ผู้ใช้:ฤดี หงษ์เจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกแซงแซวหางปลา Dicrurus macrocercus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: ANIMALIA (animals)
ไฟลัม: Chordata (chordates)
ชั้น: Aves (birds)
อันดับ: Passeriformes (perching birds)
วงศ์: Corvidae
สกุล: Dicrurus
สปีชีส์: Dicrurus macrocercus

นกแซงแซวหางปลา (อังกฤษ: Black Drongo, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicrurus macrocercus) เป็นนกประจำถิ่น และนกย้ายถิ่น ทั้งชนิดย้ายเข้ามาหากิน และย้ายถิ่นผ่านในช่วงฤดูหนาว พบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[1] นกแซงแซวหางปลาอยู่ในวงศ์ Corvidae วงศ์เดียวกันกับพวก Magpies,Crows,Orioles,Minivets,Fantails และอีกหลายชนิด [2]

อนุกรมวิธาน[แก้]

นกแซงแซวหางปลาจัดอยู่ในวงศ์อีกา (Family Corvidae) วงศ์ย่อยนกแซงแซว (Dicrurinae) ทั่วโลกพบนกในวงศ์ย่อยของนกแซงแซวทั้งหมด 22 ชนิด ในประเทศไทยพบ 7 ชนิด คือนกแซงแซวหางปลา (Black Drongo) นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่(Greater Racket-tailed Drongo) นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก (Lesser Racket-tailed Drongo) นกแซงแซวเล็กเหลือบ (Bronzed Drongo) นกแซงแซวหงอนขน (Hair-creste Drongo) นกแซงแซวปากกา (Crow-billed Drongo) และนกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) [3]

นกแซงแซวหางปลามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus macrocercus

ชื่อสกุลคำว่า Dicrurus เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ dikroos, dikros หมายถึงแยกเป็นแฉก และ oura แปลว่า หาง ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง สกุลของนกที่มีหางเป็นแฉก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกแซงแซว

ส่วนชื่อบ่งชนิด (specific epithet) macrocercus มาจากภาษากรีก คำว่า marokerkos แปลว่า หางยาว ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกแซงแซวหางปลา จึงหมายถึง นกที่มีหางยาวเป็นแฉก ซึ่งสอดคล้องกับชื่อภาษาไทย[4]

ลักษณะ[แก้]

นกแซงแซวหางปลาตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 28 เซนติเมตร ขนทั่วลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ปลายหางเป็นแฉกคล้ายหางปลาตะเพียน ปากบนขบปากล่าง ปากสีดำ ขาสีดำ เท้าสีดำ ตาแดงที่ม่านตา แต่ตาดำเป็นสีดำ[5] เป็นนกแซงแซวชนิดเดียวที่ชอบเกาะอยู่ ตามกิ่งไม้ที่โล่งแจ้ง ตามท้องทุ่งริมทางตามแหล่งน้ำ ไม่ชอบลงมาตามพื้นดิน มักหากินเพียงตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เป็นนกที่ไม่กลัวนกอื่น หากมีนกอื่นมาใกล้จะไล่จิกตี สามารถร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่น กินอาหารโดยบินนออกจากที่เกาะโฉบจิกแมลงที่กำลังบินได้ บางครั้งออกหากินฝูงเล็กๆ 3-6 ตัว นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้สูงด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานเป็นรูปถ้วย มีแอ่งตรงกลางไว้วางไข่รองด้วยขนสัตว์และหญ้าอ่อน วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง[6]

ถิ่นอาศัย,อาหาร[แก้]

พบในอิหร่าน อินเดีย จีน ไต้หวัน ชวา อินโดจีน และในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วไปเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป ซึ่งจะพบว่าเป็นนกอพยพมาในช่วงฤดูหนาว นกแซงแซวหางปลากินแมลงต่างๆเป็นอาหาร [7]

สถานที่ชม[แก้]

สวนสัตว์ดุสิต,สวนสัตว์เปิดเขาเขียว,สวนสัตว์เชียงใหม่,สวนสัตว์นครราชสีมา,สวนสัตว์สงขลา[8]


อ้างอิง[แก้]