ผู้ใช้:วัฒจสัน วัฒนาฟ้า/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัฒจสัน วัฒนาฟ้า/ทดลองเขียน
ไฟล์:วัดไผ่เงิน.jpg
อุโบสถวัดไผ่เงินโชตนาราม
ชื่อสามัญวัดไผ่เงินโชตนาราม
ที่ตั้งพระมหามานพ สนธิรักษ์ 882 ถนนจันทร์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูอดุลธรรมานุวัตร)
จุดสนใจหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไผ่เงินโชตนาราม[แก้]

ตั้งอยู่ที่่ พระมหามานพ สนธิรักษ์ 882 ถนนจันทร์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม.

ประวัติ[แก้]

วัดไผ่เงินโชตนารามสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2335 (ร. 1) ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมชื่อว่า วัดไผ่ล้อม ต่อมาทางราชการได้เวนคืนที่ดินตำบลคลองเตย ซึ่งวัดเงิน ตั้งอยู่ เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ วัดเงิน จึงได้รื้อเสนาสนะมารวมสร้างกับ วัดไผ่ล้อม แล้วเปลี่ยนนามเป็น วัดไผ่เงิน ในปี พ.ศ. 2482 (ร. 8) ต่อมาทางวัดได้อัญเชิญ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระประทานจาก วัดโชติการาม (วัดพระยาไกร) ที่ได้กลายเป็นวัดร้าง พร้อมกับย้ายเสนาสนะมารวมสร้างที่วัดไผ่เงิน จึงเท่ากับเป็นการรวม 3 วัดเข้าไว้ด้วยกัน และได้เปลี่ยนนามวัดเป็นวัดไผ่เงินโชตนาราม ในปี พ.ศ. 2483 ภายในพระวิหารมีหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนปลายต่อสมัยอยุธยา เนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 104 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยธนบุรี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน

ไฟล์:พระสัมฤทธิ์.jpg
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ทั่วไป[1]

ประวัติ หลวงพ่อสัมฤทธิ์[แก้]

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด ลง รักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2.2 เมตร ศิลปะสมัยสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระยาไกร เช่นเดียวกับพระสุโขทัยไตรมิตรหลวงพ่อสัมฤทธิ์ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ส่วนพระสุโขทัยไตรมิตร ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากสุโขทัยทั้งสององค์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ หัวหน้ากองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ กระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้ทำการสืบประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ทราบแต่เพียงว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนปลายต่ออยุธยา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาโชฏิกราช (เจ้าสัวบุญมา) ข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดพระยาไกร เสร็จแล้วจึงน้อมฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงนามว่า "วัดโชติการาม (วัดพระยาไกร)" และได้อัญเชิญ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ประดิษฐานไว้ ในอุโบสถ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2483 สมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง เขมจารี) อดีตเจ้าคณะแขวงล่างและสมเด็จพระวันรัตน์ องค์สังฆนายก มีเถระบัญชาให้ พระมงคลสุธี (สี ยโสธโร) เจ้าอาวาสวัดไผ่เงินโชตนาราม และคณะกรรมการวัดไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่ วัดโชติการาม (วัดพระยาไกร) ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง มีพระพุทธปฏิมาปูนปั้นสององค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถองค์หนึ่งและอยู่ในพระวิหารอีกองค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่อัญเชิญมาจากอยุธยาทั้งสององค์ พระมงคลสุธี (สี ยโสธโร) เจ้าอาวาสวัดไผ่เงินโชตนาราม จึงได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาในพระอุโบสถมาประดิษฐานที่วัดไผ่เงินโชตนาราม พระมงคลสุธี (สี ยโสธโร) ได้เลือกองค์"หลวงพ่อสัมฤทธิ์"ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ชำรุด ขณะที่องค์พระพุทธปฏิมาหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรที่ถูกปูนหุ้มอยู่มีรอยร้าวจาก ไหล่ถึงเอวไปถึงรากฐานเป็นร่องเล็กๆ มองเห็นเนื้อสัมฤทธิ์สีเขียวๆ เมื่อพระพุทธปฏิมาหลวงพ่อสัมฤทธิ์ได้มา ประดิษฐานที่วัดไผ่เงินโชตนารามแล้ว กองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ กระทรวงธรรมการได้สืบประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ ทราบเพียงแต่ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลายต่อสมัยอยุธยาและได้ ขนานนามให้ว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ด้วยเป็นพระพุทธปฏิมาที่หล่อด้วยสำริดและเป็นสำริดแก่เงินจัด ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอกเศษ มีการปิดทองหลวงพ่อสัมฤทธิ์ทั้งองค์ อีกครั้งในช่วงฉลองกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี พ.ศ.2525 หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ของประชาชนในย่านนั้น เจ้าอาวาสกล่าวว่า ท่านสามารถสร้างวัดไผ่เงินฯ ขึ้นมาได้ก็ด้วยบารมีของหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงประดิษฐาน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม ไว้ในพระวิหารแทนที่จะเป็นพระอุโบสถ เพื่อสะดวกแก่ประชาชนที่ต้องการเข้ามากราบไหว้บูชา ประเพณีเทศกาลหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนารามและในวันขึ้นปีใหม่ของทุกปีจะมีงิ้วแสดงตลอด 3 วัน 3 คืน จนกลายเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติต่อกันมา[2]

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

นับตั้งแต่ วัดไผ่เงินโชตนารามได้สร้างมาจนถึง ปัจจุบันนี้ ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 14 รูป

โดย คุณตาภู่ สวาทสุข ” ( อ่านว่า สะ-วา-ทะ-สุก ) ซึ่งเป็นมัคทายกของวัดในสมัยก่อน ได้เล่าให้ฟังว่าวัดนี้ก่อนที่ พระมหาสี จะมาเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 12 รูป ดังนี้ (พอที่จะสืบถามได้มาจนปัจจุบัน)

ไฟล์:พระครูอดุลธรรมานุวัตร.jpg
พระครูอดุลธรรมานุวัตร

[3]

ลำดับที่ รายนาม ดำรงตำแหน่ง
11 หลวงตาคล้าย เป็นเจ้าอาวาสอยู่มาจนถึงปี พ.ศ.2468
12 พระอธิการทอง เจริญพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2482
13 พระมหาสี ยโสธโร ( พระครูสิริธรรมสุธี / พระมงคลสุธี ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2483 - พ.ศ. 2551
14 พระครูอดุลธรรมานุวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน


แหล่งอ้างอิง[แก้]

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1
  2. https://sites.google.com/site/allthaitemple/wad-phingein-chot-na-ram
  3. คุณตาภู่ สวาทสุข