นต้น

วัดใหม่พิเรนทร์เป็นชื่อที่เป็นทางการเป็นชื่อที่มีอยู่ในทำเนียบวัดของกรมการศาสนา ส่วนคำว่าใหม่นั้นไม่เป็นที่สงสัยเพราะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ แต่คำว่า พิเรนทร์ นั้นมีคำถามมากมายทั้งจากผู้อื่นที่ถามมาและเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระพิเรนทรเทพ "ถามว่า" พระพิเรนทรเทพสร้างขึ้นใหม่ ทำไมไม่ตั้งชื่อวัดใหม่พระพิเรนทร์ ?

"ตอบว่า" เพราะจำไปซ้ำกับวัดพระพิเรนทร์ ซึ่งพระพิเรนทรเทพท่านที่ ๑ คือ นายสุดใจได้สร้างไว้ก่อนแล้วที่วรจักร

"ถามว่า" ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่ตั้งชื่อว่า วัดใหม่พิเรนทรเทพ หรือ วัดใหม่ทรเทพ ?

"ตอบว่า" คำว่า พิเรนทรเทพ เป็นราชทินนามคำว่า พระ คือ ยศ หรือ ศักดินา เช่นท่านขุน คุณหลวง คุณพระ พระยา เหล่านี้คือ ยศหรือศักดินาที่ได้เลื่อนขึ้นเมื่อทำความดีความชอบเหมือนร้อยตรีขึ้นเป็นร้อยโท เป็นต้น ส่วนที่ไม่ใช้ทรเทพนั้น เข้าใจว่าคงไม่เป็นที่นิยมกัน ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์มักจะใช้บรรดาศักดิ์คำหน้าราชทินนาม เช่นหลวงพิบูลสงคราม ก็ใช้เรียนกันว่า หลวงพิบูล เฉย ๆ พระบริภัณฑ์ยุทธกิจก็เรียกกันว่า พระบริภัณฑ์

"ถามว่า" ถ้าอย่างนั้นพระพิเรนทรเทพ จึงตั้งชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่ว่าวัดใหม่ แล้วเอาราชทินนามคำหน้าใส่ไว้ใช่หรือไม่

"ตอบว่า" อาจเป็นความประสงค์ของท่านผู้สร้างที่จใช้คำหน้าของบรรดาศักดิ์เท่านั้น เพราะปกติเข้าใจว่าผู้ที่เรียกท่านก็จะเรียกว่า พระพิเรนทร์เท่านั้น

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าผู้ที่สร้างวัดใหม่พิเรนทร์คือ พระพิเรนทรเทพ (ขำ) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ และเป็นพระพิเรนทรเทพท่านที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านพิเรนทรเทพนั้นมีอยู่ ๓ ท่านด้วยกัน คือ

ท่านที่ ๑ พระพิเรนทรเทพ ท่านสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุทธยาซึ่งมีรับสั่งให้ยกกองทัพไปรักษาเมืองกาญจนบุรี และได้ถูกกองทัพพม่าตีแตกพ่าย เนื่องเพราะมีกำลังน้อยกว่า

ท่านที่ ๒ ชื่อนายสุดใจ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระพิเรนทรเทพเมื่อทรงปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕

ท่านที่ ๓ ชื่อนายขำ ปรากฎชื่อเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีรับสั่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา พระยามหาอำมาตรย์ และพระพิเรนทรเทพไปสักเลกชายฉกรรจ์ ลาวตะวันออกเขมรป่าดง เมื่อพ.ศ. ๒๓๘๐

เมื่อพระพิเรนทรเทพมีศรัทธาที่จะสร้างวัดให้เป็นสมบัติไว้ในพระพุทธศาสนานั้น ต้องดำเนินการเบื้องต้นสองประการก่อนคือ

๑. ต้องจัดหาที่ดินที่เหมาะสมก่อนคือใกล้น้ำ เพราะในสมัยก่อนการสัญจรไปมาใช้ทางน้ำเป็นหลัก

๒. ต้องหาคนที่ไว้เนื้อเชื่อใจ และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไม้ไปเสาะหาแหล่งไม้สักก่อน และไม้สักนั้นจะขึ้นได้ดีต้องเป็นพื้นที่ ๆดินดี น้ำดี อากาศดี ดังนั้นไม้สักจึงมีมากในภาคเหนือคือ ตั้งแต่แต่จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป และในการหาแหล่งไม้ที่เป็นป่าสมบูรณ์จะต้องใกล้ลำน้ำด้วย เพราะจะใช้อาบกิน และปลูกผักสวนคัวเพื่อเป็นเสบียงต้องหาที่สำหรับทำนาปลูกข้าว และต้องใกล้ป่าไผ่สำหรับทำแพบรรทุกไม้ล่องมาด้วย ไม้ที่ต้องใช้สำหรับสร้างวัดใหม่พิเรนทร์ใช้คนทำงานประมาณ ๗๐ คน โดยแบ่งงานดังนี้ ใช้คนคัดเลือกไม้ตัดโค่น ตัดทอน ชักลากรวมหมอน ๑๕ คน ถากเสาและพริกไม้ ๑๕ คน เลื่อยไม้แปรรูป ๓๕ คน ตัดไม้ไผ่ทำแพ ๕ คนในการเลื่อยไม้นั้นต้องใช้เลื่อยโครงเป็นคู่ คู่หนึ่งถ้าไม้ขนาดหน้ากว้าง ๑๐ นิ้ว หน้านิ้วครึ่ง ยาว ๕ เมตร จะได้โดยเฉลี่ยวันละ ๓ แผ่น ดังนั้นจะต้องใช้เวลาทำไม้ถึง ๓ ปี หยุดพักหน้าฝนปีละ ๕ เดือนรวมแล้วต้องใช้เวลาเต็ม ๆ ๒๔ เดือน เป็นอย่างต่ำได้เสาล่องเสาได้ไม้ล่องไม้โดยต้องมีช่างที่มีความรู้ทางช่างไม้ด้วยว่าจะเลื่อยไม้อะไรก่อน ส่วนช่างปลูกสร้างก็ต้องเตรียมวางผังขุดหลุมไสไม้ถากเสา ทั้งหมดที่อธิบายมาพอเป็นสังเขป

เมื่อสร้างวัดโพธิ์สามต้นเสร็จแล้ว ชาวบ้านและญาติมิตรจึงเปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือวัดใหม่บ้านข้าวหลาม เป็น วัดใหม่พิเรนทร์ และขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใน ปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ปีเดียวกันนั้น เหตุที่ชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ก็เพราะเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พระพิเรนทรเทพ และไม่ได้ให้ซ้ำกับวัดพระพิเรนทร์ จึงใช้คำว่า “ใหม่” นำหน้า จึงเป็นชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ต่อมาพระพิเรนทรเทพ ท่านได้รับราชการมีตำแหน่งหน้าที่เจริญรุ่งเรืองสนองงานของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เคารพบูชายึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้รับสถาปนา ยศสูงขึ้นตามลำดับ ยศสุดท้ายในฐานันดรศักดิ์ที่ พระยาไชยวิชิตสิทธิ์สาตรา (ขำ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) จากหลักฐานที่สืบค้นนพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ และหนังสือต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ไว้