ผู้ใช้:เมวิยา/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรื่องรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์

ที่มาของรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์[แก้]

 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหาวิธีให้พ้นจากทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการออกจากพระราชวัง ออกจากความวุ่นวาย การอดอาหาร การนั่งสมาธิกลั้นลมหายใจ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนค้นพบธรรมที่แท้จริง คือทางสายกลาง จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า ทรงนำมาเผยแพร่ให้ปัจวัคคีย์ และประชาชน จนเกิดเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาที่เน้นการปฏิบัติ มีเหตุมีผล พิสูจน์ได้ และนำมาซึ่งการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ[1]               

มูลเหตุของการเกิดศาสนา[แก้]

  1. ความไม่รู้ หมายถึง ความไม่รู้ทำให้เกิดทุกข์ ทุกข์นั้นมาจาก ฝนฟ้าอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วมนุษย์จึงรู้สึกกลัว เพราะคิดว่าเป็นฝีมือของสิ่งลึกลับที่มองไม่เห็น เช่น ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะ ยังทรงไม่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงทอดพระเนตร คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงพระราชดำริว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  2. ความกลัว หมายถึง เมื่อไม่รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากอะไร จึงเกิดความกลัว เช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง4 จึงเกิดความกลัว และไม่อยากจะเป็นเช่นนั้น จึงทรงหาวิธีทำให้พ้นทุกข์โดยการออกบวช
  3. ความต้องการที่พึ่งทางใจ หมายถึง เมื่อมนุษย์เกิดความกลัว จึงอยากจะหาที่พึ่งทางจิตใจ เช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงทอดพระเนตร เทวทูตทั้ง 4 ก็เกิดความกลัว จึงหาวิธีทำให้พ้นทุกข์ เมื่อทรงตรัสรู้ จึงไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนได้เป็นที่พึ่งทางจิตใจ
  4. ความต้องการความสงบสุขของสังคม หมายถึง มนุษย์ต้องการหาที่พึ่งทางจิตใจเพื่อให้เกิดความสงบสุขทางสังคม เกิดความเป็นระเบียบแบบแผน เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และเผยแพร่ให้ประชาชน ทำให้รู้ว่า ศาสนาไม่ทรงสอนแค่หลักธรรม แต่ยังสอนให้สังคมมีระเบียบเพื่อความสงบสุขของสังคมอีกด้วย
  5. ความต้องการรู้แจ้งในสัจธรรม หมายถึง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตร เทวทูตทั้ง 4 จึงออกบวชเพื่อให้ทรงเห็นความจริงของชีวิตด้วยพระองค์เอง
  6. ความเลื่อมใสศรัทธาและความจงรักภักดี หมายถึง มนุษย์เห็นแล้วว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนเรื่อง เหตุ-ผล พิสูจน์ได้ ปฏิบัติตามแล้วเกิดแต่ความสุขทางจิตใจ จึงเกิดความเลื่อมใสในศาสนาและอยากที่จะรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบต่อไป
  7. ความยกย่องบรรพบุรุษและบุคคลสำคัญ หมายถึง นอกจากความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว มนุษย์ยังยกย่องบรรพบุรุษโดยการทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ชีวิตเกิดความร่มเย็น[2]

ความหมายของศาสนา และคำว่ารัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในพระพุทธศาสนา[แก้]

ศาสนา คือ คำสอนของศาสดาเอกของโลก ทรงบำเพ็ญเพียรกริยาต่างๆเพื่อให้ทรงเห็นแจ้งด้วยพระองค์เอง รัฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยองค์การปกครองบ้านเมืองมีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ การเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือเป็นการศึกษามนุษย์ในรัฐ ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์และสังคมมนุษย์ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเมืองการปกครอง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจอันชอบธรรมเพื่อแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าหรือทรัพยากรของสังคมในส่วนรวม เพราะในสังคมการเมืองของมนุษย์จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหรือถูกใช้อำนาจปกครอง[3]

ประเภทของคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์[แก้]

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ระดับโลก[แก้]

หิริ แปลว่าความละอายใจ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อนักการเมืองการปกครองทุกคน ต้องมีความละอายใจในการกระทำสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ โอตัปปะ แปลว่าความเกรงกลัวต่อความชั่ว เมื่อบุคคลได้รับเลือกให้เข้าไปปกครองบ้านเมือง ต้องมีพฤติกรรมที่ดี ยุติธรรม เกรงกลัวต่อความชั่ว

ระดับการปกครองประเทศ[แก้]

มีทั้งหมด 12 ระดับ

  1. การอบรมผู้ปกครองให้ทำความดี
  2. การผูกมิตรกับต่างประเทศ
  3. การให้รางวัลแก่พลเมืองดี
  4. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ทรงศีล
  5. การให้ความช่วยเหลือครัวเรือน
  6. การให้ความอุปการะชาวชนบท
  7. การห้ามเบียดเบียนสัตว์
  8. การชักนำให้บุคคลทำความดี
  9. การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ขัดสนไม่พอเลี้ยงชีพ
  10. การเข้าหาผู้ทรงศีลใน เพื่อศึกษาธรรม
  11. การห้ามจิตใจไม่ให้เกิดความอยาก
  12. การระงับโลภะ

ระดับการปกครองประเทศ[แก้]

คุณธรรมของผู้ปกครองประเทศ 10 ประการคือ
  1. ทาน คือการให้ ผู้นำให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน
  2. ศีล ข้อห้าม ห้ามทำความผิดที่มิชอบต่อกฎหมาย
  3. บริจาค การมีน้ำใจต่อกันระหว่างผู้นำและประชาชน
  4. อาชีวะ ความไม่โกง ผู้นำเมื่อเข้ามามีบทบาทในการเมืองการปกครองแล้วต้องตระหนักถึงอาชีวะอยู่เสมอ
  5. มัททวะ ความอ่อนโยน อ่อนน้อม ถ่อมตน
  6. ตบะ ความหมั่นเพียรในการทำงานเพื่อประชาชน
  7. อักโกธะ การระงับความโกรธ การเป็นผู้นำที่ดีไม่ควรกระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  8. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
  9. ขันติ ความอดทนต่อปัญหาในการบริหารบ้านเมือง และเชื่อว่าปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอ
  10. อวิโรธนะ ไม่ประพฤติผิดต่อศีลธรรม

ระดับความเป็นผู้ใหญ่ปกครองผู้อื่น[แก้]

 มนุษย์เราจะเกิดมาได้ย่อมมีบิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิด ดูแลเราตั้งแต่อยู่ในท้องจนใหญ่โตขึ้นมาโดยไม่ปริปากบ่น เราจึงควรดูแลเลี้ยงดูท่านเพื่อตอบแทนบุญคุณที่ไม่มีวันใช้หมด ทั้งควรเคารพบิดามารดาของตัวเองและผู้ใหญ่ในสกุล พูดจาอ่อนหวานอ่อนน้อม ไม่พูดยุยงให้แตกร้าวในครอบครัว[4]

[5]

ลักษณะทั่วไปของรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์[แก้]

เรื่องที่ใกล้ตัวเราที่สุด ก็คือ องค์กรทางการเมือง ระบอบการปกครอง และรูปแบบรัฐบาลทุกภาคส่วนมีหน้าที่คล้ายกัน คือให้ บริการประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องศึกษาเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์เพื่อให้มีความรู้เบื่องต้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตน ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วเราทุกคนต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเอง โดยให้มีตัวเองเป็นที่พึ่ง ดังคำสอนที่ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน[6]

แนวโน้มการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์[แก้]

รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสนาในสภาพปัจจุบัน[แก้]

ปัญหาของสังคมไทยคือ ไม่ตื่นตัวทางการเมืองทำให้ยากต่อการบริหารประเทศ อดีตเกิดรัฐประหาร 2549เป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดินอันส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวางหน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองต่อเจตนารมณ์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ

รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสนาในสภาพอนาคต[แก้]

ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนครั้งสำคัญ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549คนไทยตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นทุกระดับ ทุกชนชั้น ไม่เอาเผด็จการ สนใจประชาธิปไตย ต่อต้านรัฐประหาร และภายในอนาคตผู้นำม็อบ นักการเมือง ก็ไม่สามารถชักจูงพวกเขาไปในทางที่ผิดหลักการได้อีกต่อไป และหากนำคำสอนตามแนวพระพุทธศาสนาที่ว่าสามัคคีเห็นอกเห็นใจกันจะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญมั่นคงของชาติ คนเราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ จะต้องอยู่เป็นหมู่คณะ สิ่งใดที่จะนำมาซึ่งความเจริญ ความมั่นคงก็ทำ [7]

[8]

การนำคำสอนในพุทธศาสตร์ไปใช้ในรัฐศาสตร์[แก้]

การเป็นผู้บริหารที่สมบูรณ์แบบในทางพระพุทธศาสนา ต้องตระหนักมีหน้าที่การบริหาร 3 ด้าน ===บริหารตน=== ก่อนจะเป็นผู้บริหาร เราต้องบริหารตนให้มีความพร้อมในด้านปัญญาพละ ผู้ที่เป็นผู้นำต้องมีความรู้ ทางพระพุทธศาสนาท่านอุปมาความรู้ให้เหมือนดั่งแสงสว่างเมื่อส่องไปที่ใดความมืดก็ย่อมหมดไปและมีใจคุณธรรม ซึ่งจะทำให้สามารถครองใจคนได้อันจะนำไปสู่การพัฒนางานได้ดีขึ้น ===บริหารคน=== พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ บริหารโดยการดูจริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน คือ

       ราคะจริต คือบุคคลที่หลงในรูป รส กลิ่น เสียง ทำให้เกิดความอยากได้อยากมีไม่จบไม่สิ้น
       โทสะจริต คือคนที่ชอบความรวดเร็ว ไม่ชอบรอใคร ทำงานโดยให้ตัวเองเป็นใหญ่
       วิตกจริต คือบุคคลที่มีความลังเล ตัดสินใจยาก สองจิตสองใจ
       พุทธิจริต คือบุคคลที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ตั้งใจทำงาน
       โมหะจริต คือบุคคลที่มีในโลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบงานที่มีคนเยอะ
       ศรัทธาจริต คือบุคคลที่เชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นคนดีแล้วต้องมีคนมาศรัทธา

[9] ===บริหารงาน=== นักบริหารต้องบริหาร

วิริยะพละ คือความต่อเนื่องในการทำหน้าที่ มีความเพียรไม่กลัวความยากลำบากที่รออยู่ข้างหน้า พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ

อสังขริกะริยะ คือการปลุกจิตสำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานมีใจรักในการทำงาน ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ จะทำให้ผู้บริหารมีความสุขในงานที่ทำ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.scribd.com/doc/112263307/
  2. https://www.youtube.com/watch?v=lAAKmGRKESc&list=PLdVIBNdVm3_RExxTs65CAZr_V2kzw7Kbe&index=2
  3. https://www.youtube.com/watch?v=DYH-TGcUNAU&list=PLa1qShLuYLWULAbdSzMN2bL4hdeWBnWfN/
  4. http://oknation.nationtv.tv/blog/mambu52/2009/06/23/entry-3
  5. http://beworkclub.blogspot.com/2009/11/12.html?m=1
  6. https://www.gotoknow.org/posts/439624
  7. https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2549
  8. http://www.gotoknow.org/posts/504158
  9. https://www.gotoknow.org/posts/271314
  10. http://www.siace.ac.th/web_old/index.php?option=com_content&view=article&id=262%3A2012-11-08-01-08-14&catid=40%3A2011-11-25-06-03-52