ผู้ใช้:อาร์ท/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติความเป็นมา[แก้]

อำเภอแคนดงเดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า "แคนดง" มาจากคำว่า "แคน" รวมกับคำว่า "ดง" ซึ่งคำว่า "แคน" นั้นเป็นชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งคือ "ไม้ตะเคียน" ชาวไทยอีสานเรียกไม้ชนิดนี้ว่า "ไม่แคน" ส่วนคำว่า "ดง" หมายถึง "ป่าทึบที่ปกคลุมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด" เมื่อรวมกันแล้ว "แคนดง" จึงหมายความว่า ป่าที่ขึ้นเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด โดยเฉพาะต้นตะเคียนจะมีอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีราษฎรอพยพมารับจ้างทำการเกษตรจนกลายเป็นชุมชนใหม่และหนาแน่น กลายเป็นหมู่บ้าน ตำบล ในที่สุด ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ได้แยกพื้นที่การปกครองออกจากอำเภอสตึกและได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น"กิ่งอำเภอ" และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแคนดง ตั้งอยู่บนถนนสายแคนดง - การะโก มีถนนสายหลัก คือ ทางหลวงหมายเลข 2226 อยู่่ทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ 50 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอสตึก ประมาณ 18 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติอต่อกับอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่[แก้]

จำนวนพื้นที่ อำเภอแคนดงมีเนื้อที่ประมาณ 298 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 186,250 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 136,271 ไร่ หรือร้อยละ 73.16% ของพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 71,740 ไร่ พื้นที่ปลูกอ้อย 8,996 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 1,162 ไร่ พื้นที่ทำสวนยางพารา 12,465 ไร่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 301 ไร่ พื้นที่การเกษตรอื่นๆ 41,607 ไร่ เช่น ยูคาลิปตัส 31,214 ไร่ และพืชอื่นๆ 10,393 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 26.84% เป็นพื้นที่ป่า แหล่งน้ำ ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ

ประชากร[แก้]

อำเภอแคนดงมีจำนวนประชากร จำนวน 32,846 คน เป็นชาย 16,442 คน เป็นหญิง 16,404 จำนวนครัวเรือน 8,304 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 110.22 คน/ตร.กม

  • ตำบลแคนดง จำนวน 12,694 คน (ชาย 6,356 คน หญิง 6,338 คน)
  • ตำบลดงพลอง จำนวน 6,764 คน (ชาย 3,380 คน หญิง 3,384 คน)
  • ตำบลสระบัว จำนวน 5,988 คน (ชาย 3,033 คน หญิง 2,955 คน)
  • ตำบลหัวฝาย จำนวน 7,400 คน (ชาย 3,673 คน หญิง 3,727 คน)

การเมืองการปกครอง[แก้]

อำเภอแคนดง แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 54 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

  1. ตำบลแคนดง จำนวน 18 หมู่บ้าน
  2. ตำบลดงพลอง จำนวน 13 หมู่บ้าน
  3. ตำบลสระบัว จำนวน 12 หมู่บ้าน
  4. ตำบลหัวฝาย จำนวน 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

การปกครองส่วนท้องถิ่นมี เทศบาลตำบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ดังนี้

  1. เทศบาลตำบลแคนดง
  2. องค์การบริการส่วนตำบลแคนดง
  3. องค์ฺการบริหารส่วนตำบลดงพลอง
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว
  5. องค์การบริืหารส่วนตำบลหัวฝาย

การคมนาคมขนส่ง[แก้]

ภายในอำเภอแคนดงสามารถติดต่อเดินทางระหว่างชุมชนได้โดยสะดวกโดยรถยนต์ มีถนนเชื่อมระหว่างตำบล หมู่บ้่าน ซึ่งมีทั้งถนนลาดยาง ถนนลูกรัง ถนนดิน ถนนคอนกรีต ส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอ จังหวัด มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2226 สายสตึก - ชุมพวง เป็นเส้นทางหลักและมีรถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศสาย กรุงเทพย์ - อุึบลราชธานี แวะจอดรับ - ส่งผู้โดยสารเป็นระยะๆตลอด 24 ชัวโมง

ข้อมูลแหล่งน้ำ[แก้]

  • แม่น้ำมูล เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอแคนดง กับ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อการเกษตร ซึ่งมีน้ำตลอดปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอแคนดง ไหลผ่านทั้ง 4 ตำบลของอำเภอ
  • ลำตะโคง เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอคแคนดง กับอำเภอสตึก ไหลผ่าน 1 ตำบล คือตำบลหัวฝาย ได้แก่ บ้านโคกสว่าง บ้านป่ามัน บ้านน้อยหนองบึง บ้านหัวฝาย บ้านปอแดง บ้านโดนสำราญ และบ้านตะแบง ไหลลงสู่แม่น้ำมูล เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อการอุปโภคและการเกษตร มีน้ำตลอดปี เป็นลำน้ำไหลมาจากห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอแคนดง